เนื้อหาในหมวด ข่าว

“ปฏิวัติอเมริกา” อีกหนึ่งต้นเหตุสู่การขับเคลื่อนไหว Black Lives Matter

“ปฏิวัติอเมริกา” อีกหนึ่งต้นเหตุสู่การขับเคลื่อนไหว Black Lives Matter

การรื้อถอนอนุสาวรีย์ฝ่ายใต้ในสหรัฐอเมริกา จุดชนวนข้อถกเถียงเรื่อง “การเหยียดสีผิว” ที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานในสังคมอเมริกัน ถึงแม้ว่า “สงครามกลางเมือง” จะมีสาเหตุจากความขัดแย้งของชนชั้นนำเพื่อแย่งชิงอำนาจ แต่นักประวัติศาสตร์ก็เห็นพ้องกันว่า ต้นตอของสงครามในครั้งนี้คือ “การถือครองทาส” โดยสงครามที่ร้ายแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติสหรัฐฯ ครั้งนี้ เกิดขึ้นจากความพยายามรักษา “สถาบันคนผิวขาว” ของรัฐทางใต้ แต่อีก 155 ปีต่อมา อนุสาวรีย์ของผู้นำฝ่ายใต้กลับถูกรื้อถอน ธงของฝ่ายใต้ถูกสั่งห้ามใช้ในกิจกรรมสาธารณะ ขณะที่ชื่อฐานทัพของกองทัพสหรัฐฯ ที่ตั้งตามชื่อของผู้นำฝ่ายใต้ ก็ต้องเผชิญกับความกดดันให้เปลี่ยน 

อย่างไรก็ตาม สงครามกลางเมืองไม่ได้เกิดขึ้นในทันทีทันใด แต่เป็นจุดเดือดของการเหยียดคนผิวดำเชื้อสายแอฟริกัน ที่คุกรุ่นอยู่ในสถาบันทางสังคมมาอย่างยาวนาน โดย 240 ปีก่อนสงครามกลางเมือง มีการกดขี่สิทธิการอยู่อย่างเสรีของคนผิวดำในแผ่นดินอเมริกาอย่างหนักหน่วง หรือการปฏิบัติต่อคนกลุ่มนี้เยี่ยง “ทาส” จนนำไปสู่ความพยายามลุกขึ้นมาต่อสู้ ที่ทั้งประสบความสำเร็จและล้มเหลวหลายต่อหลายครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น สงครามกลางเมืองยังเป็นจุดเดือดของนโยบายด้านสีผิวที่ล้มเหลว เหตุผลเหล่านี้ ทำให้คนอเมริกันในปัจจุบันจึงต้องการให้รื้อถอนอนุสาวรีย์เพื่อเปลี่ยนแปลงความเชื่อและความเข้าใจอดีตของประเทศ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ “สงครามกลางเมือง” ไม่ใช่สงครามเดียวในสหรัฐฯ ที่มี “ทาส” เป็นองค์ประกอบสำคัญ  

ย้อนกลับไปถึงสงครามในปี 1812 ทหารอังกฤษออกลาดตระเวนตามเส้นทางจากบัลติมอร์ถึงวอชิงตัน และผ่านพื้นที่ของนายทาส ซึ่งทหารอังกฤษทำให้กลุ่มทาสแปรพักตร์เข้าร่วมกับฝ่ายอังกฤษเป็นจำนวนมาก แม้ในช่วงท้ายของสงคราม สถานที่สำคัญของสหรัฐฯ จะถูกทำลายลง แต่สงครามครั้งนี้ก็เป็นการปลดแอกทาสครั้งใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ คือมากกว่า 4,000 คนในช่วงปี 1776 ถึง 1865 และต่อมา กลุ่มทาสเหล่านี้ได้เดินทางไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่รัฐโนวาสโกเชีย ประเทศแคนาดา และประเทศจาเมกา

ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจัยเรื่องทาสผิวดำเชื้อสายแอฟริกันยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสงครามปฏิวัติอเมริกาอีกด้วย โดยก่อนหน้าที่จะเกิดสงคราม ชาวอเมริกันที่อยู่ในรัฐทางใต้มีความภักดีต่อจักรวรรดิอังกฤษ และดื่มด่ำไปกับสถานะ “ลูกรัก” ซึ่งรัฐทางตอนเหนือไม่มี ผู้ครองรัฐทางใต้มักส่ง “สินค้าคุณภาพดี” ไปให้กับอังกฤษ เช่น ฝ้าย ไม้และคราม รวมถึงยาสูบ ข้าว และน้ำตาล แม้ว่าสินค้าเหล่านี้จะได้มาจากเหล่าแรงงานทาสผิวดำ แต่ทางอังกฤษเองก็พยายามมองข้ามไป ขณะที่ “การค้าไตรภาคี” ก็รวมไปถึงการนำเข้าทาสจากแอฟริกาทางใต้ซึ่งกลายเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น หากไม่นับรวมความกังวลเรื่องภาษีที่ต้องเสียให้กับอังกฤษของผู้ครองรัฐทางใต้ เรื่องทาสไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายของพวกเขา เหมือนที่เกิดขึ้นกับรัฐทางตอนเหนือ แต่อะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้ครองรัฐทางใต้เข้าร่วมสงครามปฏิวัติอเมริกา 

จากหนังสือเรื่อง In the Matter of Color ของ A. Leon Higginbotham Jr. ปี 1978 และหนังสือ Slave Nationของ Alfred W. และ Ruth G. Blumrosen ปี 2005 ได้ข้อสรุปเดียวกันว่า ผู้ครองรัฐทางใต้ไม่มีเหตุผลใดที่ต้องเอาชีวิตและทรัพย์สินของตัวเองมาเสี่ยงในการทำสงคราม จนกระทั่งการตัดสินคดีที่เกิดขึ้นในศาลสูงของอังกฤษ ในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 1772 โดยมีประกาศเลิกทาส ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเจ้าของทาสในรัฐทางตอนใต้ ช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี 1772 ในช่วงเวลา 3 ปีหลังเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ที่บอสตัน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 1770 ถูกเรียกว่า “ปีที่เงียบสงัด” จนกระทั่งวันที่ 12 มีนาคม 1773 ความเงียบเริ่มหายไปในเวอร์จิเนีย ในตอนนั้น Thomas Jefferson, James Madison และ Patrick Henry บอกกับ Benjamin Franklin ว่า หากเวอร์จิเนียยังอยู่ใต้จักรวรรดิอังกฤษ ทาสทั้งหมดจะได้รับอิสรภาพ ซึ่งจะทำให้ผืนดินทำกินและครอบครัวของเจ้าของทาสตกอยู่ในความเสี่ยง ดังนั้นทางออกเดียวคือการแยกตัวออกจากจักรวรรดิ ดังนั้น ในปี 1775 ผู้ครองรัฐทั้ง 13 คนได้ร่วมมือกันเพื่อหาทางประกาศอิสรภาพ

เด้ง! บรรณารักษ์อเมริกัน หลังเผาหนังสือ “โดนัลด์ ทรัมป์” อ้างทำตามระเบียบห้องสมุด

เด้ง! บรรณารักษ์อเมริกัน หลังเผาหนังสือ “โดนัลด์ ทรัมป์” อ้างทำตามระเบียบห้องสมุด

บรรณารักษ์จากสหรัฐฯ ถูกไล่ออก หลังจากเผาหนังสือของโดนัลด์ ทรัมป์ โดยเขาอ้างว่าทำตามระเบียบของห้องสมุด ที่ให้ทำกำจัดหนังสือ "เก่า ชำรุด หรือไม่เป็นความจริง"

พนักงานในสหรัฐฯ ประกาศหยุดงาน “8 นาที 46 วินาที” ประท้วงปัญหาความไม่เท่าเทียม

พนักงานในสหรัฐฯ ประกาศหยุดงาน “8 นาที 46 วินาที” ประท้วงปัญหาความไม่เท่าเทียม

พนักงานระดับปฏิบัติการทั่วสหรัฐอเมริกา วางแผนจะหยุดงานในวันจันทร์ ที่ 27 กรกฎาคม 2020 เพื่อประท้วงปัญหาเรื่องการเหยียดเชื้อชาติอย่างเป็นระบบและนโยบายการป้องกันโรคโควิด-19 ที่ไม่ครอบคลุมไปถึงประชากรผิวดำ

กลุ่มผู้หญิงจับมือสร้าง “กำแพงคุณแม่” ปกป้องผู้ชุมนุมในพอร์ตแลนด์

กลุ่มผู้หญิงจับมือสร้าง “กำแพงคุณแม่” ปกป้องผู้ชุมนุมในพอร์ตแลนด์

กลุ่มคุณแม่ ซึ่งเรียกตัวเองว่า “กำแพงคุณแม่” รวมตัวกันในช่วงสุดสัปดาห์ ในเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน เพื่อปกป้องกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงจากทหารของรัฐบาลกลาง ที่ได้รับคำสั่งจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

“ชัยชนะของคนดำ?” เมื่อแบรนด์สินค้า “เปลี่ยนชื่อ” หลังแคมเปญ Black Lives Matter

“ชัยชนะของคนดำ?” เมื่อแบรนด์สินค้า “เปลี่ยนชื่อ” หลังแคมเปญ Black Lives Matter

ไม่เพียงประชาชนเท่านั้นที่ออกมาแสดงจุดยืนสนับสนุนการเคลื่อนไหว Black Lives Matter แต่บริษัทห้างร้านต่าง ๆ ในสหรัฐฯ ก็มีปฏิกิริยาตอบรับเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน แม้จะไม่ใช่การออกมาเดินเรียกร้องบนท้องถนน แต่พวกเขาใช้วิธีหันกลับมา “พิจารณาชื่อ” ของตัวเอง

นักกฎหมายสหรัฐฯ ผุด “กฎหมาย CAREN” ป้องกัน “แจ้งความเท็จจากเหตุสีผิว”

นักกฎหมายสหรัฐฯ ผุด “กฎหมาย CAREN” ป้องกัน “แจ้งความเท็จจากเหตุสีผิว”

นักกฎหมายในแคลิฟอร์เนียยื่นเสนอกฎหมาย Caution Against Racially Exploitative Non-Emergencies (CAREN) เพื่อเอาผิดบุคคลที่โทรแจ้งความเท็จต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยมีสาเหตุจากการเหยียดสีผิว