เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

เมื่อ “พร่อง” ต้อง “เพิ่ม” เสริมวิตามินอย่างไร ให้เพียงพอต่อร่างกาย

เมื่อ “พร่อง” ต้อง “เพิ่ม” เสริมวิตามินอย่างไร ให้เพียงพอต่อร่างกาย

     ถึงจะไม่ถึงขั้นป่วยเป็นโรค แต่ยอมรับเถอะว่า คุณเองต้องเคยรู้สึกถึงภาวะที่ตื่นขึ้นในบางเช้าแล้วรู้สึกไม่สดชื่นเอาเสียเลย พักนี้อ้วนง่ายมาก อาหารก็ไม่ค่อยย่อย เป็นเหน็บชาอยู่บ่อยๆ อารมณ์แปรปรวนอยู่เสมอ ฯลฯ อาการเหล่านี้อาจจะดูไม่ร้ายแรงถึงขั้นต้องไปหาหมอ แต่ก็เป็นสัญญาณอันตรายของ “ภาวะพร่องสุขภาพ” ที่นำไปสู่การเป็นโรคต่างๆ ได้ในอนาคต

     ภาวะพร่องสุขภาพ (Sub- optimal Health) เป็นภาวะขาดวิตามินและเกลือแร่เพียงเล็กน้อย ร่างกายจึงไม่แสดงความผิดปกติออกมาให้เห็นเป็นโรคอย่างชัดเจนในทันที แค่มีสัญญาณเตือนเบาๆ รูปแบบของอาการต่างๆ ที่มีผลบั่นทอนสุขภาพ และทำให้คุณภาพชีวิตลดลง

     ด้วยความที่อาการเสื่อมของร่างกายเนื่องจากภาวะพร่องสุขภาพ เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น เป็นผื่นแพ้ง่าย ฯลฯ ทำให้หลายคนมองข้ามภัยใกล้ตัวชนิดนี้ หรือต่อให้ไปหาหมอตรวจสุขภาพ ก็จะไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคใดๆ ทางที่ดีคือ หมั่นสังเกตตัวเอง และรักษาอาการให้ถูกจุด ด้วยการหาสาเหตุให้เจอ

     อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น เกิดจากการที่ร่างกายเกิด ภาวะพร่องเหล็ก หรือโฟเลท และวิตามินบี 12 ส่งผลให้การผลิตเม็ดเลือดแดงลดลง ทำให้การขนส่งออกซิเจนไปให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายลดลง กระบวนการเผาผลาญสารอาหารจึงให้พลังงานที่ลดลงตามไปด้วย จนร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย

     ส่วนใครที่เป็นหวัดง่าย สันนิษฐานได้เลยว่าร่างกายเกิดภาวะพร่องวิตามินเอ สังกะสี หรือวิตามินซี จึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนร่างกายติดเชื้อและเจ็บป่วยได้ง่าย

     และสงสัยกันไหมว่า ทำไมคนไทยในวัยทำงานและผู้สูงอายุถึงเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ กันมาก ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง สมองเสื่อม และกระดูกพรุน นั่นก็เพราะคนไทยส่วนมากเกิด ภาวะพร่องวิตามินดี โดยไม่รู้ตัวนั่นเอง

     ส่วนการแก้ปัญหานี้ จะว่าง่ายก็ง่าย เพราะในเมื่อร่างกายพร่องสิ่งใด ก็แค่เสริมสิ่งนั้นเข้าไป การรับประทานอาหารที่มีวิตามินและเกลือแร่ให้เพียงพอในแต่ละวัน จึงเป็นการป้องกันหรือบำบัดภาวะพร่องสุขภาพได้ดีที่สุด

     แต่จะว่ายากก็ยากแน่นอนสำหรับวิถีชีวิตของคนยุคนี้ ที่ต้องใช้ชีวิตเร่งรีบแข่งกับเวลาจนพฤติกรรมการกินและดูแลร่างกายผิดเพี้ยนไป เช่น ไม่กินอาหารเช้า ซึ่งเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด กินแต่อาหารจานด่วนที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ เน้นการควบคุมน้ำหนักเสียจนกินอาหารน้อยเกินไป หรือจำกัดการกินอาหารประเภทไขมัน จนเสี่ยงต่อการพร่องวิตามินที่ละลายในไขมัน (A D E K) รวมถึงการกินผักผลไม้ไม่เพียงพอตามปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน คือ ประมาณ 5-7 กำมือ อีกด้วย

     ถ้าการกินอาหารที่อุดมด้วยแร่ธาตุและวิตามินดูจะทำได้ยากเกินไป อีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีคือ การกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินและเกลือแร่รวมหลายชนิด เพื่อเสริมวิตามินและเกลือแร่ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

     ถ้าเลือกไม่ถูกเพราะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเม็ดในท้องตลาดมีมากมายเหลือเกิน แนะนำวิตามินรวม ที่ในหนึ่งเม็ดมีวิตามินและเกลือแร่รวม 22 ชนิด จากเอถึงซิงค์ พร้อมเบต้า – แคโรทีน ลูทีน และไลโคปีน โดยลูทีนจะช่วยดูดซับแสงสีน้ำเงิน (Blue Light) จากสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และหน้าจอโทรทัศน์ ช่วยปกป้องจอรับภาพตาและเลนส์จากอันตรายของแสงสีฟ้า ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม และโรคต้อกระจก

     ส่วนไลโคปีนนั้น ช่วยลดคอเลสเตอรอล ชนิด LDL ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ มะเร็งต่อมลูกหมาก และช่วยบำรุงผิวพรรณอีกด้วย

     เพียงคุณหมั่นสังเกตตัวเอง และรีบเสริมวิตามินที่ร่างกายพร่องไปได้ทันท่วงที ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ คุณก็จะมีภาวะสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด (Optimal Health) มาแทนที่


** ข้อมูลจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เอกราช บำรุงพืชน์ ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล





[Advertorial]

ระดับสีค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ฟ้า-เขียว-เหลือง-ส้ม-แดง บอกอะไรเราบ้าง?

ระดับสีค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ฟ้า-เขียว-เหลือง-ส้ม-แดง บอกอะไรเราบ้าง?

ใครที่เคยใช้แอปวัดระดับ PM 2.5 ฝุ่นละอองในอากาศ ในช่วงนี้ เคยเห็นสีอะไรกันบ้าง? แล้วสีไหนเป็นอย่างไร หมายความว่าอะไร เช็กที่นี่

ใบบัวบก กับ 10 ประโยชน์ดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบก

ใบบัวบก กับ 10 ประโยชน์ดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบก

ใบบัวบก (Gotu Kola) สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและผิวพรรณ ช่วยลดการอักเสบ ฟื้นฟูผิว และเสริมการทำงานของสมอง พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบกง่าย ๆ บำรุงร่างกายและผิวพรรณอย่างครบถ้วน