เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

“เจ็บหน้าอก” สัญญาณอันตรายโรคอันตรายถึงชีวิต

“เจ็บหน้าอก” สัญญาณอันตรายโรคอันตรายถึงชีวิต

อาการเจ็บหน้าอกที่ดูเหมือนเป็นๆ หายๆ พักสักนิดเดี๋ยวก็หาย จริงๆ แล้วเป็นสัญญาณอันตรายที่อาจเกิดขึ้นทั้งกับคนที่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ หรือคนที่ไม่เคยทราบว่าตัวเองมีโรคประจำตัวมาก่อนด้วยซ้ำ ดังนั้นอาการเจ็บหน้าอกจึงเป็นอาการสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม

นอกจากโรคหัวใจที่หลายคนทราบกันดีแล้ว ยังมีอีก “ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน” ที่อาจทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่นาทีเลยทีเดียว

 

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน คืออะไร?

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในทันที อาจไม่มีสัญญาณล่วงหน้า เป็นเพราะหลอดเลือดแดงบริเวณหัวใจเกิดอาการอุดตันขึ้นเฉียบพลัน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปยังส่วนอื่นๆ ในทางเดินหลอดเลือดได้ ทำให้บางส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย จนในที่สุดกล้ามเนื้อหัวใจก็ตาย และหยุดทำงาน ทำให้เสียชีวิตในที่สุด

 heart-attack-2

 

สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ ที่สามารถนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ โดยเกิดขึ้นจากการที่มีไขมันสะสมเพิ่มขึ้นตามผนังหลอดเลือด เหมือนมีขยะไหลมากองรวมกันตามท่อน้ำเรื่อยๆ จนทำให้ท่อตัน และน้ำไม่ไหลตามท่อไปที่อื่นนั่นเอง

แต่สำหรับหลอดเลือดหัวใจเส้นเล็กนิดเดียว อุดตันง่ายกว่าท่อน้ำมาก และที่สำคัญยังเปราะบางกว่า หากมีอาการอุดตันจะทำให้รวนไปถึงระบบความดันโลหิต และผนังหลอดเลือดอาจบวม หรือปริแตกได้ ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายเพิ่มขึ้นไปอีก

 

สัญญาณอันตราย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

  • เจ็บหน้าอกเหมือนมีของหนักๆ มากดทับ
  • จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่
  • หายใจหอบ สั้น เหนื่อยง่าย
  • มีอาการเจ็บร้าวบริเวณแขน คอ ไหล่ และกราม
  • เหงื่อออกทั่วตัวเมื่อมีอาการเจ็บ
  • คลื่นไส้ หน้ามืด ใจสั่น เหมือนจะเป็นลม
  •  

    ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อันตรายแค่ไหน?

    หากอยู่ในภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาจมีอาการเจ็บหน้าอกอยู่ราวๆ 20-30 นาที บางครั้งอาจหายไปได้เมื่อมีอาการยังไม่หนักมาก แต่หากยังมีอาการอย่างต่อเนื่อง ควรรีบไปโรงพยาบาลภายใน 4 ชั่วโมง ก่อนที่กล้ามเนื้อหัวใจจะตายอย่างเฉียบพลันจนทำให้เสียชีวิต