NIA นำทัพเยาวชนรุ่นใหม่ต่อยอดไอเดียธุรกิจ ประกาศสุดยอดสตาร์ทอัพ ไทยแลนด์ลีคฯ 2021
สำนักงานนวัตกรรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประกาศสุดยอดสตาร์ทอัพไทยแลนด์ลีคแห่งปี 2564 ระดับมหาวิทยาลัย จาก 400 ทีมทั่วประเทศ พร้อมเปิดพื้นที่โชว์ 200 สุดยอดไอเดียเจ๋ง ตอบโจทย์ธุรกิจ โดยทีม Erythro-Sed จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คว้าสุดยอดสตาร์ทอัพไทยแลนด์ลีค 2564 จากผลงาน ผลิตภัณฑ์ควบคุมคุณภาพเครื่องตรวจวัดอัตราการตกตะกอนเม็ดเลือดแดง (ESR)
โดยการประกาศหาสุดยอดเยาวชนรุ่นใหม่ หรือสุดยอดสตาร์ทอัพไทยแลนด์ลีคครั้งนี้ สำนักงานวัตกรรมห่งชาติหรือ NIA คาดว่านวัตกรรมกว่า 200 ไอเดีย ทั้งธุรกิจ เทคโนโลยี การแพทย์-สาธารณสุข จะสามารถต่ยอดนวัตกรรมโลกในยุค โควิด-19 และเสริมความแข็งแกร่งและขานรับให้กับนโยบายเปิดประเทศ เดินหน้าเศรษฐกิจ เปิดประเทศ ปลอดภัย
นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า
“โครงการสตาร์ทอัพไทยแลนด์ลีค (Startup Thailand League) เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2560 โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่าง NIA กับ 40 มหาวิทยาลัยเครือข่ายทั่วประเทศทั่วประเทศ เพื่อบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งการเป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ โดยส่งเสริมและสนับสนุนนิสิตนักศึกษาทั่วประเทศให้เข้าถึงองค์ความรู้ในการสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพ สร้างระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมที่จะจุดประกายและส่งเสริมการเติบโตของสตาร์ทอัพรุ่นใหม่
ในปีนี้นิสิตนักศึกษาได้ให้ความสนใจในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมใน 3 กลุ่มเทคโนโลยี ได้แก่ เทคโนโลยีไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Tech), เทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร (AgTech & FoodTech) และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health Tech) ซึ่งเทคโนโลยีด้านสุขภาพมีการพัฒนาเป็นธุรกิจนวัตกรรมมากขึ้นกว่าทุกปี ด้วยเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ทำให้นิสิตนักศึกษาให้ความสนใจในการพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมและพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพและด้านการแพทย์มากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่านิสิตนักศึกษาสามารถใช้วิกฤติ เพื่อสร้างโอกาสในการสร้างสรรค์ผลงานในการเริ่มต้นธุรกิจได้
ดร ปริวรรต กล่าวต่อว่า ผลงานของเยาวชนรสามารถช่วยได้ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ขานรับกับนโยบายเปิดประเทศ
“ ในธุรกิจบางตัวไม่ว่าจะเป็นอย่างเรื่องเลือดเทียมที่ได้รับรางวัลอันดับหนึ่งก็ช่วยในเรื่องการแพทย์ได้ เพราะอุปกรณ์พวกนี้เราต้องมีการใช้งานอยู่บ่อยๆ อยู่แล้ว สามารถทำให้วงการแพทย์ของไทยเติบโตได้เหมือนกัน แม้แต่บริการอย่างฟู้ดเดลิเวอรี่ หรือเรื่องของภาษาที่ต้องใช้ภาษามือ เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลายในเศรษฐกิจของเรา
การเปิดประเทศ ไม่ได้หมายความว่าชาวต่างชาติจะเข้ามาในประเทศไทยเพียงอย่างเดียว เราสามารถเอาผลงานพวกนี้ออกสู่ตลาดต่างประเทศได้เหมือนกัน และเทคโนโลยีหลากหลายสามารถขยายผลและเกิดขึ้นได้จริง จริงๆ แล้วนับเป็นโอกาสอันดีอย่างหนึ่ง จากเมื่อก่อนที่เรามีแค่ผู้ทดสอบการใช้งานหรือลูกค้าอยู่กลุ่มเฉพาะประเทศไทย แต่เมื่อเปิดประเทศ ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามา เห็นผลงานเหล่านี้ก็สามารถขยายผลต่อไป กลายเป็นลูกค้าเราในอนาคตได้ ก็คิดว่าเราจะส่งเสริมให้น้องๆ สามารถขยายตลาดได้มากขึ้น
จริงๆ เราอยากจะเห็นในเรื่องของเทคโนโลยีเชิงลึก หรือ deep technology มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร ที่ตอนนี้มีความหลากหลายมาก อย่างเทคโนโลยี Plant-based กำลังเป็นที่นิยม, ด้านการแพทย์ เราเห็นได้ชัดอย่างการมี tool kit ยกตัวอย่างเช่น เรื่องใบยา ที่ทำวัคซีนก็เคยได้รับการสนับสนุนจาก NIA เหมือนกัน หรือทางด้านของ ARI Tech (AI-Robotics-Immersive technology) ก็มีความสำคัญ เราจะเห็นว่าน้องหลายคนเริ่มทำเรื่อง AI มากขึ้น อีกสองตัวที่เราสนับสนุน คือเรื่องของอาหารที่เติบโตแน่นอน และอันสุดท้ายก็คือ Space technology ก็จะเป็นเทคโนโลยีเชิงลึกที่เราจะขับเคลื่อนในปีหน้า” ดร ปริวรรต กล่าวปิดท้าย