รู้ไว้ก่อนสาย! 5 สัญญาณอันตรายหน้าร้อนที่อาจส่งผลร้ายแรงต่อร่างกาย
ก่อนที่จะเรียนรู้วิธีการดูแลตัวเอง สิ่งสำคัญคือต้องปรับตัวให้เข้ากับความร้อนจัดในฤดูนี้ดก่อน การทำความเข้าใจว่าควรทำอย่างไร และสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ถือเป็นสิ่งสำคัญในการตระหนักถึงอันตราย ที่มาพร้อมกับอากาศร้อน และผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคน โดยมี 5 เรื่องควรระวัง เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ดังนี้
1. ระวังโรคลมแดด เกิดขึ้นง่าย
โรคลมแดดหรือที่รู้จักกันในชื่อโรคฮีทสโตรก คือ ภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น เนื่องจากการสัมผัสกับความร้อนจัดเป็นเวลานาน แล้วร่างกายไม่สามารถควบคุมความร้อนได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้เหงื่อออกจำนวนมาก เพราะร่างกายเย็นลงไม่ได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดผื่นแดง ผิวแห้ง หัวใจเต้นเร็ว และอาจถึงขั้นมีอาการทางระบบประสาท เช่น สับสน หงุดหงิด เวียนศีรษะ หรือภาพหลอน โรคลมแดดยังสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่น ตับและไตวาย กล้ามเนื้อสลาย การแข็งตัวของเลือด และผลที่ตามมาที่ร้ายแรงที่สุด คือ การหมดสติ เนื่องจากภาวะช็อก
2. อาการเพลียแดด นำไปสู่โรคร้าย
อาการเพลียแดด มักเกิดกับผู้ที่เผชิญกับอากาศร้อนประมาณ 40-54 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน รวมไปถึงผู้ที่ทำงานหรือออกกำลังกายอย่างหนัก จนร่างกายสูญเสียเหงื่อปริมาณมาก ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดแย่ลง เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง เกิดอาการวิงเวียน เมื่อยล้า มีอาการปวดบีบที่กล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ผิวซีด และเหงื่อออกมากผิดปกติ ก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน
3. ผิวอักเสบจากแสงแดด
อันตรายอีกประการหนึ่ง ที่อาจไม่ได้มาจากอากาศร้อนโดยตรง แต่แสงแดดจัดในฤดูร้อน อาจทำให้ผิวหนังไหม้และเสียหายได้ นอกจากนี้ แม้ว่าแสงแดดจะมีวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่การได้รับแสงแดดจัดเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ สิ่งสำคัญคือต้องปกป้องผิวจากอันตรายของแสงแดด โดยใช้ครีมกันแดดและสวมชุดป้องกัน อย่าลืมรักษาร่างกายให้ชุ่มชื้นและหาที่ร่มในช่วงเวลาที่มีแสงแดดจัด เพื่อป้องกันผิวถูกทำลายและลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งผิวหนัง
4. ผดผื่นผิวหนังที่ลุกลามสู่การติดเชื้อ
อากาศร้อนชื้นของประเทศไทย อาจทำให้ต่อมเหงื่อใต้ผิวหนังเกิดการอุดตัน ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถปล่อยเหงื่อได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดผื่นแดง บวม คัน ที่เรียกว่าผื่นความร้อน มักเกิดขึ้นในบริเวณข้อพับ เช่นเดียวกับผิวหนังที่ถูกเสื้อผ้าปกคลุม ในกรณีที่รุนแรง ผดร้อนอาจอักเสบได้ ทำให้เกิดอาการปวด มีหนอง และต่อมน้ำเหลืองโตที่ขาหนีบ คอ หรือรักแร้ บุคคลบางคนอาจมีไข้ร่วมด้วย ทั้งยังสามารถนำไปสู่การติดเชื้อร้ายแรงได้ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา
5. ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงยิ่งต้องระวัง
การดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมในสภาพอากาศร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้แสงแดดจ้า เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน แต่มี 6 กลุ่มเสี่ยงสูงที่ประกอบด้วยคนทำงาน หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลางแจ้ง, เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี, ผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีภาวะสุขภาพประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน, การพักผ่อนไม่เพียงพอ และผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงควรหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรงเป็นเวลานาน
หากพบเห็นผู้มีอาการป่วยจากความร้อน ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นทันที ให้รีบนำไปไว้ในที่ร่ม ที่มีการระบายอากาศดี ให้ดื่มน้ำเย็น นอนราบ ยกขาขึ้น ใช้ผ้าเย็นหรือน้ำแข็งประคบที่หน้าผาก คอ รักแร้ ขาหนีบ แล้วใช้พัดลมเป่า จะช่วยให้เย็นลง วิธีนี้จะช่วยลดอุณหภูมิร่างกายให้เร็วที่สุด หากอาการรุนแรงและหมดสติ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที