เนื้อหาในหมวด ข่าว

ส่องผู้สมัคร ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ใครหน้าเดิม ใครหน้าใหม่ ใครย้ายพรรคมา ไปดูกันเลย!

ส่องผู้สมัคร ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ใครหน้าเดิม ใครหน้าใหม่ ใครย้ายพรรคมา ไปดูกันเลย!

Highlight

  • ผู้สมัคร ส.ส.​แบบแบ่งเขต 400 คน พรรคพลังประชารัฐ มาจากผู้สมัครจากพรรคเดิม จำนวน 100 คน (25%) ผู้สมัครที่ย้ายมาจากพรรคอื่น จำนวน 98 คน (24.5%) และผู้สมัครหน้าใหม่ จำนวน 202 คน (50.5%) 
  • ผู้สมัครที่มาจากพรรคเดิม 100 คน แบ่งเป็น ส.ส. พรรคพลังประชารัฐเดิมจากปี 2562 จำนวน 40 คน (40%) อดีตผู้สมัคร ส.ส. พรรคพลังประชารัฐเดิม จากปี 2562 จำนวน 52 คน (52%) และอดีตผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 8 คน (8%)
  • ผู้สมัคร ส.ส. พรรคพลังประชารัฐที่มาจากการย้ายพรรค มาจากพรรคภูมิใจไทยมากที่สุด 17 คน (17.52%) รองลงมาคือพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 13 คน (13.26%) พรรคเพื่อไทย จำนวน 10 คน (10.20%) และพรรคชาติไทยพัฒนา จำนวน 7 คน (7.14%)
  • ผู้สมัคร ส.ส. พรรคพลังประชารัฐที่เป็นผู้สมัครหน้าใหม่ 202 คนมาจากกลุ่มที่เป็นนักการเมืองท้องถิ่นมากที่สุด 109 คน (53.96%) และมีจำนวนมากเป็นอันดับหนึ่งในทุกภาคของประเทศไทย

จากการรับสมัครผู้สมัครสมาชิกผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 3 - 7 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา Rocket Media Lab ได้จัดทำฐานข้อมูลทางการเมืองของผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคพลังประชารัฐ โดยแบ่งกลุ่มผู้สมัครเป็น 3 ประเภท ได้แก่่ ผู้สมัครจากพรรคเดิม, ผู้สมัครที่ย้ายมาจากพรรคอื่น, และผู้สมัครหน้าใหม่ 

เมื่อแยกผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต 400 คนในปี 2566 ของพรรคพลังประชารัฐ พบว่า มีผู้สมัครจากพรรคเดิม จำนวน 100 คน (25%) ผู้สมัครที่ย้ายมาจากพรรคอื่น จำนวน 98 คน (24.5%) และผู้สมัครหน้าใหม่ จำนวน 202 คน (50.5%) 

ผู้สมัคร ส.ส. จากพรรคเดิม 

เมื่อพิจารณาผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต 400 คนจากพรรคพลังประชารัฐ พบว่ามีผู้สมัครจากพรรคเดิม จำนวน 100 คน สามารถแบ่งออกได้เป็น ส.ส. พรรคพลังประชารัฐเดิมจากปี 2562 จำนวน 40 คน (40%) อดีตผู้สมัคร ส.ส. พรรคพลังประชารัฐเดิม จากปี 2562 จำนวน 52 คน (52%) และอดีตผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 8 คน (8%) 

จากข้อมูลพบว่า ในปี 2562 พรรคพลังประชารัฐมี ส.ส. ทั้งหมด 101 คน ซึ่ง ส.ส. เดิมกลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคพลังประชารัฐเพียง 40 คนเท่านั้น และหากพิจารณาเป็นรายภาคก็จะเห็นว่า ภาคใต้และภาคเหนือเป็นภาคที่มีสัดส่วน ส.ส. เดิมกลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งมากที่สุด คิดเป็น 50% และน้อยที่สุดในภาคตะวันตก คิดเป็น 16.67%

ในจำนวน ส.ส. เดิมจากปี 2562 ของพรรคพลังประชารัฐ 101 คนนี้ มี 61 คนที่ไม่กลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคพลังประชารัฐ ในการเลือกตั้ง 2566 ซึ่งย้ายไปพรรคอื่น จำนวน 51 คน แยกเป็นภูมิใจไทย (24 คน) รวมไทยสร้างชาติ (20 คน) และเพื่อไทย (7 คน) นอกจากนี้ยังมีคนที่ไปลงสมัครแบบบัญชีรายชื่อของพรรคพลังประชารัฐอีก 3 คน และไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง 7 คน

ผู้สมัคร ส.ส. ที่ย้ายมาจากพรรคอื่น

เมื่อพิจารณาผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต 400 คนจากพรรคพลังประชารัฐ พบว่ามีผู้สมัครที่ย้ายมาจากพรรคอื่น จำนวน 98 คน สามารถแบ่งออกได้เป็น ส.ส. เดิมจากปี 2562 ที่ย้ายมาจากพรรคอื่น จำนวน 5 คน (5.10%) อดีตผู้สมัคร ส.ส. เดิมจากปี 2562 ที่ย้ายมาจากพรรคอื่น จำนวน 73 คน (74.49%) อดีต ส.ส. ก่อนปี 2562 ที่ย้ายมาจากพรรคอื่น จำนวน 1 คน (1.02%) และอดีตผู้สมัคร ส.ส. ก่อนปี 2562 ที่ย้ายมาจากพรรคอื่น จำนวน 19 คน (19.39%) 

จากข้อมูลพบว่า ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต 98 คนของพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้ง 2566 ย้ายมาจาก 

  • พรรคภูมิใจไทย จำนวน 17 คน (17.35%) 
  • พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 13 คน (13.26%) 
  • พรรคเพื่อไทย จำนวน 10 คน (10.20%) 
  • พรรคชาติไทยพัฒนา จำนวน 7 คน (7.14%) 
  • พรรคไทยรักษาชาติ จำนวน 5 คน (5.10%) 
  • พรรคพลังท้องถิ่นไทย เพื่อชาติ รวมพลังประชาชาติไทย อนาคตใหม่/ก้าวไกล พรรคละ 4 คน (4.08%) 
  • พรรคประชาชาติ พลังประชาชน เพื่อแผ่นดิน ภราดรภาพ เสรีรวมไทย พรรคละ 3 คน (3.06%) 
  • พรรคไทยรักไทย พลเมืองไทย พรรคละ 2 คน (2.04%) 
  • พรรคครูไทยเพื่อประชาชน ชาติไทย แทนคุณแผ่นดิน ประชากรไทย พลังชาติไทย เพื่อคนไทย รวมใจไทย รักษ์ผืนป่าประเทศไทย เศรษฐกิจใหม่ สยามพัฒนา และเสรีธรรม พรรคละ 1 คน (1.02%) 

ผู้สมัคร ส.ส. หน้าใหม่

เมื่อพิจารณาผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต 400 คนจากพรรคพลังประชารัฐ พบว่ามีผู้สมัครที่ถือเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ จำนวน 202 คน ซึ่งมีภูมิหลังที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ 

  • นักการเมืองระดับท้องถิ่น จำนวน 109 คน (53.96%) 
  • นักธุรกิจ จำนวน 29 คน (14.36%) 
  • ข้าราชการ/ หน่วยงานรัฐ/ รัฐวิสาหกิจ จำนวน 26 คน (12.87%) 
  • เครือญาตินักการเมืองระดับชาติ จำนวน 21 คน (10.4%)
  • อาชีพส่วนตัว จำนวน 16 คน (7.92%)
  • เครือญาตินักการเมืองระดับท้องถิ่น จำนวน 13 คน (6.44%) 
  • ผู้ที่เคยทำงานการเมืองด้านอื่น ๆ จำนวน 10 คน (4.95%) 
  • อดีตนักการเมืองระดับชาติ จำนวน 5 คน (2.48%) 
  • นักเคลื่อนไหวทางการเมือง/ สังคม จำนวน 5 คน (2.48%) 
  • บุคคลผู้มีชื่อเสียงในสังคม จำนวน 3 คน (1.49%) 
  • นักวิชาการ/ นักวิจัย จำนวน 1 คน (0.5%) 

ทั้งนี้ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. 1 คน อาจมีได้มากกว่า 1 สถานะ

ผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 

เมื่อพิจารณาผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 85 คนจากพรรคพลังประชารัฐ พบว่าเป็นผู้สมัครหน้าใหม่มากที่สุด จำนวน 46 คน รองลงมาเป็นผู้สมัครจากพรรคเดิม จำนวน 20 คน และเป็นผู้สมัครที่ย้ายมาจากพรรคอื่น จำนวน 19 คน โดยในจำนวน 19 คนนี้มีอดีต ส.ส. ปี 2562 จำนวน 4 คน อดีตผู้สมัคร ส.ส. ปี 2562 จำนวน 9 คน และอดีตผู้สมัคร ส.ส. ก่อนปี 2562 จำนวน 6 คน 

ดูข้อมูลพื้นฐานได้ที่  https://rocketmedialab.co/database-election-66-3/

บิ๊กป้อม ลาออกจากหัวหน้าพรรค พปชร. โหวตเลือกใหม่ได้ พล.อ.ประวิตรเป็นหัวหน้าพรรค

บิ๊กป้อม ลาออกจากหัวหน้าพรรค พปชร. โหวตเลือกใหม่ได้ พล.อ.ประวิตรเป็นหัวหน้าพรรค

"บิ๊กป้อม" พล.อ.ประวิตร ลาออกจากหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ หลัง กลุ่ม ร.อ.ธรรมนัส ลาออกจาก กก.บห. ก่อนถูกเลือกกลับมานั่งตำแหน่งเดิม

\

"ประวิตร" กลับลำ "ธรรมนัส" โทรเคลียร์ 4 รัฐมนตรีพลังประชารัฐ ยังอยู่ที่เดิม

หลังจากที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวกรณีการส่งรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีในสัดส่วนพรรคพลังประชารัฐ

\

"ผู้กองธรรมนัส" นำทีม ส.ส. ทั้ง 3 เขต พะเยา ประกาศชัยชนะ ขอบคุณประชาชน

'ผู้กองธรรมนัส' นำทีมผู้สมัคร ส.ส.ทั้ง 3 เขต พะเยา ประกาศชัยชนะ พร้อมขอบคุณพี่น้องประขาชนที่ให้โอกาสเลือกเบอร์ 6 ยกจังหวัด ตามเป้าหมาย

เลือกตั้ง 2562: ลุงตู่ เซอร์ไพรส์! ขึ้นเวทีพลังประชารัฐ โชว์ลูกคอ-ลั่นลุยพาชาติไปข้างหน้า

เลือกตั้ง 2562: ลุงตู่ เซอร์ไพรส์! ขึ้นเวทีพลังประชารัฐ โชว์ลูกคอ-ลั่นลุยพาชาติไปข้างหน้า

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นเวทีปราศรัยใหญ่ นัดสุดท้ายก่อนเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐ พร้อมโชว์ลูกคอร้องเพลง "หยุดตรงนี้ที่เธอ" ลั่นขอโอกาสพาชาติไปสู่อนาคตที่ดีกว่า

เลือกตั้ง 2562: โซเชียลจับโป๊ะ \

เลือกตั้ง 2562: โซเชียลจับโป๊ะ "พลังประชารัฐ" แชร์ภาพปราศรัยเหมือนตัดต่อ

ชาวโซเชียลแห่ติดแฮชแท็ก #พลังประชารัฐโป๊ะแตก หลังสังเกตเห็นภาพการปราศรัยครั้งล่าสุด คล้ายกับตัดต่อภาพคนเข้าร่วม จนเกิดคำถามในสังคมว่าผิดกฎหรือไม่