เนื้อหาในหมวด ข่าว

รู้สิทธิของตัวเอง! “กฎหมายคุ้มครองแรงงาน” ที่ลูกจ้างทุกคน “ต้องรู้”

รู้สิทธิของตัวเอง! “กฎหมายคุ้มครองแรงงาน” ที่ลูกจ้างทุกคน “ต้องรู้”

Highlight

  • พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้เวลาทำงานปกติของงานทั่วไป ต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน หรือตามที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์
  • แต่ละองค์กรจะมีการกำหนดจำนวนโควตา “วันลา” ที่แตกต่างกันไป เช่นเดียวกับข้อกำหนดอื่น ๆ ที่อาจจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงขององค์กร อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ได้กำหนดวันลาตามกฎหมายเอาไว้เช่นกัน 
  • พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566 ได้เพิ่มบทบัญญัติ มาตรา 23/1 ที่ให้นายจ้างและลูกจ้าง ตกลงให้ลูกจ้างนำงานที่สามารถปฏิบัติงานนอกสถานประกอบการหรือนอกสำนักงานของนายจ้าง ไปทำที่บ้านหรือที่พักอาศัยของลูกจ้าง
  • กฎหมายแรงงานใหม่กำหนดให้เมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธในการติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าในทางใด ๆ

แม้จะมีเหตุผลจำเป็นมากแค่ไหน แต่ก็ดูจะไม่หนักแน่นพอให้นายจ้างอนุมัติวันลาให้ลูกจ้าง จนกลายเป็นดราม่าร้อนบนโซเชียลมานักต่อนัก และข่าวดราม่าลูกจ้าง - นายจ้างเหล่านี้ก็สลับสับเปลี่ยนเวียนมาให้เห็นกันอยู่ตลอด นำไปสู่คำถามว่าคนทำงานส่วนใหญ่มีเข้าใจและรู้เรื่อง “กฎหมายคุ้มครองแรงงาน” มากน้อยแค่ไหน เพราะการรู้ข้อกฎหมายจะทำให้ลูกจ้างสามารถ “ปกป้องสิทธิ” และรักษาผลประโยชน์ที่ตัวเองควรได้รับได้นั่นเอง

Sanook มัดรวมข้อกฎหมายที่ลูกจ้างทุกคนต้องรู้ เพื่อสิทธิประโยชน์ของตัวเอง และไม่ถูกเอาเปรียบจากองค์กร

กฎหมายคุ้มครองคนทำงาน

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้เวลาทำงานปกติของงานทั่วไป ต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน หรือตามที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์ เว้นแต่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ที่กำหนดให้มีเวลาทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง/วัน แต่เมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 42 ชั่วโมง/สัปดาห์

ตามมาตรา 28 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ระบุว่า นายจ้างต้องให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ โดยให้มีระยะห่างกัน 6 วัน ทั้งนี้ นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้ากำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้ 

ลาป่วย ลากิจ เป็นสิทธิของลูกจ้าง

แต่ละองค์กรจะมีการกำหนดจำนวนโควตา “วันลา” ที่แตกต่างกันไป เช่นเดียวกับข้อกำหนดอื่น ๆ ที่อาจจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงขององค์กร อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ได้กำหนดวันลาตามกฎหมายเอาไว้เช่นกัน โดยแบ่งได้ดังนี้ 

  • ลาป่วย: มาตรา 32 ระบุว่า ลูกจ้างสามารถลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง สูงสุด 3 วันที่ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ แต่เมื่อประกอบกับมาตรา 57 กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างในวันลาป่วย เท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดเวลาที่ลา แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน/ปี แปลว่าหากลูกจ้างใช้สิทธิ์ลาป่วยไม่ถึง 30 วันทำงาน/ปี และเป็นการลาที่ถูกต้องตามระเบียบขององค์กร องค์กรนั้น ๆ ไม่มีสิทธิหักค่าจ้างในวันที่ลาป่วยนั้น
  • ลากิจ:  มาตรา 34 ประกอบมาตรา 57/1 กำหนดให้ลูกจ้างสามารถลากิจเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างในวันลากิจ เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติตลอดเวลาที่ลา แต่ต้องไม่เกิน 3 วัน/ปี 
  • ลาพักร้อน: มาตรา 30 มาตรา 64 และมาตรา 67 ให้ลูกจ้างที่ทำงานมาแล้วครบ 1 ปีมีสิทธิลาพักร้อนได้ ไม่น้อยกว่า 6 วัน/ปี หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ปีต่อมานายจ้างอาจให้สิทธิวันลาพักร้อนมากกว่า 6 วันก็ได้ แต่สำหรับลูกจ้างที่ยังทำงานไม่ครบ 1 ปี นายจ้างอาจกำหนดวันลาพักร้อนโดยคำนวณให้ตามส่วนที่ได้

กฎหมายใหม่อนุญาตให้ Work From Anywhere

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับ พ.ศ. 2566 ได้ปรับปรุงกฎหมายแรงงานกฎหมายแรงงานเดิมให้เหมาะกับสภาพปัจจุบัน โดยไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ชี้ว่า พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งมีรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปมาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้เพิ่มเติมบทบัญญัติที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง และเป็นประโยชน์กับการประกอบกิจการของนายจ้าง 

โดย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566 ได้เพิ่มบทบัญญัติ มาตรา 23/1 ที่ให้นายจ้างและลูกจ้าง ตกลงให้ลูกจ้างนำงานที่สามารถปฏิบัติงานนอกสถานประกอบการหรือนอกสำนักงานของนายจ้าง ไปทำที่บ้านหรือที่พักอาศัยของลูกจ้าง หรือตกลงให้ลูกจ้างทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใด ๆ ได้ และลูกจ้างที่ทำงานที่บ้านหรือผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่อื่น ๆ มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบกิจการของนายจ้าง


นอกจากนี้ เมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธในการติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าในทางใด ๆ กับนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงาน เว้นแต่ลูกจ้างได้ให้ความยินยอมโดยทำหนังสือไว้ล่วงหน้าก่อน โดยกฎหมายดังกล่าวนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2566 เป็นต้นไป

เปิดใจ หนุ่มขอลางานมาดูใจแม่ครั้งสุดท้าย เจอหัวหน้าจวก หยุดงานมั่วซั่ว-ไม่แจ้งล่วงหน้า

เปิดใจ หนุ่มขอลางานมาดูใจแม่ครั้งสุดท้าย เจอหัวหน้าจวก หยุดงานมั่วซั่ว-ไม่แจ้งล่วงหน้า

หนุ่มขับรถเมล์ขอลาไปดูใจแม่ในวาระสุดท้าย เจอหัวหน้าจวก เผยทำงานมา 7 ปี รู้ระบบบลางานอยู่แล้ว แต่นี่มันเรื่องกะทันหัน

หลานสาวลางานทั้งเดือน ปั่นจักรยานข้ามประเทศ 1,600 กม. \

หลานสาวลางานทั้งเดือน ปั่นจักรยานข้ามประเทศ 1,600 กม. "ไปบ้านเกิดปู่" เหตุผลกินใจ

หลานสาวคนจริง ยื่นขอลางานทั้งเดือน เพื่อปั่นจักรยานข้ามประเทศ "ไปบ้านเกิดปู่" รวมระยะทางกว่า 1,600 กม.

พนง.ขอลา ไปช่วยคู่หมั้นเลือกชุดแต่งงาน เจ้านายพูดประโยคหนึ่ง คนแห่สวดยับ

พนง.ขอลา ไปช่วยคู่หมั้นเลือกชุดแต่งงาน เจ้านายพูดประโยคหนึ่ง คนแห่สวดยับ

พนักงานขอลางานเพื่อไปช่วยคู่หมั้นเลือกชุดแต่งงาน เจ้านายสวนกลับไปประโยคหนึ่ง ชาวเน็ตรุมสวดยับ ชี้ "ถ้างั้นจัดงานศพก็ไม่ต้องลางานสิ"

พนง.แบงก์ ขอลาไป \

พนง.แบงก์ ขอลาไป "แข่งโอลิมปิก" บอสคิดว่าล้อเล่น พีกได้ลงสนามจริงๆ กีฬาประเภทนี้!

พนง.ธนาคาร ยื่นขอลางาน บอกจะไป "แข่งโอลิมปิก" บอสคิดว่าล้อเล่น พีกได้ลงสนามจริงๆ กีฬาประเภทนี้!