ทำไม “โดนทัวร์ลง” สำรวจปรากฏการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดียไทย
Highlight
- ทัวร์ลง คือการที่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียจำนวนมาก หรือจำนวนมากผิดปกติจากที่พื้นที่นั้นเคยมีอยู่ เข้ามาเพื่อคอมเมนต์ในเชิงต่อต้าน ด่าทอ เสียดสี หรือคอมเมนต์ในเชิงลบ ในประเด็นที่มีการโต้เถียงกันจากผู้ใช้โซเชียลมีเดีย
- จากปรากฏการณ์ทัวร์ลงทั้งหมด 177 เรื่อง เมื่อนำมาแยกหมวดหมู่พบว่ามีหมวดบันเทิงมากที่สุด และสิ่งที่ทัวร์ใช้เป็นเหตุผลสำหรับการทัวร์ลงในครั้งนั้น ๆ สามารถจำแนกได้เป็น 16 ลักษณะ
- ลักษณะคอมเมนต์ที่พบมากที่สุดคือการล้อเลียน/เสียดสี ทำให้เป็นเรื่องตลกขบขัน เพื่อเป็นการปกป้องตนเองจากการถูกฟ้อง และยังแสดงให้เห็นลักษณะของปรากฏการณ์ทัวร์ลงที่ไม่ได้นำไปสู่ปฏิบัติการใด ๆ อย่างเป็นรูปธรรม
- ปฏิกิริยาของผู้ที่ถูกทัวร์ลงที่พบมากที่สุดอย่างการไม่ทำอะไรเลย อาจเป็นเพราะในหลาย ๆ ครั้งการถกเถียงกันของทัวร์นั้นโดยมากไม่ใช่การทะเลาะกันระหว่างบุคคลกับบุคคล แต่เป็นการถกเถียงในเรื่องประเด็นกับประเด็น
ปรากฏการณ์ “ทัวร์ลง” เป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นบนสังคมโซเชียลมีเดียทั่วทั้งโลก ซึ่งมาพร้อมกับวัฒนธรรมการแบน (Cancel Culture) ที่เพิ่งจะก่อตัวและแพร่หลายหลังการเคลื่อนไหว #MeToo ที่เริ่มต้นจากการแสดงออกเพื่อต่อต้านการคุมคามทางเพศที่เกิดขึ้นในวงการฮอลลีวูด และในประเทศไทยก็มีการนิยามคำว่า “ทัวร์ลง” ไว้ว่า “โดนคนรุมแสดงความเห็นเชิงลบในสื่อสังคม” อย่างไรก็ตาม ลักษณะ โครงสร้าง และข้อสังเกตที่น่าสนใจในปรากฏการณ์ทัวร์ลงที่เกิดขึ้นในโซเชียลมีเดียของไทยยังไม่ค่อยมีการศึกษามากนัก ดังนั้น เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทัวร์ลงที่มีมากขึ้นจนเหมือนจะกลายเป็นเรื่องปกติในโซเชียลมีเดีย Rocket Media Lab จึงเก็บรวบรวมปรากฏการณ์ทัวร์ลงที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ในระยะเวลา 6 เดือน 10 วัน เพื่อสำรวจปรากฏการณ์ “ทัวร์ลง” ให้ชัดเจามากยิ่งขึ้น
อะไรคือ “ทัวร์ลง”
ทัวร์ลง คือการที่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียจำนวนมาก หรือจำนวนมากผิดปกติจากที่พื้นที่นั้นเคยมีอยู่ เข้ามาเพื่อคอมเมนต์ในเชิงต่อต้าน ด่าทอ เสียดสี หรือคอมเมนต์ในเชิงลบ ในประเด็นที่มีการโต้เถียงกันจากผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ทั้งที่มีและไม่มีส่วนได้ส่วนในประเด็นอันเกิดขึ้นบนเฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ ติ๊กต็อก อินสตาแกรม ยูทูบ และเว็บบอร์ด
จากการรวบรวมสิ่งที่เรียกว่าทัวร์ลง สามารถรวบรวมได้ทั้งหมด 177 เรื่อง และสามารถแบ่งออกได้เป็น 8 หมวด ได้แก่ หมวดบันเทิง หมวดการเมือง หมวดสังคม หมวดธุรกิจ หมวดการศึกษา หมวดวัฒนธรรม หมวดวิทยาศาสตร์/การแพทย์ และหมวดนโยบายรัฐ
จากปรากฏการณ์ทัวร์ลงทั้ง 177 เรื่อง เมื่อนำมาแยกหมวดหมู่พบว่ามีหมวดบันเทิงมากที่สุด จำนวน 61 เรื่อง คิดเป็น 34.46% รองลงมาอยู่ในหมวดการเมือง จำนวน 38 เรื่อง คิดเป็น 21.47% ตามมาด้วยหมวดสังคม 35 เรื่อง คิดเป็น 19.77% โดยหมวดที่น้อยที่สุดที่พบคือเรื่องนโยบายรัฐ พบเพียง 3 เรื่อง คิดเป็น 1.69%
เหตุผลที่ทัวร์ลง
เมื่อแยกหมวดหมู่จากทั้ง 177 เรื่องที่รวบรวมมา พบว่าสิ่งที่ทัวร์ใช้เป็นเหตุผลสำหรับการทัวร์ลงในครั้งนั้น ๆ สามารถจำแนกได้เป็น 16 ลักษณะ คือ
พฤติกรรมของทัวร์และปฏิกิริยาคนโดนทัวร์
ลักษณะคอมเมนต์ที่เกิดขึ้นในโพสต์ที่โดนทัวร์ลง สามารถแบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ ล้อเลียน/เสียดสี ด่าทอด้วยคำหยาบคาย/ตำหนิติเตียน สนับสนุน/ปกป้อง และโต้เถียงด้วยเหตุผล/ยกเหตุผลเพื่อมาลบล้างหลักการ ซึ่งลักษณะคอมเมนต์ที่พบมากที่สุดคือการล้อเลียน/เสียดสี ทำให้เป็นเรื่องตลกขบขัน เพื่อเป็นการปกป้องตนเองจากการถูกฟ้อง และยังแสดงให้เห็นลักษณะของปรากฏการณ์ทัวร์ลงที่ไม่ได้นำไปสู่ปฏิบัติการใด ๆ อย่างเป็นรูปธรรม ดังเช่นในวัฒนธรรมการแบน
ทั้งนี้ เมื่อกลับไปดูปฏิกิริยาของ “คนที่โดนทัวร์ลง” พบว่ามีการรับมือกับทัวร์ที่แตกต่างกันไป และสามารถจำแนกได้เป็น 6 ลักษณะ นั่นคือ
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าปฏิกิริยาของผู้ที่ถูกทัวร์ลงที่พบมากที่สุดอย่างการไม่ทำอะไรเลย อาจเป็นเพราะในหลาย ๆ ครั้งการถกเถียงกันของทัวร์นั้นโดยมากไม่ใช่การทะเลาะกันระหว่างบุคคลกับบุคคล แต่เป็นการถกเถียงในเรื่องประเด็นกับประเด็น ซึ่งอาจไม่ได้สร้างผลกระทบต่อผู้อื่นมากนักโดยเฉพาะกรณีที่ไม่มีบุคคลที่ 3
แม้ว่าปรากฏการณ์ทัวร์ลงจะยังไม่เห็นว่ามีข้อเรียกร้องที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากนักว่าจะนำไปสู่ปฏิบัติการอะไร เมื่อพิจารณาจากคอมเมนต์ที่เกิดขึ้นซึ่งจะเป็นการล้อเลียน เสียดสี หรือการด่าทอเสียมากกว่า แต่การสำรวจในครั้งนี้เป็นการศึกษาในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น จึงเป็นเพียงภาพสะท้อนสังคมภายในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ในขณะที่ปรากฏการณ์ทัวร์ลงยังคงเกิดขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคม การศึกษาในประเด็นนี้ต่อไปในอนาคตหรือในแง่มุมอื่นๆ อาจช่วยทำให้เข้าใจความเคลื่อนไหวของผู้ใช้โซเชียลมีเดียไทยได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ดูข้อมูลพื้นฐานได้ที่นี่