ไขปริศนาลึกลับ "ตายตาไม่หลับ" การแพทย์หาคำตอบได้แล้ว เป็นเพราะยัง “มีห่วง” จริงหรือ?
“ตายตาไม่หลับ” ถือเป็นปรากฏการณ์ที่น่ากลัว แต่ตอนนี้ ในวัฒนธรรมดั้งเดิมต่างๆ เชื่อกันเป็นวงกว้างว่าเป็นเพราะผู้ตายยัง“ไม่หมดห่วง” มีความกังวลหรือความปรารถนายังไม่บรรลุผล บางควาทเชื่ออาจจะหมายถึงว่าบุคคลนั้นเสียชีวิตด้วยความกลัว หรือเสียชีวิตอย่างอึดอัด และมีการเชื่อมโยงไปถึงเรื่องลี้ลับด้วย
แน่นอนว่าการอนุมานเหล่านี้จากมุมมองทางการแพทย์ “ไม่มีมูลความจริง” จริงๆ แล้วการเสียชีวิตโดยที่ไม่หลับตา เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางสรีรวิทยาตามธรรมชาติ วิทยาศาสตร์มีคำตอบสำหรับเรื่องนี้แล้ว!
ทำไมบางคนตายตาไม่หลับ...?
คนมักเข้าใจผิดว่า การลืมตาเป็นการกระทำ ส่วนการหลับตาเป็นเพียงสภาวะตามธรรมชาติ แต่จริงๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นการยกเปลือกเปิดหรือปิดเปลือกตา ก็ล้วนเป็นกระบวนการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโครงร่างที่เคลื่อนไหวภายใต้การควบคุมของเส้นประสาท
ดวงตาของเราเป็นเครื่องมือทางการมองเห็น และการเรียนรู้ที่แม่นยำ การเคลื่อนไหวของลูกตาก็ซับซ้อนมากเช่นกัน ควบคุมโดยกล้ามเนื้อตา 6 มัดภายใต้อิทธิพลของเส้นประสาทสมองหลายเส้น
การเสียชีวิตของมนุษย์สังเกตได้จากภาวะหัวใจหยุดเต้นและระบบหายใจ เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองไวต่อการขาดออกซิเจนมากที่สุด เส้นประสาทจึงสูญเสียการทำงานทันที อาการที่เด่นชัดที่สุดคือกล้ามเนื้อทั่วร่างกายจะเข้าสู่ภาวะหยุดนิ่งโดยสมบูรณ์และถาวร
สำหรับในดวงตาอาการหลักคือ รูม่านตาขยาย, เส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อหลับตา (orbicularis ocule) และกล้ามเนื้อที่ยกเปลือกตาบนเป็นอัมพาต, ดวงตาสูญเสียความสามารถในการเปิดและปิดการเคลื่อนไหว, เส้นประสาทจะเป็นอัมพาต เปลือกตาก็สูญเสียความตึงเครียด และเปลือกตาบนจะหย่อนคล้อยลงมาก
ดังนั้น ตามทฤษฎีแล้ว โดยทั่วไปหลังความตาย เปลือกตาจะสูญเสียความตึง และจะหย่อนลงตามธรรมชาติ แต่ไม่จำเป็นต้องปิดสนิท กล่าวอีกนัยคือ ดวงตาสามารถเปิดหรือปิดก็ได้ ผู้ใดลืมตาไว้ก็จะลืมตาต่อไป ผู้ใดที่หลับตาไว้ก็จะหลับตาเมื่อเขาตาย
เนื่องจากผู้คนจำนวนมากที่เสียชีวิตอย่างกะทันหันจะยังคงลืมตาเหมือนในสภาวะก่อนหน้า บางคนเพียงแต่เปลือกตาเปิดขึ้นครึ่งหนึ่งและปิดลงครึ่งหนึ่ง เมื่อเห็นอาการเช่นนี้แค่ต้องใช้มือลูบเปลือกตาของผู้ที่เพิ่งจากไปเบาๆ กล้ามเนื้อที่อ่อนลงก็จะค่อยๆ ปิดลง
กล่าวโดยสรุปคือ "ตายตาไม่หลับ" เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางสรีรวิทยาตามธรรมชาติ สะท้อนถึงสภาวะการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเปลือกตา ณ เวลาที่สมองหยุดทำงาน ไม่ใช่สัญญาณของความตื่นตระหนก หรือแสดงความเสียใจต่อความปรารถนาที่ยังไม่บรรลุผล