พลาดแล้ว! ผู้เฒ่าเจอ "หินสีทอง" เอาไปขาย 1,200 ผู้เชี่ยวชาญเฉลยช็อก ราคาจริง 200 ล้าน
ผู้เฒ่าจีนเจอ "หินสีทอง" เอาไปขายต่อ 1,200 ช็อกผู้เชี่ยวชาญเผยมูลค่าจริง 200 ล้าน ก่อนเฉลยว่าคืออะไร รัฐบาลต้องออกกฎหมายใหม่ทันที
ตามรายงานพบว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1970 ชายชราชื่อว่า นายหว่อง (นามสมมุติ) เกิดและเติบโตที่มณฑลมองโกเลีย ในครอบครัวเกษตรกรรมที่ยากจน หาเลี้ยงชีพด้วยการรวบรวมข้าวของและเศษเหล็กในพื้นที่อยู่อาศัยไปขายเป็นเงิน
วันหนึ่งขณะที่เขาใช้พลั่วเล็กๆ ในมือขุดคุ้ยถังขยะที่คนนำสิ่งของต่างๆ มาทิ้งกัน ก็ค้นพบวัตถุโลหะแวววาวจำนวนมากวางอยู่ข้างๆ กัน โดยเฉพาะก้อนหนึ่งที่สะดุดตาเพราะส่องแสงสีเหลืองจากด้านใน และมีน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม เมื่อคิดว่าสิ่งนี้คือ “ทองคำ” จึงก็รีบหยิบมันใส่ในกระเป๋าแล้วนำกลับบ้านทันที
เมื่อกลับถึงบ้านจึงนำวัตถุก้อนดังกล่าวออกมาล้างน้ำ และเห็นว่าภายใต้ชั้นดินที่ปกคลุมอยู่นั้น มีชั้นสีทองแวววาวอยู่ด้านในอีกทั้งยังสลักลวดลายที่ชวนให้นึกถึงมังกรและนก ในเวลานี้เขาคิดว่าเจอของมีค่าแน่แล้ว แต่ยังไม่แน่ใจว่าเป็นทองคำจริงหรือไม่ ดังนั้นจึงตัดสินใจนำไปที่ธนาคารเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
ที่ธนาคาร เจ้าหน้าที่ยืนยันว่าของชิ้นนี้เป็น “ทองคำ” อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทองคำชิ้นนี้มีสิ่งสกปรกฝังอยู่เป็นจำนวนมากธนาคารจึงปฏิเสธที่จะซื้อทองคำชิ้นนี้ หลังจากเจรจาและเสนอแผนให้กับชายชราแล้ว นายหว่องก็ตกลงที่จะให้เจ้าหน้าที่ธนาคารช่วยเขาละลายทองคำที่พบ และขายในราคา 1,200 หยวน (ประมาณ 6,000 บาท)
ทั้งนี้ สำหรับในปี 1970 เงินจำนวน 1,200 หยวน ถือเป็นเงินจำนวนมหาศาล และถือได้ว่าเป็นโชคลาภของชายชราผู้น่าสงสารคนนี้ ดังนั้นหลังจากได้รับเงินที่เหมือนหล่นลงมาจากฟ้า นายหว่องก็อดไม่ได้ที่จะมีความสุขอและเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้เพื่อนบ้านฟัง
ข่าวที่ชายชราค้นพบทองคำแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง และในที่สุดข่าวนี้ก็ดังไปถึงหูของผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ พวกเขาสงสัยว่าทองคำที่นายหว่องขายอาจเป็นโบราณวัตถุทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นอพวกเขาจึงเริ่มค้นหามันในเชิงรุก
ตามคำอธิบายของชายชรา ผู้เชี่ยวชาญสรุปว่าชิ้นส่วนทองคำที่เขาหยิบขึ้นมานั้น อาจเป็นของที่ระลึกของชาวฮั่นโบราณ และมีอายุนับพันปี คาดว่ามูลค่าที่แท้จริงของสินค้าดังกล่าวอาจสูงถึง 200 ล้านหยวน (ประมาณ 1 พันล้านบาท) น่าเสียดายที่สิ่งของชิ้นนี้ถูกชายชราหลอมละลายไปแล้ว
เหตุการณ์ “ละลายโบราณวัตถุ” ในครั้งนี้ ทำให้ทางการจีนในขณะนั้นกังวลเป็นอย่างมาก เพราะหากสถานการณ์นี้ยังคงเกิดขึ้นต่อไป อาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างนับไม่ถ้วนต่อโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของจีน
ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ.1982 จีนจึงได้ออกกฎหมายใหม่ ซึ่งก็คือ "กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมของสาธารณรัฐประชาชนจีน" กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า มรดกทางวัฒนธรรมทั้งหมดที่พบใต้ดิน ในน่านน้ำ และดินแดนของจีน ถือเป็นของรัฐนี้