เนื้อหาในหมวด การเงิน

จับตา! ค่ารักษาพยาบาลในเอเชียพุ่งสูง WTW แนะทุกภาคส่วนร่วมแสวงหาทางออกที่ยั่งยืน

จับตา! ค่ารักษาพยาบาลในเอเชียพุ่งสูง WTW แนะทุกภาคส่วนร่วมแสวงหาทางออกที่ยั่งยืน

ค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทยและเอเชียที่เพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่ปี 2563 ได้สร้างความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนให้แก่ประชนชนทั่วไป ครอบครัว และระบบสาธารณสุข จากผลการสำรวจแนวโน้มค่ารักษาพยาบาลทั่วโลกล่าสุดจาก วิลลิส ทาวเวอร์ส วัตสัน (Willis Tower Watson - WTW) บริษัทที่ปรึกษา โบรกเกอร์ และโซลูชั่นส์ชั้นนำระดับโลก คาดการณ์ว่าค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้น 14.2% ในปี 2568 ลดลงเล็กน้อยจาก 15.2% ในปีนี้ แต่ยังคงสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ 1.2% อย่างมาก ปัจจัยสำคัญหลายประการที่ส่งผลให้ค่ารักษาพยาบาลยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ การเพิ่มสูงขึ้นของการเข้ารับการรักษาพยาบาล ที่ถูกเลื่อนออกมาในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ซึ่งอาจทำให้แพทย์ต้องใช้เทคนิคการรักษาโรคที่เข้มข้นเนื่องจากมีการชะลอการรักษาในช่วงโรคระบาด อีกปัจจัยที่สำคัญ คือ การพัฒนาและนวัตกรรมการรักษาพยาบาลมีความก้าวหน้ามากขึ้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน ความท้าทายเหล่านี้ต้องการการตอบสนองร่วมกัน ทั้งจากฝั่งของผู้บริโภค ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ และผู้กำหนดนโยบาย ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างระบบสาธารณสุขที่มีความยืดหยุ่นและคุ้มค่ามากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพได้

การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของค่ารักษาพยาบาลมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในความต้องการด้านสุขภาพและการให้บริการด้านสุขภาพ ประชาชนจำนวนมากชะลอการเข้ารับการรักษาโรคประจำตัวในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 เพราะหลีกเลี่ยงการเดินทางไปโรงพยาบาล และเมื่อกลับมารักษาอีกครั้ง ทำให้การรักษามีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ในวงการแพทย์เอง ก็มีการสังเกตเห็นอัตราการติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเด็กซึ่งในช่วงล็อคดาวน์มีโอกาสสัมผัสเชื้อไวรัสที่ต่ำ ภายหลังจากที่โรคระบาดหายไป จึงทำให้เด็ก มีความอ่อนไหวต่อโรคทั่วไปมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ได้สร้างผลกระทบต่อเนื่อง ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มอายุและทุกบริการทางการแพทย์

เมื่อความต้องการด้านสุขภาพและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ระบบสาธารณสุขของรัฐก็ประสบความท้าทายมากขึ้น บริษัทประกันต้องเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในการปรับเปลี่ยนบริการและการกำหนดราคา เป็นเวลาหลายปีที่บริษัทประกันชีวิตที่ให้บริการประกันสุขภาพได้รักษาอัตราเบี้ยประกันให้คงที่ แม้แต่ในช่วงการระบาดของโควิด19 ที่มีความรุนแรง (ทั้งนี้ บริษัทประกันวินาศภัยมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มเบี้ยมากกว่า) อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับบริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิตเองก็ได้รับผลกระทบที่สั่งสมมาตลอดจากค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น และทำให้บริษัทเหล่านี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการปรับเบี้ยประกันได้อีกต่อไป หากยังต้องการรักษาความคุ้มครองที่มีให้กับลูกค้าได้อย่างยั่งยืน แนวทางหนึ่งที่ได้รับความนิยม คือ การปรับราคาเบี้ยประกันสุขภาพใหม่ ซึ่งช่วยให้บริษัทประกันสามารถสะท้อนการเรียกร้องค่าสินไหมที่ตรงกับความจริงที่เกิดขึ้นปัจจุบันและคงไว้ซึ่งความเป็นธรรมในการจ่ายเบี้ยประกันในทุกกลุ่มอายุ

นับตั้งแต่การระบาดของโควิด 19 มีการเพิ่มขึ้นของการเรียกร้องค่าสินไหมของประกันสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นทั้งความถี่และมูลค่าของการเคลม ซึ่งหากไม่มีการปรับอัตราเบี้ยประกันอย่างเป็นระบบ บริษัทประกันจะประสบความยากลำบากในการเสนอตัวเลือกความคุ้มครองที่ยั่งยืน ซึ่งอาจนำไปสู่การลดลงของกรมธรรม์ที่มีให้หรือผลประโยชน์ที่จำกัดสำหรับผู้บริโภค การปรับราคาเป็นระยะ จะสามารถช่วยให้เบี้ยประกันที่บริษัทประกันเรียกเก็บ มีความสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของการเรียกร้องค่าสินไหมประกันสุขภาพ และช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลผ่านการมีความคุ้มครองประกันสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง

นอกเหนือจากการปรับราคาใหม่ บริษัทประกันยังสนับสนุนให้ผู้บริโภคมีบทบาทที่แข็งขันมากขึ้นในการจัดการค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ โดยการเลือกทางเลือกที่คุ้มค่า เช่น ใช้ยาสามัญแทนยาที่มีแบรนด์เฉพาะเจาะจง หรือการรักษาที่บ้านสำหรับอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ผู้ถือกรมธรรม์สามารถช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นได้ ตามข้อมูลของ WTW แผนประกันสุขภาพที่มีลักษณะแบบ “ร่วมจ่าย” (Co-Payment) (ที่ลูกค้าและบริษัทประกันแบ่งค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ตามเปอร์เซ็นต์ที่กำหนด) และ “ความรับผิดส่วนแรก” (deductible) ที่ลูกค้ารับผิดชอบค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ตามจำนวนที่กำหนด หลังจากนั้นบริษัทประกันจะเป็นผู้จ่าย จะช่วยส่งเสริมการใช้จ่ายด้านสุขภาพด้วยการมีความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างบริษัทประกันและผู้บริโภค รูปแบบแผนประกันเหล่านี้ จะช่วยสร้างความตระหนักรู้ของผู้บริโภคเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และทำให้ประชาชนมีข้อมูลที่สมบูรณ์ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของตนเอง นำไปสู่ความคุ้มครองสุขภาพที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้บริโภคและระบบโดยรวม

สำหรับประเทศไทย การที่จะสร้างให้เกิดความยั่งยืนระยะยาวในการรับประกันสุขภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้มีบทบาทสำคัญทุกฝ่าย ทั้งบริษัทประกันที่อาจต้องเจรจากับโรงพยาบาล โดยเฉพาะเรื่องการให้บริการเป็นไปตามความจำเป็นทางการแพทย์และให้ความร่วมมือในการควบคุมค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกัน โรงพยาบาลสามารถช่วยได้โดยการนำแนวทางการดูแลที่คุ้มค่ามาใช้และมุ่งเน้นการลดการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำที่หลีกเลี่ยงได้ ในขณะเดียวกัน บทบาทของรัฐบาลก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ตั้งแต่การกำหนดนโยบายที่ส่งเสริมการจัดการต้นทุนไปจนถึงการกำหนดมาตรฐานคำนิยามของ "ความจำเป็นทางการแพทย์" และการควบคุมราคายา ความพยายามร่วมกันเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อทำให้ค่ารักษาพยาบาลมีเสถียรภาพ ช่วยให้การกำหนดราคาและความพร้อมของประกันเป็นไปอย่างเป็นธรรมและคาดการณ์ได้สำหรับทุกคน

เมื่อค่ารักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การปรับราคาเบี้ยประกันสุขภาพดูเหมือนจะเป็นทางออกที่จำเป็น ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การปรับเปลี่ยนด้านการเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นก้าวสำคัญสู่อนาคตการรักษาสุขภาพที่ยั่งยืน ด้วยความร่วมมือระหว่างบริษัทประกันภัย ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้บริโภค ประเทศไทยสามารถสร้างระบบที่เข้มแข็งเพื่อรักษาการเข้าถึงการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพ พร้อมกับการจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีความรับผิดชอบ การสร้างความตระหนักรู้และการร่วมมือกันถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ทุกฝ่ายมีบทบาทในการเผชิญความท้าทายนี้ และทำให้การคุ้มครองสุขภาพยังคงเข้าถึงได้และมีประสิทธิภาพในอนาคต

ราคาทองคำสัปดาห์หน้า นักลงทุนทองระยะสั้น ระมัดระวังการเข้าเก็งกำไร

ราคาทองคำสัปดาห์หน้า นักลงทุนทองระยะสั้น ระมัดระวังการเข้าเก็งกำไร

ราคาทองคำสัปดาห์หน้า รองเลขาธิการสมาคมค้าทองคำ และกูรูทองคำ แนะใช้กลยุทธ์เชิงรับรอเข้าซื้อสะสมที่บริเวณระดับ 48,000-49,000 บาท ผู้ที่ต้องการเก็งกำไรในระยะสั้น อาจต้องใช้ความระมัดระวังในการเข้าเก็งกำไร

\

"จระเข้ คอร์ปอเรชั่น" ลุยต่อสู่ Net Zero! กางวิสัยทัศน์ปี 68 ดันวงการก่อสร้างสีเขียว เต็มรูปแบบ

"จระเข้ คอร์ปอเรชั่น" ลุยต่อสู่ Net Zero! กางวิสัยทัศน์ปี 68 ดันวงการก่อสร้างสีเขียว เต็มรูปแบบ ชี้ชัดความยั่งยืนไม่ใช่เทรนด์ เผยผู้บริโภคเลือก "คุณภาพ" ควบคู่ "ดูแลโลก"

ททท. ปลื้ม มิชลิน ไกด์ ปี 67 หนุนรายได้ท่องเที่ยวเชิงอาหารเพิ่ม 500 ล้านบาท

ททท. ปลื้ม มิชลิน ไกด์ ปี 67 หนุนรายได้ท่องเที่ยวเชิงอาหารเพิ่ม 500 ล้านบาท

ททท. ปลื้ม มิชลิน ไกด์ ปี 2567 ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้การท่องเที่ยวด้านอาหารได้เพิ่มถึง 500 ล้านบาท จากปีก่อนหน้า 60%