เนื้อหาในหมวด การเงิน

SCB FM มองเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแม้ กนง. ลดดอกเบี้ย

SCB FM มองเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแม้ กนง. ลดดอกเบี้ย

นายวชิรวัฒน์ บานชื่น นักกลยุทธ์ตลาดการเงินอาวุโส สายงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า กนง. ลดดอกเบี้ยเหนือความคาดหมายของตลาด โดยมีมติ 6 ต่อ 1 ให้ลดดอกเบี้ยลง 25 bps มาอยู่ที่ 2.00% เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ จากภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่อ่อนแอกว่าคาด รวมทั้งมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากนโยบายการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลัก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทรงตัวในระดับต่ำจากปัจจัยด้านอุปทาน ซึ่งการลดดอกเบี้ยในครั้งนี้จะช่วยบรรเทาภาระลูกหนี้ และทำให้ภาวะการเงินบางภาคส่วนที่ตึงตัวผ่อนคลายลงได้ โดยหลังผลการประชุม เงินบาทปรับอ่อนค่าเหนือ 34.80 ก่อนที่จะมี Correction กลับมาที่ระดับใกล้เคียงเดิม ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย (Government bond yields) ปรับลดลง โดย yields ระยะ 2 ปี ลดลง 5 bps มาที่ราว 1.96% ส่วน yields ระยะ 10 ปี ลดลง 8 bps มาที่ราว 2.17%

นายวชิรวัฒน์มองว่า ยังไม่เห็นการส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยลงต่อ เนื่องจากคณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.00% อยู่ในระดับที่สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ประเมินในครั้งนี้ และสามารถรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าได้ อีกทั้ง เศรษฐกิจไทยและเงินเฟ้อที่อ่อนแอมาจากปัจจัยฝั่งอุปทานและปัจจัยเชิงโครงสร้าง ซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ไข และการลดดอกเบี้ยจะยังไม่ช่วยแก้ได้ตรงจุด ดังนั้น หาก GDP ไทยปีนี้โตที่ราว 2.5% ก็อาจจะไม่เห็นการลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี ตลาดมองว่า กนง. อาจลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งปีนี้ โดยอาจลดในช่วงต้นไตรมาสที่ 4

สำหรับมุมมองค่าเงินบาทในระยะต่อไป มองว่า ในระยะ 1 เดือนนี้ เงินบาทยังมีแนวโน้มทรงตัวในกรอบ 33.50-34.00 โดยพบว่าในช่วงที่ผ่านมา เงินบาทมักได้รับอิทธิพลจากผลของมาตรการ Tariffs เป็นหลัก โดยท่าทีของทรัมป์เริ่มผ่อนปรนลง ความไม่แน่นอนในการประกาศใช้จริง ทำให้ตลาด Price-in tariffs risk น้อยลงมาก สะท้อนจาก Market reaction ที่เบาลง ทำให้เงินบาทผันผวนน้อยลงและยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ นอกจากนี้ พบว่ามีช่วงที่เงินบาทแข็งค่าจากแรงหนุนของเงินยูโรและเงินเยนที่กลับมาแข็ง แต่บาทกลับมาอ่อนค่าเร็วจาก Sentiment ตลาดหุ้นที่แย่ลงทำให้เงินไหลออก และมุมมองการลดดอกเบี้ยของ กนง. ที่มีมากขึ้นในตลาด Swap

ทั้งนี้ หากเงินบาทจะอ่อนค่าเหนือ 34.00 ได้ SCB FM มองว่าอาจต้องมีการขึ้นภาษีนำเข้าเพิ่มเติม เช่น ประกาศขึ้น Reciprocal tariffs ของสหรัฐฯ หรือขึ้นภาษีนำเข้าต่อสินค้ากลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ และยา ที่อัตรา 25% ซึ่งจะเป็นสิ่งที่อาจทำให้ตลาดมีการ Reprice tariffs risk ใหม่ ดันให้ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า และบาทอ่อนค่าเร็วได้ ดังนั้น นายวชิรวัฒน์จึงแนะนำผู้นำเข้า/ส่งออกให้พิจารณาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (FX hedging) ในภาวะที่ความผันผวนในตลาดเงินที่อาจกลับมาสูงขึ้นได้

SCB WEALTH มองภาษีทรัมป์ ฉุด GDP โลกโตเหลือ 2.2% แนะพักหุ้น ถือตราสารหนี้-ทองคำ

SCB WEALTH มองภาษีทรัมป์ ฉุด GDP โลกโตเหลือ 2.2% แนะพักหุ้น ถือตราสารหนี้-ทองคำ

SCB WEALTH มองภาษีทรัมป์กดดัน GDP โลกโตเหลือ 2.2% ส่วนไทยโต 1.4-1.5% แนะลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้น-กลาง กองทุนผสม และทองคำ เลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยงชั่วคราว

SCB FM มอง ค่าเงินบาทไทย อาจอ่อนค่าในระยะสั้น จากสหรัฐฯ ประกาศ Reciprocal tariffs

SCB FM มอง ค่าเงินบาทไทย อาจอ่อนค่าในระยะสั้น จากสหรัฐฯ ประกาศ Reciprocal tariffs

SCB FM มองเงินบาทอาจอ่อนค่าต่อได้อีกไม่มากในระยะสั้น แม้สหรัฐฯ จะประกาศ Reciprocal tariffs แต่ปลายปียังไม่แน่นอนสูง บาทอาจอ่อนต่อ

SCB WEALTH ผนึก BlackRock เสริมแกร่งการลงทุนไทยสู่เวทีโลก

SCB WEALTH ผนึก BlackRock เสริมแกร่งการลงทุนไทยสู่เวทีโลก

SCB WEALTH จับมือ BlackRock เสริมแกร่งการลงทุนมุ่งสู่ระดับโลก ยกระดับธุรกิจเวลธ์ในทุกมิติเน้นโอกาสเพิ่มความมั่งคั่งระยะยาวให้ลูกค้า

SCB x ฮั่วเซ่งเฮง ส่งบริการเทรดทองคำออนไลน์ จ่ายผ่านบัญชี e-FCD ได้แล้ว

SCB x ฮั่วเซ่งเฮง ส่งบริการเทรดทองคำออนไลน์ จ่ายผ่านบัญชี e-FCD ได้แล้ว

“ไทยพาณิชย์” ตอกย้ำผู้นำดิจิทัลแบงก์กิ้ง ผนึกกำลัง “ฮั่วเซ่งเฮง” ส่งบริการ “เทรดทองคำออนไลน์ ชำระหรือรับเงินผ่านบัญชี e-FCD ของ SCB บนแอป USD GOLD TRADE” ได้แล้ววันนี้!

SCB FM มองเงินบาทอาจอ่อนค่าต่อได้อีก หากทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้าตามที่ประกาศไว้

SCB FM มองเงินบาทอาจอ่อนค่าต่อได้อีก หากทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้าตามที่ประกาศไว้

SCB FM มองเงินบาทอาจอ่อนค่าต่อได้อีก หากทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้าตามที่ประกาศไว้ แต่เลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอลงอาจทำให้บาทแข็งกว่าคาด