"ครูก้อย นัชชา" ตอบคำถาม ประจำเดือนขาดๆ หายๆ แต่ตรวจแล้วไม่ท้อง เกิดจากอะไร?
เคยไหม? ประจำเดือนขาดๆ หายๆ แอบดีใจคิดว่าท้อง แต่หลังตรวจตั้งครรภ์กลับพบว่าไม่ท้อง นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณอาจมีภาวะ PCOS ซึ่งส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไข่ไม่ตก ส่งผลให้ท้องยาก
“ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์” กรรมการบริหาร บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด ครูวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้งคอมมูนิตี้เพจยอดนิยม https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th/ เพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์ตามหลักวิทยาศาสตร์สำหรับผู้มีบุตรยาก พร้อมรวมรวมงานวิจัยเกี่ยวกับโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ สรุปเป็นคอนเซ็ปต์สั้นๆ ให้เข้าใจง่ายเผยว่า จากศึกษาค้นคว้างานวิจัยเกี่ยวกับโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ พบว่าสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนขาดหาย เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น อาหารที่รับประทาน ความเครียด และการออกกำลังกายที่มากไปหรือน้อยไป หรือมีภาวะน้ำหนักตัวน้อยหรือมากเกินไป มีภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งทั้งหมดล้วนส่งผลต่อการทำงานของรังไข่ที่ผิดปกติ ซึ่งส่งผลต่อการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่เกี่ยวกับข้องภาวะเจริญพันธุ์ในผู้หญิง เมื่อฮอร์โมนไม่สมดุลจึงส่งผลให้ไข่ไม่ตก และอาจส่งผลให้ไข่ไม่ตกเรื้อรังสะสมเป็นถุงน้ำในรังไข่เล็กๆ หลายใบ ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า PCOS หรือ Polycystic Ovary Syndrome ซึ่งอาจจะมีในรังไข่ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง จึงทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
“ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า รอบประจำเดือนที่ปกตินั้นจะมีระยะเวลา 28 วัน หากรอบประจำเดือนน้อยกว่า 21 วัน หรือยาวเกินไป 35 วัน หรือ ประจำเดือนขาดหายไป 1 - 2 เดือน ในช่วงวัยเจริญพันธุ์และได้ทำการทดสอบการตั้งครรภ์แล้ว หากไม่ได้ตั้งครรภ์ อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนของการทำงานของระบบสืบพันธุ์ที่ผิดปกติ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือปัญหาที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์อื่นๆ เช่น
1.ความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ในผู้หญิง ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) หรือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งต้องพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คหาสาเหตุอย่างละเอียดว่าเกิดจากสาเหตุใด อาจเกิดจากรังไข่เสื่อม วัยทองก่อนวัย หรือ มีโรคอย่างอื่น เช่น ไทรอยด์
2.มีภาวะถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic Ovary Syndrome) หรือเรียกว่า PCOS ซึ่งส่งผลให้ "ไข่ไม่ตกเรื้อรัง" ซึ่งเป็นภาวะที่ผู้หญิงมีฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป มีอาการอ้วนลงพุง ขนดก หน้ามัน เป็นสิว ทำให้ผู้หญิงที่อยู่ในภาวะนี้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หลายเดือนมาที หรือประจำเดือนขาดหายไปเลย ทำให้ไข่ไม่ตก จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Obesity & Weight Loss Therapy เมื่อปี 2015 ศึกษาพบว่า รูปแบบการรับประทานอาหาร โภชนาการที่ถูกต้องสามารถช่วยเยียวยาภาวะ PCOS ได้ โดยได้สรุปรูปแบบการกินที่จะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและลดการอักเสบ ลดความเสี่ยงภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ร่างกายอักเสบ และเหนี่ยวนำฮอร์โมนเพศชายให้สูงขึ้น และยังช่วยควบคุมน้ำหนัก ซึ่งส่งผลดีต่อการเยียวยา PCOS ดังนี้
- A low glycemic index (GI) diet: รูปแบบการทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ค่าดัชนีน้ำตาลในอาหาร เพราะเมื่อรับน้ำตาลเข้าไปในร่างกายมากเกินไป ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนอินซูลินมากำจัดน้ำตาลส่วนเกิน หากน้ำตาลพุ่ง อินซูลินค้าง เหนี่ยวนำให้มีการสร้างฮอร์โมนเพศชายสูงขึ้น ฮอร์โมนเพศหญิงเพี้ยน จึงเป็นสาเหตุที่ประจำเดือนไม่มา ไข่ไม่ตก ดังนั้นควรเลี่ยงของหวานทุกชนิด คาร์บขัดขาว ข้าวขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปังขาว และเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ ข้าวไม่ขัดสี ข้าวกล้อง ธัญพืช เช่น งาดำ แฟล็กซีด ควินัว เมล็ดฟักทอง ถั่วต่างๆ ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลวีต
- An anti-inflammatory diet: รูปแบบอาหารที่ต้านการอักเสบ การอักเสบเป็นกระบวนการที่สำคัญมากในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อให้กลับมาเป็นปกติ การอักเสบจะเกิดขึ้นเพื่อป้องกันการทำลายเซลล์ หรือ การบาดเจ็บในร่างกายซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก ความเครียด ความเจ็บป่วย การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมไปถึงสภาวะทางจิตที่ไม่ปกติ จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Reproductive Science เมื่อปี 2011 ศึกษาพบว่าการอักเสบเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคทางสูติศาสตร์ (Gyneological disease) ซึ่งการอักเสบ (Inflammation) ส่งผลต่อการตกไข่และการสร้างฮอร์โมนรวมไปถึงเกี่ยวข้องกับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งการลดการอักเสบในร่างกายที่สำคัญที่สุดคือการปรับโภชนาการ การทานอาหารที่ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ได้แก่ ผักใบเขียว ผักผลไม้หลากสี สารต้านอนุมูลอิสระจากผลไม้รสเปรี้ยวตระกูลเบอร์รี่
- น้ำหนักเพิ่มหรือลดมากเกินไป ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มหรือลดมากเกินไปอาจเกิดอาการประจำเดือนไม่มา โดยผู้ที่น้ำหนักตัวลดลงมากอย่างรวดเร็วนั้นมักรับประทานอาหารน้อย ทำให้ไม่มีสารอาหารไปกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตก ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนมากนั้น จะทำให้ร่างกายผลิตเอสโตรเจนมากซึ่งส่งผลต่อรอบเดือน และทำให้ประจำเดือนไม่มา
- ออกกำลังกายมากเกินไป การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกายออกแรงหนักหน่วง จะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวกับรอบเดือน เนื่องจากร่างกายสูญเสียไขมันมากเกินไปจากการหักโหมทำกิจกรรมดังกล่าว ส่วนใหญ่นักกีฬามักจะประสบปัญหานี้ จากงานวิจัยเรื่อง Body mass index, physical activity and fecundability in a North American preconception cohort study ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่า การออกกำลังกายแต่พอดีส่งผลดีต่อสุขภาพผู้หญิงและส่งผลดีต่อภาวะเจริญพันธุ์ สำหรับผู้หญิงที่มีภาวะโรคอ้วนการออกกำลังกายหนักกว่าปกติเพื่อลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ช่วยให้มีโอกาสในการตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น
แต่สำหรับผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวปกติ การออกกำลังกายที่หนักเกินไปจะส่งผลในเชิงลบต่อภาวะเจริญพันธุ์ มีงานวิจัยศึกษาพบว่าการออกกำลังกายที่หนักเกินไปส่งผลให้ "ไข่ไม่ตก" ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ท้องยาก อ้างอิงงานวิจัยเรื่อง Effect of Exercise on Ovulation: A Systematic Review ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Sports Medicine เมื่อปี 2017เปิดเผยผลการศึกษาว่า ผู้หญิงที่ออกกำลังกายหนัก (Vigorous exercises) โดยใช้เวลามากกว่า 60 นาทีต่อวัน มีความเสี่ยงต่อ "ภาวะไข่ไม่ตก" เพิ่มขึ้น
- ความเครียด ผู้ที่มีความเครียดอาจส่งผลต่อรอบเดือน เพราะฮอร์โมนความเครียดจะหลั่งออกมารบกวนฮอร์โมนเพศ ทำให้ประจำเดือนมามาก มาน้อย เกิดอาการปวดท้องรุนแรงเมื่อมีรอบเดือน หรือประจำเดือนไม่มาเลย โดยมีรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Sleep Medicine Report เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย สมองส่วนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เราหลับ หรือ ตื่น เช่น ฮอร์โมนเมลาโทนิน และ คอติซอล เป็นสมองส่วนที่กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเพศด้วยเช่นกัน โดยในผู้หญิงนั้น การนอนไม่เพียงพอในระยะยาวส่งผลโดยตรงต่อ การสร้าง Luteinizing Hormone (LH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ หากฮอร์โมน LH ผิดปกติก็จะส่งผลต่อรอบเดือนที่ไม่ปกติ ส่งผลให้ไข่ไม่ตก หรือ ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากนั่นเอง
กล่าวโดยสรุป ปัญหาประจำเดือนเลื่อน ประจำเดือนไม่มา หรือประจำเดือนขาดหาย สาเหตุหลักๆ เกิดจากฮอร์โมนที่ไม่สมดุลซึ่งมีที่มาจากปัจจัยหลายอย่างตามที่กล่าวข้างต้น ดังนั้นผู้หญิงที่มีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติควรปรับพฤติกรรม หรือหาวิตามินเสริมเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมน รวมทั้งพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอไม่หักโหมจนเกินไป ควบคุมน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ไม่อ้วนและไม่ผอมเกินไป ลดอาหารไขมันสูง น้ำตาล ของหวาน งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หันมาทานอาหารที่ช่วยบำรุงเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน หรือเสริมด้วยวิตามินและอาหารเสริมสำหรับสตรีที่มีภาวะ PCOS โดยเฉพาะเพื่อช่วยบรรเทาอาการ PCOS และสามารถศึกษาความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก เพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กเพจ BabyAndMom.co.th เพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์ตามหลักวิทยาศาสตร์สำหรับผู้มีบุตรยาก