เนื้อหาในหมวด การเงิน

ไทยพาณิชย์ ปลื้ม ปล่อยสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนทะลุเป้าหมาย ทะยานสู่ 1.8 แสนล้านบาท

ไทยพาณิชย์ ปลื้ม ปล่อยสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนทะลุเป้าหมาย ทะยานสู่ 1.8 แสนล้านบาท

ไทยพาณิชย์ ตอกย้ำความมุ่งมั่นสนับสนุนการดำเนินงานด้านความยั่งยืน ตามแนวคิด “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” (Live Sustainably) ทุบสถิติการให้สินเชื่อและการออกหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) ภายใต้วงเงินสะสมรวมกว่า 180,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 2 ปีครึ่ง (2023 – 6 เดือนแรกของปี 2025) ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ที่ 150,000 ล้านบาทในช่วง 3 ปี (2023 – 2025) สะท้อนความมุ่งมั่นในฐานะผู้นำด้านการเงินที่ร่วมขับเคลื่อนภาคธุรกิจไทยเปลี่ยนผ่านสู่แนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับหลัก ESG และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ

s__61620296

นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ภายใต้กลยุทธ์ “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” (Live Sustainably) ธนาคารได้ให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของการสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กรและเศรษฐกิจไทยในมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล สำหรับเป้าหมายในด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการเตรียมพร้อมเศรษฐกิจและสังคมไทยกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ (climate change) ธนาคารได้กำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ใน 3 ระยะสำคัญ ประกอบด้วย 1) การสนับสนุนลูกค้าเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนด้วยการให้สินเชื่อและการออกหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนภายใต้วงเงินจำนวน 150,000 ล้านบาท ระหว่างปี 2023 - 2025 2) ปรับการดำเนินงานภายในองค์กรสู่ Net Zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2030 และ 3) ตั้งเป้า Net Zero สำหรับพอร์ตสินเชื่อและการลงทุนของธนาคาร ภายในปี 2050 ทั้งนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ดำเนินการเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาโลกร้อน สะท้อนกลยุทธ์และความมุ่งมั่นของกลุ่มบริษัท SCBX ซึ่งเป็นสถาบันการเงินแห่งแรกและแห่งเดียวของไทยที่ผ่านการรับรองการตั้งเป้าหมาย Net Zero ภายใต้มาตรฐาน Science-Based Targets Initiative: SBTi ในช่วงปลายปีที่แล้ว โดยมาตรฐาน SBTi เป็นมาตรฐานสากลที่อยู่บนพื้นฐานหลักการวิทยาศาสตร์ที่โปร่งใส ชัดเจน และตรวจสอบได้ และได้รับการยอมรับจากองค์กรระดับโลกจำนวนมากกว่า 8,000 แห่งเข้าเป็นสมาชิก

สำหรับความสำเร็จในการเป็นผู้นำของการสนับสนุนวงเงินเพื่อความยั่งยืนให้กับลูกค้าในทุกกลุ่มในช่วง 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา สะท้อนแผนการดำเนินการของธนาคารใน 3 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1) การกำหนดกลยุทธ์การลดคาร์บอนในภาคธุรกิจสำคัญ (Sectoral Decarbonization Strategies) ซึ่งระบุถึงโอกาส ความท้าทาย และแนวทางการสนับสนุนการปรับตัวของลูกค้า ครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า ตั้งแต่กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ (Conglomerate & Corporate) ธุรกิจ SME จนถึงรายย่อยให้เหมาะสมกับบริบทของลูกค้าในภาคธุรกิจต่างๆ โดยในเบื้องต้น ธนาคารได้มุ่งเป้า 4 อุตสาหกรรมหลักที่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปสู่เป้าหมาย Net Zero ประกอบด้วย อสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ พลังงานหมุนเวียน ยานยนต์ไฟฟ้า & ระบบนิเวศ และอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ ซึ่งทั้ง 4 อุตสาหกรรมนี้ก็เป็น Top 4 ที่มีสัดส่วนของยอดวงเงินเพื่อความยั่งยืนของธนาคารลดหลั่นตามลำดับในช่วง 2 ปีกว่าที่ผ่านมา 2) การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนของลูกค้าแต่ละกลุ่ม โดยผสมผสานการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการทางการเงินของลูกค้าที่มีความหลากหลายในแต่ละภาคธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างแรงจูงใจทางการเงินเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของลูกค้าในลักษณะ win-win ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ Sustainability-Linked Loan และ Sustainability-Linked Bond ที่ปรับอัตราดอกเบี้ยตามผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน เพื่อจูงใจให้ภาคธุรกิจเร่งขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจควบคู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม และ 3) บทบาทการเป็นพาร์ตเนอร์ด้านความยั่งยืนที่แท้จริงให้กับลูกค้า ซึ่งมากกว่าการสนับสนุนด้านการเงิน แต่หมายรวมการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึง pain points ของลูกค้าแต่ละกลุ่มในการยกระดับด้านความยั่งยืน ทั้งนี้ ธนาคารได้ร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจด้านต่างๆ เพื่อนำไปสู่การให้ความรู้ ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะด้าน technical solutions ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทของลูกค้า

นายกฤษณ์ กล่าวว่า ความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศจะเป็นทั้งความเสี่ยงและโอกาสของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ธนาคารไทยพาณิชย์มีความตั้งใจที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินไทยเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของทั้งลูกค้าภาคธุรกิจและลูกค้ารายย่อย เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสของการเติบโตให้กับเศรษฐกิจไทยภายใต้สังคมคาร์บอนต่ำของโลกในอนาคต โดยยึดมั่นในหลัก “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” ในการดำเนินการทั้งในระดับองค์กร ลูกค้า และสังคมไทยโดยรวม เพื่ออนาคตที่มั่นคง แข็งแรง และยั่งยืนของประเทศ

 

SCB WEALTH ถอดรหัสทิศทางเศรษฐกิจ-การลงทุนสร้างผลตอบแทน ในตลาดที่มีผันผวน

SCB WEALTH ถอดรหัสทิศทางเศรษฐกิจ-การลงทุนสร้างผลตอบแทน ในตลาดที่มีผันผวน

SCB WEALTH จัดสัมมนากลยุทธ์ฝ่าวิกฤตท่ามกลางความไม่แน่นอนให้กลุ่มลูกค้าPrivate Banking ถอดรหัสทิศทางเศรษฐกิจพร้อมแนวคิดการลงทุนมุ่งสร้างผลตอบแทนในภาวะตลาดผันผวน

SCB FM มองบาทผันผวนสูง คาดค่าเงินบาทไทยสิ้นปี 68 ที่ 31.50-32.50 บาทต่อดอลลาร์

SCB FM มองบาทผันผวนสูง คาดค่าเงินบาทไทยสิ้นปี 68 ที่ 31.50-32.50 บาทต่อดอลลาร์

SCB FM ชี้มาตรการภาษีนำเข้าสหรัฐฯ และแนวโน้มเงินทุนเคลื่อนย้ายส่งผลให้เงินบาทผันผวนสูง มองกรอบค่าเงินสิ้นปี 31.50-32.50 บาทต่อดอลลาร์

SCB FM มองเงินบาทอาจอ่อนค่าได้ในระยะสั้น จับตาปัจจัยเสี่ยงยังกดดัน

SCB FM มองเงินบาทอาจอ่อนค่าได้ในระยะสั้น จับตาปัจจัยเสี่ยงยังกดดัน

SCB FM มองเงินบาทอาจอ่อนค่าได้ในระยะสั้น แต่ในระยะยาวเงินบาทอาจแข็งค่าจากความเชื่อมั่นต่อสินทรัพย์สหรัฐฯ ที่ลดลง ทำให้ดอลลาร์อ่อน

SCB WEALTH มองภาษีทรัมป์ ฉุด GDP โลกโตเหลือ 2.2% แนะพักหุ้น ถือตราสารหนี้-ทองคำ

SCB WEALTH มองภาษีทรัมป์ ฉุด GDP โลกโตเหลือ 2.2% แนะพักหุ้น ถือตราสารหนี้-ทองคำ

SCB WEALTH มองภาษีทรัมป์กดดัน GDP โลกโตเหลือ 2.2% ส่วนไทยโต 1.4-1.5% แนะลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้น-กลาง กองทุนผสม และทองคำ เลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยงชั่วคราว

SCB FM มอง ค่าเงินบาทไทย อาจอ่อนค่าในระยะสั้น จากสหรัฐฯ ประกาศ Reciprocal tariffs

SCB FM มอง ค่าเงินบาทไทย อาจอ่อนค่าในระยะสั้น จากสหรัฐฯ ประกาศ Reciprocal tariffs

SCB FM มองเงินบาทอาจอ่อนค่าต่อได้อีกไม่มากในระยะสั้น แม้สหรัฐฯ จะประกาศ Reciprocal tariffs แต่ปลายปียังไม่แน่นอนสูง บาทอาจอ่อนต่อ