เนื้อหาในหมวด ข่าว

รู้จัก “ปลาหมอคางดำ” ปลาเอเลี่ยนสปีชีส์ เข้ามารุกรานแหล่งน้ำไทยกว่า 18 ปี

รู้จัก “ปลาหมอคางดำ” ปลาเอเลี่ยนสปีชีส์ เข้ามารุกรานแหล่งน้ำไทยกว่า 18 ปี

สถานการณ์การแพร่กระจายของ “ปลาหมอคางดำ” ในไทยมีเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศและการประกอบอาชีพของชาวประมงอย่างหนัก

วันนี้ Sanook จึงขอพาทุกคนมาทำความรู้จัก “ปลาหมอคางดำ” ว่าคือปลาอะไร ส่งผลกระทบอะไรต่อเราบ้าง พร้อมเปิดไทม์ไลน์การเข้ามาของปลาชนิดนี้ในไทย 

ปลาหมอคางดำ คืออะไร?

ปลาหมอคางดำ หรือ Blackchin tilapia เป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายกับปลาหมอเทศ มีต้นกำเนิดในทวีปแอฟริกา แต่ต่อมาได้มีการนำเข้ามาในหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะอเมริกา ยุโรป หรือประเทศไทยเองก็มีการนำเข้ามาในปี 2553

สำหรับปลาหมอคางดำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมได้ดี โดยสามารถอาศัยอยู่ในสภาพน้ำที่มีความเค็มสูงได้ แต่ก็สามารถอยู่ในน้ำจืดได้เช่นกัน

นอกจากนี้แล้วปลาหมอคางดำ ยังสามารถปรับตัวกับอาหารได้ภายใน 1 ชั่วโมง อีกทั้งยังขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยขยายพันธุ์ได้ทุก ๆ 22 วัน นี่จึงเป็นสาเหตุที่ปลาชนิดนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

การแพร่ที่รวดเร็วของปลาชนิดนี้ ก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่ดีต่อระบบนิเวศอย่างมาก เนื่องจากนิสัยโดยทั่วไปของปลาหมอคางดำ มีความดุร้าย อีกทั้งยังมีความต้องการอาหารอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้การที่มีจำนวนปลาหมอคางดำเยอะ ก็ทำให้ปลาชนิดอื่น ๆ สูญพันธุ์ไปได้ด้วย

ปลาหมอคางดำ

ปลาหมอคางดำ เข้ามาในไทยได้อย่างไร?

  • ปี 2549: คณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมง (IBC) อนุญาตให้บริษัทแห่งหนึ่ง นำเข้าปลาหมอสีคางดำจากสาธารณรัฐกานา ทวีปแอฟริกา เพื่อนำมาปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิล
  • ปี 2553: บริษัทดังกล่าว นำเข้าปลาหมอสีคางดำ จำนวน 2,000 ตัว อย่างไรก็ตามเพียงแค่ 3 อาทิตย์ ปลาหมอคางดำก็ทยอยตายเกือบทั้งหมด บริษัทจึงทำลายปลาทั้งหมด และแจ้งให้กรมประมงทราบ
  • ปี 2555: พบการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำครั้งแรกที่บ่อกุ้งและบ่อปลา ในตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาแพร่กระจายไปในอีกหลายพื้นที่ใกล้เคียง
  • มกราคม 2561: มีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ห้ามมิให้บุคคลใดนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยงเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประมง หรือเป็นผู้ซึ่งอธิบดีกรมประมงมอบหมาย ซึ่งมีปลา 3 สายพันธุ์ ได้แก่ 1.ปลาหมอสีคางดำ 2.ปลาหมอมายัน 3.ปลาหมอบัตเตอร์ ใครฝ่าฝืนจะมีโทษทางกฎหมาย จำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 

สถานการณ์ปลาหมอคางดำในปี 2567

ปัจจุบันปลาหมอคางดำ ได้เผยแพร่อยู่ในแหล่งน้ำไทยหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคใต้ จังหวัดสงขลาและนครศรีธรรมราช ซึ่งในโซเชียลก็ได้มีการเผยแพร่วิดีโอและภาพฝูงปลาหมอคางดำให้เห็นอยู่หลายครั้ง ทำให้หลายภาคส่วนของรัฐรีบเร่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

ล่าสุดสำนักงานประมง จังหวัดสงขลา ได้โพสต์เฟซบุ๊กประกาศจับจับปลาหมอคางดำ เนื่องจากเป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร โดยผู้ใดพบเจอปลาชนิดนี้ให้ติดต่อและแจ้งสำนักงานประมงจังหวัดสงขลา หรือสำนักงานประมงอำเภอใกล้บ้าน โทร. 0-7431-1302

 

สรุปส่งท้าย

ปลาหมอคางดำถือว่าเป็นปลาที่อันตรายต่อระบบนิเวศอย่างมากทั้งแย่งอาหาร ทำให้ปลาค่อย ๆ สูญหายไปส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ ดังนั้นใครที่เลี้ยงไว้ก็ไม่ควรปล่อยลงแหล่งน้ำซี้ซั้ว นอกจากปลาหมอคางดำแล้ว เราก็ไม่ควรปล่อยปลาชนิดใด ๆ ลงแม่น้ำ ลำคลอง หากยังไม่ได้ศึกษาความเป็นอยู่ของมันด้วยอีกเช่นกัน

นักศึกษา ปรม. รุ่น 23 ร่วมมือชุมชนพัฒนาธุรกิจ พลิกวิกฤตปลาหมอคางดำ ผลิตข้าวเกรียบใจบุญ

นักศึกษา ปรม. รุ่น 23 ร่วมมือชุมชนพัฒนาธุรกิจ พลิกวิกฤตปลาหมอคางดำ ผลิตข้าวเกรียบใจบุญ

นักศึกษาโครงงานกลุ่มเชิงปฏิบัติการของหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน (ปรม.) รุ่นที่ 23

เชฟซูชิดัง ชำแหละ \

เชฟซูชิดัง ชำแหละ "ปลาหมอคางดำ" ให้ดูชัด ๆ รู้เลยทำไมคนถึงไม่นิยมกิน

เชฟซูชิดัง ชำแหละ "ปลาหมอคางดำ" วิเคราะห์อวัยวะต่าง ๆ ดูแล้วรู้เลยทำไมคนถึงไม่นิยมกิน แค่ไส้ก็ยาวเป็น 9 เท่าของขนาดลำตัว

อ.เจษฎา ไขข้อสงสัย \

อ.เจษฎา ไขข้อสงสัย "ปลาหมอคางดำ" ทำไมสีสวย? พบที่แหลมผักเบี้ย-เพชรบุรี

เจอ "ปลาหมอคางดำ" สีสวยที่แหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี อ.เจษฎา มาช่วยไขข้อสงสัย พร้อมตอบอเมริกา-ฟิลิปปินส์ จัดการยังไงกับการระบาด