เปิด 2 มุมมอง ประเด็น "#saveทับลาน" เอื้อนายทุนหรือช่วยชาวบ้าน?
ช่วงหลายวันที่ผ่านมา หลายคนอาจเห็น #saveทับลาน ผ่านตาอยู่บนฟีดโซเชียลมีเดีย ซึ่งแฮชแท็กนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจาก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดให้ประชาชนออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีการปรับปรุงพื้นที่แนวเขต ‘อุทยานแห่งชาติทับลาน’ ตามแบบแผน ONE MAP ของรัฐ ซึ่งหากแนวเขตดังกล่าวผ่านจะส่งผลให้สูญเสียพื้นที่อุทยานฯทับลานกว่า 2.6 แสนไร่
ขณะเดียวกันในโซเชียลเองได้มีการถกเถียงถึงประเด็นนี้กันอย่างร้อนแรง โดยมีแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ผู้ที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากต้องการอนุรักษ์ป่า รวมถึงเกรงว่าแนวเขตดังกล่าวจะเอื้อต่อนายทุน และฝั่งผู้ที่เห็นด้วย เพราะพื้นที่อุทยานฯ ทับซ้อนกับพื้นที่ทำมาหากินของชาวบ้าน
วันนี้ Sanook จึงได้รวบรวมความเห็นของทั้งสองฝั่งมาฝากทุกคน ย้อนที่มาที่ไป พร้อมทั้งเจาะลึกประเด็นว่าทำไมแต่ละฝั่งถึงมีความเห็นเช่นนั้น
ฝั่งผู้ที่เห็นด้วย (#saveชาวบ้าน)
สำหรับผู้ที่เห็นด้วยในประเด็นนี้ ให้เหตุผลว่า พื้นที่อุทยานฯทับลานนั้นทับซ้อนกับพื้นที่ทำมาหากินของชาวบ้านมาเป็นเวลานาน ดังนั้นการจัดสรรคพื้นที่ก็จะส่งผลดีให้แก่ชาวบ้าน
การถกเถียงเกี่ยวกับ “พื้นที่อุทยานฯทับลาน” ไม่ได้เพิ่งเริ่มมีในปีนี้ แต่มีการถกเถียงเรื่องนี้ลากยาวนานถึงสิบกว่าปี
โดยสามารถสรุปไทม์ไลน์ที่มาของปัญหาการทับซ้อนพื้นที่ป่ากับที่ทำมาหากินของชาวบ้านได้ดังนี้
- พ.ศ. 2523 : ในสมัยรัฐบาลพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้มีการออก ‘นโยบาย 66/2523’ เพื่อต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ โดยมีการอพยพชาวบ้านมูลหลง มูลสามง่าม บ้านคลองตาดา ออกจากพื้นที่เขตเขาสูง กว่า 150 ครอบครัว มาจัดตั้งเป็น “หมู่บ้านไทยสามัคคี” โดยจัดสรรคที่ดินให้ครอบครัวละ 10 ไร่
- พ.ศ. 2524: มีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ออกมา ซึ่งพื้นที่ของอุทยานฯทับลาน นั่นทับซ้อนกับพื้นที่ของชุมชนที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อปีที่แล้ว เกิดเป็นปมความขัดแย้งขึ้นมา
- พ.ศ. 2543: กรมป่าไม้ สปก. ได้เข้ามาจัดสรรคแบ่งพื้นที่ทำกินกับเขตป่าอุทยานฯ อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามไม่ได้ถูกพัฒนาต่อ
ด้วยความไม่ชัดเจนของพื้นที่นี้เอง ทำให้ชาวบ้านมีปัญหาเรื่องกรรมสิทธิที่ดิน ขาดหลายโอกาสในการลงทุน จึงเห็นด้วยหากมีการจัดสรรคพื้นที่อย่างชัดเจนอย่างในปี 2543
ฝั่งผู้ที่ไม่เห็นด้วย (#saveทับลาน)
อย่างไรก็ตามมีผู้ที่คัดค้านการปรับปรุงแนวกั้นเขตดังกล่าว เนื่องจากมีความต้องการที่จะอนุรักษ์พื้นป่าไว้ อีกทั้งยังเชื่อว่า การเฉือนพื้นที่อุทยานฯ เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่นายทุนมากกว่าสิ่งแวดล้อมและชาวบ้านในพื้นที่
โดยเฟซบุ๊กเพจมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้โพสต์สรุป 6 ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หากมีการเพิกถอนพื้นที่ อุทยานฯ ดังนี้
จึงทำให้คนในโซเชียลต่างพากันติด #saveทับลาน ร่วมถึงลงชื่อคัดค้านการเฉือนพื้นที่อุทยานฯทับลาน โดยบางส่วนของความคิดเห็น
- คัดค้าน ต้องรักษาป่าไว้ให้มากที่สุด เกิดวิกฤตสภาพดินฟ้าอากาศขนาดนี้แล้ว ต้องให้ธรรมชาติจัดการพวกที่โลภมากไม่มีความรับผิดชอบบ้าง
สำหรับประเด็นนี้ยังเป็นเรื่องราวที่ต้องติดตามกันต่อไปว่า จะมีทิศทางไปทางไหน และจะสามารถจัดการอย่างไรให้ส่งผลดีที่สุดต่อทุกฝ่าย