เนื้อหาในหมวด ข่าว

พนง.ออฟฟิศ ปวดไหล่มาครึ่งปี จู่ๆ ไข้สูงปรี๊ด และลดฮวบข้ามคืน หมอเตือนโรคนี้คนไม่ค่อยรู้!

พนง.ออฟฟิศ ปวดไหล่มาครึ่งปี จู่ๆ ไข้สูงปรี๊ด และลดฮวบข้ามคืน หมอเตือนโรคนี้คนไม่ค่อยรู้!

 พนง.ออฟฟิศวัย 50 ปวดไหล่มาครึ่งปี จู่ๆ ไข้สูงปรี๊ด และลดฮวบข้ามคืน หมอเตือนโรคนี้พบบ่อย แต่คนชอบเข้าใจผิดเป็นอีกโรค!

“คุณเฉิน” พนักงานออฟฟิศอายุ 50 ปี มีอาการเจ็บไหล่มาครึ่งปีแล้ว ยังคงไม่ดีขึ้นหลังจากฉีดยา รับยา และพักฟื้น คืนหนึ่งขณะที่กำลังนอนหลับ จู่ๆ ก็รู้สึกปวดไหล่จนทนไม่ไหวโดยไม่ทราบสาเหตุ แม้ว่าจะกินยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบแล้วก็ตาม สุดท้ายจึงต้องไปโรงพยาบาลเพื่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์

ผลการตรวจพบว่า มีอาการปวดไหล่ขวามาก ยกมือไม่ได้ อ่อนแรงมาก อีกทั้งยังมีไข้สูง 39 องศา ในขณะที่การตรวจเลือดพบว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวและดัชนีการอักเสบอยู่ในระดับสูง บ่งชี้ถึง “โรคข้ออักเสบติดเชื้อ” คุณเฉินต้องแอดมิทที่โรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ แต่น่าประหลาดใจที่ไข้สูงลดลงในวันรุ่งขึ้น  และไม่พบเชื้อแบคทีเรียใดๆ อย่างไรก็ตามอาการไม่สบายที่ไหล่ก็ยังคงไม่บรรเทาลง

ต่อมา คุณเฉินได้เปลี่ยนมารักษาที่คลินิกกระดูกและข้อ พบว่าสิ่งที่ทรมานอยู่นั้นไม่ใช่โรคข้ออักเสบติดเชื้อ แต่เป็น “โรคผลึกแคลเซียมในเอ็นหมุนข้อไหล่” ท้ายที่สุดเขาก็เข้ารับการการผ่าตัดส่องกล้องข้อ (Arthroscopic Surgery) และกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

โรคผลึกแคลเซียมในเอ็นหมุนข้อไหล่ หรือภาวะแคลเซียมเกาะเส้นเอ็น เป็นภาวะที่พบบ่อยแต่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก ซึ่งส่งผลต่อเส้นเอ็นของไหล่เป็นหลัก โดยเกิดจากการสะสมของผลึกแคลเซียมภายในเส้นเอ็น ทำให้เกิดการอักเสบและความเจ็บปวดในเส้นเอ็น  อาการหลักคือปวดไหล่ จะรู้สึกชัดเจนมากขึ้นเมื่อยกแขนขึ้น หรือทำกิจกรรมบางอย่าง

ระดับของความเจ็บปวดมีตั้งแต่ความรู้สึกไม่สบายเล็กน้อย ไปจนถึงความเจ็บปวดอย่างรุนแรง บริเวณที่ได้รับผลกระทบอาจมีอาการบวมและกดเจ็บ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและการทำงาน ในกรณีที่รุนแรง อาการปวดอาจแย่ลงในเวลากลางคืน และส่งผลต่อการนอนหลับอย่างแน่นอน

ดร.จาง ฟางหยวน แพทย์ประจำภาควิชากระดูกและข้อ วิทยาเขตหยางหมิง โรงพยาบาลเมืองไทเปยูไนเต็ด ชี้ให้เห็นว่าหากอาการปวดไหล่อาจคงอยู่เป็นเวลาหลายสัปดาห์ และเราควรไปตรวจที่คลินิกกระดูกและข้อเพื่อตรวจสอบภาวะแคลเซียมเกาะเส้นเอ็น ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการไข้ร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม อาการไข้นี้ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก ตามการวิจัยทางการแพทย์ พบเพียงประมาณ 5% ถึง 10% เท่านั้น

สำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคผลึกแคลเซียมในเอ็นหมุนข้อไหล่ หรือภาวะแคลเซียมเกาะเส้นเอ็น การรักษาเช่น การพักผ่อน การฟื้นฟูสมรรถภาพ การใช้ยาต้านการอักเสบและยาแก้ปวด สามารถบรรเทาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม เมื่อการรักษาโดยไม่ผ่าตัดล้มเหลว และอาการยังคงอยู่หรือแย่ลง ทำให้เกิดอาการอ่อนแรง และตึงบริเวณไหล่ อาจจำเป็นต้องผ่าตัด