เนื้อหาในหมวด ข่าว

รู้ตัวหรือยัง? เตือนคน 6 กลุ่ม ควรหลีกเลี่ยง \

รู้ตัวหรือยัง? เตือนคน 6 กลุ่ม ควรหลีกเลี่ยง "กินหมู" ทุกคนกินอร่อย แต่ตัวเองเสี่ยงอันตราย

เตือนคน 6 กลุ่ม ควรหลีกเลี่ยง "กินหมู" ไม่ใช่แค่โรคอ้วน-ความดัน-ไขมัน เช็กตัวเองด้วย อยู่ในกลุ่มต้องระวังหรือเปล่า? 

"เนื้อหมู" เป็นวัตถุดิบอาหารยอดนิยมในมื้ออาหารประจำวัน อุดมไปด้วยสารอาหารและแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง หากรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ สามารถเป็นส่วนเสริมที่ดีให้กับอาหารเพื่อสุขภาพได้ แต่ในขณะเดียวกันยังมีโซเดียมและไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งเป็นองค์ประกอบสองประการที่ควรหลีกเลี่ยงในอาหารเพื่อสุขภาพ และคนบางกลุ่มจำเป็นต้องจำกัดการกินเนื้อหมูหากไม่อยากให้โรคประจำตัวแย่ลง

ผู้ที่เป็นโรคเกาต์

โรคเกาต์ เป็นรูปแบบหนึ่งของโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการสะสมของกรดยูริกในเลือด กรดยูริกเกิดขึ้นเมื่อร่างกายสลายพิวรีน ซึ่งเป็นสารที่พบในอาหารหลายชนิด รวมทั้งเนื้อหมู โดยเฉพาะเครื่องในที่มีพิวรีนอยู่ในระดับสูง เมื่อรับประทานจำนวนมาก ปริมาณกรดยูริกในเลือดจะเพิ่มขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเกาต์กำเริบ ทำให้เกิดอาการปวดและบวมตามข้อ

ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง

โรคไขมัน คือความผิดปกติของการเผาผลาญไขมันในเลือด ทำให้คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มขึ้น เนื้อหมูโดยเฉพาะส่วนที่เป็นไขมัน มีคอเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวเป็นจำนวนมาก หากบริโภคมากเกินไปอาจเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในเลือด ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้น ควรจำกัดการกินเนื้อหมูที่มีไขมัน แต่ควรเลือกเนื้อไม่ติดมันและเตรียมโดยการต้ม นึ่ง แทนการทอด ที่สำคัญคือควรเพิ่มปริมาณปลา ผัก และถั่วที่มีไขมันไม่อิ่มตัว

ผู้ที่เป็นโรคนิ่วในไต

นิ่วในไต เกิดขึ้นเมื่อแร่ธาตุในปัสสาวะตกผลึก เนื้อหมูมีโปรตีนจำนวนมาก เมื่อบริโภคมากเกินไปจะสามารถเพิ่มปริมาณออกซาเลตในปัสสาวะ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของนิ่วในไต ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคนิ่วในไตควรจำกัดการกินเนื้อหมู โดยเฉพาะเครื่องใน ในขณะเดียวกันก็ควรดื่มน้ำมากๆ และรับประทานผักและผลไม้สีเขียวเยอะๆ เพื่อช่วยป้องกันนิ่วในไต

ผู้ที่มีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วน

เนื้อหมูโดยเฉพาะส่วนที่เป็นไขมันมีแคลอรี่และไขมันสูง การรับประทานมากเกินไปอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น เกิดโรคอ้วน และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้น คนที่มีน้ำหนักเกินควรเลือกเนื้อไม่ติดมัน และเตรียมด้วยวิธีที่ดีต่อสุขภาพ เช่น การต้ม หรือนึ่ง ควรควบคู่กับการรับประทานอาหารตามหลักวิทยาศาสตร์ และการออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อควบคุมน้ำหนัก

ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง การบริโภคเนื้อหมูในส่วนที่มีไขมันอิ่มตัวมากเกินไป อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ เพื่อปกป้องสุขภาพผู้ป่วยควรจำกัดการกินเนื้อแดง โดยเฉพาะส่วนที่เป็นไขมัน และรับประทานเนื้อขาว เช่น ไก่ และปลาที่ไม่มีหนังแทน

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

เนื่องจากเนื้อหมูมีโปรตีนสูง คนเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่ควรรับประทานเกิน 50-70 กรัม/มื้อ เพราะการดูดซึมสารมากเกินไปจะทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจที่เป็นอันตรายมากมาย เช่น หลอดเลือดแดงแข็ง กล้ามเนื้อหัวใจตาย และโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ การรักษาสมดุลอาหารที่อุดมไปด้วยผัก ผลไม้ และธัญพืชก็มีความสำคัญเช่นกัน

\

"น้องแอลลี่" ลูกสาวอ่ำ อัมรินทร์ นั่งกินหมูกระทะ อึ้ง! สวยมากนางฟ้าชัดๆ

เปิดภาพ "แอลลี่ นิติพน" ลูกสาวอ่ำ อัมรินทร์ นั่งกินหมูกระทะ อึ้ง! ขนาดแต่งตัวเบาๆ แต่ยังสวยมาก นางฟ้าชัดๆ

\

"ใหม่-เต๋อ" เปิดภาพวันชิลๆ ควงแขนกินหมูกระทะ เดินสวนจตุจักร เรียบง่ายแต่น่ารักจัง

ใหม่-เต๋อ กับวันหยุดสุดชิล ควงแขนกินหมูกระทะ เดินเล่นสวนจตุจักร เรียบง่ายแต่น่ารักมาก

\

"ใบเฟิร์น" โชว์กินหมูกระทะกับวิวหลักล้าน แต่หลุดโฟกัสเพราะหนุ่มในกระจก

ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก สุดแฮปปี้โชว์กินหมูกระบะกับวิวร้อยล้าน แต่ช็อตเดียวทำหลุดโฟกัสไปหมดเพราะเงาในกระจก