เตือนแล้วนะ! 5 ของใช้ในบ้าน "แหล่งเก็บฟอร์มาลดีไฮด์" สารก่อมะเร็ง ไม่ใช่แค่ตู้-เตียง
เตือน 5 ของใช้ในบ้าน ที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง เพราะเป็น "แหล่งเก็บฟอร์มาลดีไฮด์" ได้ง่าย แนะรีบกำจัดทิ้งเป็นดีที่สุด
สำนักงานวิจัยโรคมะเร็งระหว่างประเทศ (IARC) ได้จัดให้ "ฟอร์มาลดีไฮด์" เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์เมื่อสัมผัสสารในระยะยาว สารนี้มีไม่มีสี มีกลิ่นฉุน และละลายได้ในน้ำ มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม โดยทั่วไปมักพบในกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ไม้ พลาสติก และวัสดุสังเคราะห์
เว็บไซต์ SOHA เตือนสิ่งของ 5 รายการที่ใช้กันแทบทุกครัวเรือน ซึ่งถือเป็น "แหล่งสะสมฟอร์มาลดีไฮด์" เนื่องจากอาจมีระดับฟอร์มาลดีไฮด์เกินมาตรฐาน จึงอาจเสี่ยงต่อสุขภาพของคนทั้งครอบครัวได้ ดังนั้น แนะนำให้ตรวจสอบอย่างเพื่อดูว่ามีการใช้สิ่งของเหล่านี้ในบ้านของคุณหรือไม่
1.หัวเตียง
เวลาซื้อเลือกเตียงหลายๆ คนชอบใช้หัวเตียงที่มีดีไซน์ทั้งหนาและนุ่ม แม้ว่ามันจะสวยงามและค่อนข้างสะดวก แต่อาจได้รับฟอร์มาลดีไฮด์จำนวนมากเข้ามาในห้องนอนโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากผู้ใช้มักจะตรวจสอบวัสดุภายในผลิตภัณฑ์ได้ยาก ในขณะที่ผู้ผลิตที่ "ไร้หลักจริยธรรม" บางราย เลือกใช้ผ้าฝ้ายแกนคุณภาพต่ำที่ทำจากเส้นใยเทียมหรือวัสดุสังเคราะห์ ซึ่งสารเหล่านี้มีฟอร์มาลดีไฮด์จำนวนมาก และเมื่อถูกนำมาวางไว้ในห้องนอนจึงสัมผัสกับร่างกายของเราทุกวัน ยิ่งใช้มันนานเท่าไรก็ยิ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากขึ้นเท่านั้น
2.เฟอร์นิเจอร์ไม้
หลายคนมักให้ความสำคัญกับสไตล์และขนาดในการซื้อเฟอร์นิเจอร์ แต่ความจริงแล้ววัสดุก็ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรใส่ใจและเลือกอย่างระมัดระวัง เช่น ตู้ ชั้นวาง โต๊ะ เก้าอี้ ที่ทำจากไม้อัด เพราะอาจกลายสามารถเป็น "ราชาแห่งฟอร์มาลดีไฮด์" ข้อได้เปรียบที่ใหญ่ที่สุดของไม้อัดคือง่ายต่อการแปรรูปและราคาถูก อย่างไรก็ตามในกระบวนการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ หากไม้อัดมีกาวจำนวนมาก ปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน หนึ่งในวิธีพิจารณาคือหากไม้มีกลิ่นฉุนมาก อาจบ่งบอกว่ามีฟอร์มาลดีไฮด์อยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อหลีกเลี่ยงการซื้อผลิตภัณฑ์คุณภาพต่ำและไม่ปลอดภัยโดยไม่ตั้งใจ
3. วอลล์เปเปอร์
ในขั้นตอนการตกแต่งบ้าน หลายคนมักจะใช้วอลเปเปอร์เพื่อทำให้พื้นที่อยู่อาศัยดูสวยงามและสะดุดตามากขึ้น แต่หากอยากให้แน่ใจว่าดีต่อสุขภาพและปกป้องสิ่งแวดล้อม อาจต้องพิจารณาขั้นตอนนี้ใหม่สักหน่อย เพราะวอลเปเปอร์มักจะมีฟอร์มาลดีไฮด์อยู่จำนวนหนึ่ง นอกจากนี้กาวที่ใช้สร้างการยึดเกาะยังมีสารฟอร์มาลดีไฮด์จำนวนมากอีกด้วย ไม่ต้องพูดถึงกรณีที่ซื้อผลิตภัณฑ์ "ไม่ได้มาตรฐาน" ซึ่งใช้สารแต่งสีเพิ่มเติม แน่นอนว่าปริมาณสารเคมีที่เป็นพิษจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นแทนที่จะเสียเงินซื้อวอลเปเปอร์ อาจเลือกใช้สีทาผนังตกแต่งพื้นที่ให้สวยงามแทนได้
4. ผ้า
ผ้าบางชนิดที่ใช้นำมาทำเป็นผ้าม่าน ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน... อาจมีสารฟอร์มาลดีไฮด์เกินมาตรฐาน เพราะฟอร์มาลดีไฮด์มักปรากฏในสารเติมแต่ง เช่น น้ำยาปรับผ้านุ่ม หรือสารที่ทำให้ผ้าเรียบ แม้ว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงฟอร์มาลดีไฮด์ในผลิตภัณฑ์ผ้าได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องควบคุมปริมาณของมัน ดังนั้น ในการเลือกซื้อผ้าม่านหรือผ้าปูที่นอน ก็ไม่ควรเลือกของที่มีราคาถูกจนเกินไป และต้องตรวจสอบส่วนผสมของสินค้าให้ถี่ถ้วนด้วย
5. พรม
หลายคนชอบปูพรมในห้องนั่งเล่นหรือห้องนอน เพื่อทำให้บรรยากาศในบ้านดูสวยงามและสบายตามากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากไม่ระวังก็มักจะซื้อ "พรมพิษ" มาแบบผิดๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ ตัวอย่างเช่น พรมเทียมที่ทำจากวัสดุ TPE (Thermoplastic Elastomer) แม้จะเดิมทีอาจจะไม่ได้เป็นสารพิษ แต่ในระหว่างการผลิตพรมประเภทนี้ สารเคมี เช่น กาว สารเติมแต่ง หรือเรซินสังเคราะห์ อาจมีฟอร์มัลดีไฮด์ในระดับที่น่าตกใจ ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการเลือกซื้อพรมให้ครอบครัวเป็นอย่างมาก