เนื้อหาในหมวด ข่าว

ป.ป.ช. เปิดคะแนน \

ป.ป.ช. เปิดคะแนน "ดัชนีการรับรู้การทุจริต" ของไทย รั้งอันดับ 107 ของโลก คะแนนต่ำสุดในรอบ 12 ปี

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบกรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยผลการสำรวจ “ดัชนีการรับรู้การทุจริต” (Corruption Perceptions Index หรือ CPI) ประจำปี 2567 โดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) ระบุว่า ประเทศไทยรั้งอันดับ 107 ของโลก อันดับ 5 ของอาเซียน ด้วยคะแนน 34 จาก 100 คะแนน ซึ่งถือเป็นคะแนนที่ต่ำที่สุดในรอบ 12 ปีที่ประเทศไทยเคยได้รับ 

ผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริตทำการประเมินจากข้อมูล 9 แหล่ง ได้แก่ 

  • การติดสินบนและการทุจริตมีอยู่หรือไม่ และมากน้อยเพียงใด (ไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้น จาก 33 > 34) 
  • มีอำนาจหรือตำแหน่งทางการเมือง มีการทุจริตโดยใช้ระบบอุปถัมภ์ และระบบเครือญาติ และภาคการเมืองกับภาคธุรกิจ มีความสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด (ไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้น จาก 32 > 33) 
  • การทุจริตในภาครัฐ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และตุลาการเกี่ยวกับสินบน การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับส่วนรวมมากน้อยเพียงใด (ไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้น จาก 26 > 29) 
  • ระดับการรับรู้ว่าการทุจริตเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสถานบันทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมากน้อยเพียงใด (ไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้น จาก 37 > 41) 
  • เจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางมิชอบมากน้อยเพียงใด (ไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้น 33 > 34) 
  • การติดสินบนและการทุจริตมีอยู๋หรือไม่ และมากน้อยเพียงใด (ไทยได้คะแนนลดลง 43 > 36)
  • ภาคธุรกิจต้องจ่ายเงินสินบนในกระบวนการต่างๆ มากน้อยเพียงใด (ไทยได้คะแนนลดลง 36 > 34)
  • ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ​ (ไทยได้คะแนนลดลง 37 > 35)
  • การดำเนินการทางธุรกิจ ต้องเกี่ยวข้องกับการทุจริตมากน้อยเพียงใด (ไทยได้คะแนนลดลง 35 > 32)

การสำรวจประจำปี 2567 จากจำนวน 180 ประเทศทั่วโลก พบว่าประเทศเดนมาร์กรั้งอันดับที่ 1 ของโลก ด้วยคะแนน 90 คะแนน รองลงมาคือประเทศฟินแลนด์ ได้ 88 คะแนน และประเทศสิงคโปร์ได้อันดับที่ 3 ด้วยคะแนน 84 คะแนน 

ดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) เป็นดัชนีที่สะท้อนภาพลักษณ์การทุจริตของประเทศต่างๆ ทั่วโลก มีความสำคัญต่อนักลงทุนหรือนักธุรกิจในการประเมินความเสี่ยงหรือใช้ประกอบการตัดสินใจในการเข้ามาลงทุนในแต่ละประเทศ