.jpg)
กรมลดโลกร้อน เผยไทยหลุดอันดับ "ประเทศเสี่ยงสูงสภาพภูมิอากาศ" จากที่ 9 เป็น 30
กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยรายงาน Climate Risk Index 2025 (CRI หรือดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ) โดย Germanwatch จัดอันดับประเทศเสี่ยงสูงด้านสภาพภูมิอากาศระยะยาวในช่วง 30 ปี (1993 - 2022) ซึ่งประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 30 ลดลงจากอันดับ 9 เมื่อเทียบกับ 4 ปีที่แล้ว (2000 - 2019) แต่ยังต้องเตรียมพร้อมตั้งรับและปรับตัวกับสภาพอากาศที่แปรปรวนภายใต้ภาวะโลกเดือดอย่างต่อเนื่อง
ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า “แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ติดอันดับต้นๆ ของประเทศที่มีความเสี่ยงสูงแล้ว แต่ประเทศไทยจะยังคงเผชิญกับผลกระทบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น อุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงฤดูร้อน ภัยแล้ง ปริมาณฝนที่ตกหนักผิดปกติ จนส่งผลให้เกิดน้ำท่วม ดินถล่ม เป็นต้น”
“สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมความพร้อมรับมือและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพระบบเตือนภัยล่วงหน้า ให้มีความแม่นยำ การสื่อสารที่เข้าถึงประชาชนอย่างทันท่วงที การพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยลดอุณหภูมิโลก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยและคนไทยมีภูมิคุ้มกันต่อภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ท่ามกลางภัยพิบัติที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต”
จากรายงาน Climate Risk Index 2025 ระบุว่าในช่วงปี 1993 - 2019 ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 765,000 คน และสร้างความเสียหายเกือบ 4.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วมากกว่า 9,400 ครั้ง ซึ่งผลกระทบที่สำคัญที่สุดจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วและเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต ได้แก่
- พายุ 35%
- คลื่นความร้อน 30%
- อุทกภัย 27%
ดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศจัดทำขึ้นโดยใช้ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลเหตุการณ์ภัยพิบัติระดับสากล (EM-DAT) ธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดหลัก ได้แก่ จำนวนผู้เสียชีวิต จำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบ และความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว เช่น พายุ น้ำท่วม คลื่นความร้อน ภัยแล้ง ไฟป่า ทั้งนี้ วิธีการนี้จะสามารถเปรียบเทียบผลกระทบของภัยพิบัติในประเทศต่างๆ พร้อมทั้งสะท้อนแนวโน้มของความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในแต่ละปี และแนวโน้มระยะยาว 30 ปี
ทั้งนี้ รายงานฉบับนี้ยังระบุ 10 อันดับประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง ในปี 2022 ดังต่อไปนี้