.jpg)
สื่อนอก เปิด 5 อันดับอาชีพ เหมาะกับชาว Introvert เจอคนน้อย แต่เงินเดือนหลักแสน
สื่อนอก เผย 5 อันดับอาชีพ เหมาะกับชาว Introvert ความเป็นอิสระในการทำงาน เจอคนน้อย แถมทุกงานรายได้หลักแสนต่อเดือน
ซูซาน เคน นักเขียนหนังสือขายดีและหนึ่งในวิทยากร TED ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เคยกล่าวกับ CNBC Make It ว่า คนที่มีลักษณะเป็นคนเก็บตัว (Introvert) มักจะรอบคอบในการตัดสินใจ มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถแก้ปัญหาได้ดี
เมื่อพิจารณาจากทักษะเหล่านี้ ร่วมกับลักษณะนิสัยอื่นๆ เช่น ชอบคิดทบทวนและเพลิดเพลินกับการอยู่คนเดียว จึงมีบางอาชีพที่เหมาะกับคนเก็บตัวมากกว่าอาชีพอื่น
เว็บไซต์ Resume Genius ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้หางาน ได้รวบรวมรายชื่ออาชีพที่เหมาะกับคนเก็บตัว โดยอ้างอิงจากข้อมูลของหน่วยงานสถิติแรงงานสหรัฐฯ (BLS) และเว็บไซต์ Glassdoor โดยพิจารณาจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ “ความเป็นอิสระในการทำงาน ซึ่งควรมีสูง และการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งควรมีน้อย” ตามคำกล่าวของ นาธาน โซโต ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีพของ Resume Genius จากนั้นจึงจัดอันดับตามรายได้
ต่อไปนี้คือ 5 อันดับอาชีพที่เหมาะสำหรับคน Introvert มากที่สุด ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ให้ความสำคัญกับการทำงานอย่างอิสระ
5 อันดับอาชีพที่เหมาะกับคน Introvert
รายได้: 239,200 ดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 8.2 ล้านบาท)
อุตสาหกรรม: การแพทย์
รายได้: 157,740 ดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 5.4 ล้านบาท)
อุตสาหกรรม: การวิจัย
รายได้: 149,530 ดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 5.1 ล้านบาท)
อุตสาหกรรม: วิทยาศาสตร์
รายได้: 145,080 ดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 5 ล้านบาท)
อุตสาหกรรม: เทคโนโลยี
รายได้: 138,080 ดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 4.7 ล้านบาท)
อุตสาหกรรม: เทคโนโลยี
สำหรับหลายอาชีพในรายชื่อ โดยเฉพาะในสายเทคโนโลยี “เรากำลังพูดถึงงานที่ต้องใช้เวลาอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่” โซโตกล่าว “แม้อาจมีการทำงานร่วมกับทีม แต่การสื่อสารมักไม่ได้เป็นแบบพบหน้ากันโดยตรง”
หลายอาชีพในรายชื่อฉบับเต็มของ Resume Genius ยังสามารถทำงานจากที่บ้านได้ทั้งหมด เช่น นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งอยู่อันดับที่ 6 มีรายได้เฉลี่ย 130,160 ดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 4.4 ล้านบาท) และนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (actuary) ซึ่งอยู่อันดับที่ 8 มีรายได้เฉลี่ย 120,000 ดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 4.1 ล้านบาท)
แม้แต่งานที่ต้องทำในสถานที่จริงอย่างรังสีแพทย์ ก็ยังมีลักษณะการทำงานที่ค่อนข้างอิสระ “เช่น การวิเคราะห์ภาพถ่ายทางการแพทย์ด้วยตัวเอง และมีการสื่อสารกับผู้ป่วยหรือแพทย์เพียงเล็กน้อย” เขาเสริม