เนื้อหาในหมวด ข่าว

นักจิตวิทยา เตือนพ่อแม่ “เด็กมีปัญหา” จะส่ง 5 สัญญาณทุกข์ ต้องรู้ให้ทันก่อน “หมดหวัง”

นักจิตวิทยา เตือนพ่อแม่ “เด็กมีปัญหา” จะส่ง 5 สัญญาณทุกข์ ต้องรู้ให้ทันก่อน “หมดหวัง”

พ่อแม่ควรรู้ให้ทัน นักจิตวิทยาเผย เด็กที่กำลัง “มีปัญหา” มักจะส่งสัญญาณความทุกข์ 5 ประการ ก่อนที่จะหมดหวัง

เด็กที่ “มีปัญหา” อาจแค่กำลังส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ แต่พ่อแม่กลับมองข้าม ผู้เชี่ยวชาญเตือน พฤติกรรมไม่เหมาะสมของเด็กอาจเป็นเพียงสัญญาณเรียกร้องความสนใจก่อนที่พวกเขาจะสิ้นหวัง

ในขณะที่เด็กบางคนเติบโตขึ้นมาท่ามกลางความรัก ความเข้าใจ และการยอมรับจากครอบครัว ส่งผลให้พวกเขามีจิตใจที่มั่นคง เปิดเผย และพร้อมปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างดี เด็กบางคนกลับไม่ได้รับสิ่งเหล่านี้เลย

เด็กที่ขาดความรักและการยอมรับ มักมีความรู้สึกว่างเปล่าในใจ และพวกเขาต้องการ “ที่พักใจ” เมื่อเผชิญกับความกลัวความกังวล หรือความสับสน แต่เมื่อพ่อแม่ไม่สามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยนี้ให้ได้ เด็กจึงเริ่มแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเพื่อดึงดูดความสนใจ

จาก “ขอความรัก” สู่ “เด็กมีปัญหา”

พฤติกรรมที่ดู “น่ารำคาญ” หรือ “ไม่เหมาะสม” ของเด็กหลายคน อาจไม่ใช่เพียงการดื้อรั้น หากแต่เป็นเสียงร้องขอความสนใจที่ผู้ใหญ่ไม่เคยได้ยิน

“อัลเฟรด แอดเลอร์” นักจิตวิทยาชาวออสเตรีย อธิบายว่า เมื่อเด็กไม่ได้รับการยอมรับ พวกเขาจะพยายามดึงดูดความสนใจผ่านวิธีอื่นๆ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

แอดเลอร์ได้แบ่งพฤติกรรมของเด็กที่เกิดจากการไม่ได้รับความสนใจออกเป็น 5 ขั้นตอนสำคัญ ซึ่งหากพ่อแม่เข้าใจและสามารถแยกแยะได้ ก็มีโอกาสในการแก้ไขพฤติกรรมก่อนที่ปัญหาจะลุกลาม

5 สัญญาณขอความช่วยเหลือจากเด็ก ก่อนกลายเป็น "เด็กมีปัญหา"

  • โหยหาการยอมรับ เด็กพยายามทำดีเพื่อให้ได้รับคำชม หรือการยอมรับจากคนรอบข้าง แต่หากความพยายามนั้นถูกมองข้าม เด็กอาจรู้สึกว่าความดีไม่ใช่ทางที่ทำให้ได้รับความรัก และเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป
  • เรียกร้องความสนใจ เมื่อไม่ได้รับการยอมรับ เด็กจะเริ่มหาวิธีใหม่เพื่อให้พ่อแม่สนใจ แม้จะเป็นการทำพฤติกรรมที่น่ารำคาญ เช่น แกล้งทำเสียงดัง หรือก่อกวนขณะผู้ใหญ่ทำงาน  เพราะหากได้รับความสนใจแม้ในรูปแบบการดุว่า ก็ยังดีกว่าถูกเมินเฉย
  • ต้องการควบคุม หากความพยายามก่อนหน้าไม่ได้ผล เด็กจะเริ่มเชื่อว่า “แค่ฉันควบคุมพ่อแม่ได้ ฉันจึงมีคุณค่า” และเริ่มมีพฤติกรรมแข็งขืนท้าทาย และไม่ยอมทำตามคำสั่ง พฤติกรรมนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อทำร้ายพ่อแม่ แต่เพื่อยืนยันการมีตัวตนของตนเอง
  • การตอบโต้ด้วยความเจ็บปวด หากเด็กยังรู้สึกว่าไม่ได้รับการยอมรับหรือความรัก  พวกเขาอาจเริ่ม "แก้แค้น" ด้วยพฤติกรรมที่ทำร้ายจิตใจพ่อแม่ เช่นขว้างปาสิ่งของ วาดเขียนบนผนัง หรือแกล้งไม่ไปโรงเรียน เพื่อทำให้พ่อแม่รู้สึกทุกข์ใจ เหมือนที่พวกเขารู้สึก
  • ยอมแพ้และหมดหวัง เมื่อไม่มีวิธีใดที่ทำให้รู้สึกได้รับความรักหรือยอมรับ  เด็กอาจเลือกที่จะ “ถอยออกมา” และบอกตัวเองว่า “ฉันทำไม่ได้” หรือ“อย่าคาดหวังอะไรจากฉันเลย” ซึ่งเป็นสัญญาณของความสิ้นหวังอย่างแท้จริง
  • หนทางแก้ไข ควรเริ่มจากความเข้าใจ

    การเข้าใจว่าเบื้องหลังพฤติกรรมแต่ละอย่างของเด็กมีจุดประสงค์ที่ลึกซึ้ง จะช่วยให้พ่อแม่ไม่เพียงแต่ “แก้ไขพฤติกรรม” ที่น่าเป็นกังวลของเด็กๆ แต่ยังสามารถ “ฟื้นฟูจิตใจ” ของลูกตนเองได้ด้วย

    “ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง” คือแรงขับสำคัญของพฤติกรรมมนุษย์ เด็กก็เช่นกัน พวกเขาเพียงต้องการรู้สึกว่า ตนเองมีคุณค่าในครอบครัว และได้รับการยอมรับในแบบที่เป็น ไม่ใช่ในแบบที่พ่อแม่คาดหวัง

    ในท้ายที่สุด เด็กไม่ได้ต้องการอะไรมากมาย พวกเขาแค่ต้องการให้พ่อแม่มองเห็น “ตัวตนที่แท้จริง” และเชื่อมั่นในศักยภาพที่เขามี เท่านั้นเอง 

    “สวัสดิการเด็กเล็ก” ปัญหาของมนุษย์ตัวจิ๋วที่ผู้ใหญ่มองข้าม

    “สวัสดิการเด็กเล็ก” ปัญหาของมนุษย์ตัวจิ๋วที่ผู้ใหญ่มองข้าม

    จากกรณี "หมอชลน่าน ศรีแก้ว" Sanook ชวนดูนโยบาย "เงินอุดหนุนเด็กเล็ก" 0-6 ปี ที่ถูกมองว่าไม่เป็นธรรม และทำให้คนรุ่นใหม่ไม่อยากมีลูก