เนื้อหาในหมวด ข่าว

ครูอ่านไปลุ้นไป ป.3 เรียงความเรื่อง \

ครูอ่านไปลุ้นไป ป.3 เรียงความเรื่อง "คนรักของพ่อ" ไม่ใช่แม่แล้วคือใคร เฉลยบรรทัดสุดท้าย!

เรียงความเด็ก ป.3 ที่ชวนหัวเราะและสะท้อนสังคม "คนรักของพ่อ" ไม่ใช่แม่แล้วคือใคร เฉลยในบรรทัดสุดท้าย หัวเราะกันทั้งห้อง

เหตุการณ์ชวนหัวเราะแต่ก็แฝงข้อคิดนี้กำลังถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์ เมื่อครูประถมคนหนึ่งผลงานบทเรียงความสุดพีค จากนักเรียนชั้น ป.3 ที่ใช้หัวข้อว่า "คนรักของพ่อ" เป็นชื่อเรื่องงานเขียนของตนเอง

แรกเริ่มนั้น คำสั่งของแบบฝึกหัดคือให้เด็กนักเรียนเขียนเกี่ยวกับ "คนที่ตนรักมากที่สุด" ซึ่งเป็นหัวข้อธรรมดาที่ไม่น่าจะมีอะไรน่าตกใจ คุณครูค่อยๆ หยิบเรียงความมาอ่านทีละแผ่น กระทั่งถึงผลงานของเด็กชายคนนี้ และพบว่าชื่อเรื่องคือ “คนรักของพ่อ”  ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจได้ตั้งแต่วินาทีแรก

เพียงแค่อ่านชื่อเรื่อง ครูก็รู้สึกสะดุดและกังวล เพราะคำว่า “คนรัก” ในบริบทผู้ใหญ่ มักเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์เชิงชู้สาวซึ่งไม่คาดคิดว่าจะปรากฏในงานเขียนของเด็กประถม แต่ด้วยความเป็นมืออาชีพ คุณครูตัดสินใจอ่านต่ออย่างใจเย็น

เนื้อหาในเรียงความเขียนว่า “พ่อของผมเป็นคนที่วิเศษมาก พ่อรักแม่ ดูแลผมเป็นอย่างดี แต่ยังมีคนอีกคนหนึ่งที่พ่อรักมากกว่านั้น นั่นคือคนรักของพ่อ” ประโยคนี้ทำเอาคุณครูถึงกับชะงัก และยิ่งอ่านต่อก็ยิ่งรู้สึกอึดอัดและกระอักกระอ่วนแทน

“พ่อชอบนั่งอยู่กับคนรักของพ่อมาก ทุกคืนพ่อจะใช้เวลากับเขา แม้แม่จะพูดอะไรก็ไม่สนใจ พ่อแค่ยิ้มและมองเขาด้วยสายตารักใคร่”  ความไร้เดียงสาของเด็กน้อยทำให้ถ้อยคำในเรียงความดูเหมือนไม่มีเจตนาร้านใดๆ แต่ความหมายกลับชวนให้เข้าใจผิดไปไกล คุณครูเริ่มลังเลว่าจะควรอ่านต่อดีหรือไม่ เพราะกลัวว่านี่อาจเกี่ยวกับปัญหาครอบครัวที่ละเอียดอ่อน

แต่แล้วเมื่อเธออ่านมาถึงประโยคสุดท้าย ทุกความสงสัยก็คลี่คลาย “คนรักของพ่อ ก็คือเครื่องเล่นเกมของพ่อครับ” เพียงเท่านั้นเสียงหัวเราะก็ดังขึ้นในห้องเรียน ความกระอักกระอ่วนก็เปลี่ยนเป็นความโล่งใจ เด็กชายแค่ต้องการเล่าเรื่องคุณพ่อที่ติดเครื่องเล่นเกมอย่างหนัก และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับมัน มากเสียจนเด็กน้อยรู้สึกว่าเครื่องเกมคือ "คนที่พ่อรักที่สุด"

หลังเหตุการณ์นี้ ครูได้พูดคุยกับเด็กชายอย่างนุ่มนวลว่า “หนูอยากเล่นกับพ่อใช่ไหม?” เด็กตอบสั้น ๆ แต่กินใจว่า “หนูอยากเล่นกับพ่อ แต่พ่อมัวแต่เล่นเกม เลยไม่ค่อยมีเวลาเล่นกับหนู”

เรื่องราวชวนอมยิ้มนี้ กลายเป็นกระแสในโลกโซเชียล หลายคนแชร์และแสดงความคิดเห็นว่า แม้จะเป็นเรื่องตลกแต่ก็สะท้อนปัญหาแท้จริงในหลายครอบครัวยุคดิจิทัล  “น่ารักมาก แต่ก็ชวนคิดนะ เด็กเขารู้สึกว่าพ่อให้ความสำคัญกับเกมมากกว่าครอบครัว”  , “เด็กพูดความจริงเสมอ ผู้ใหญ่ควรรับฟังให้มากขึ้น”

คุณครูเองก็ปิดท้ายเรื่องนี้ด้วยความเข้าใจ เธอให้คะแนนเต็มพร้อมคำชมว่า  “เป็นเรียงความที่สร้างสรรค์มาก! แต่อย่าลืมบอกพ่อให้แบ่งเวลาให้ครอบครัวบ้างนะจ๊ะ” เพราะเรื่องนี้ไม่เพียงเรียกรอยยิ้ม แต่ยังเตือนใจผู้ใหญ่ให้รู้จักสมดุลระหว่างเทคโนโลยีกับเวลาให้ครอบครัวอย่างแยบยลผ่านสายตาใสซื่อของเด็กคนหนึ่ง