
นักโภชนาการเตือน ไม่ควรใช้ "ฟอยล์" ห่ออาหาร 3 ชนิดนี้ เสียรสชาติแถมเสี่ยงตาย
นักโภชนาการเตือน ไม่ควรใช้ "ฟอยล์" ห่ออาหาร 3 ชนิดนี้ เสียรสชาติแถมอันตราย เสี่ยงต่อการสะสมโลหะหนักในร่างกาย
ฟอยล์อลูมิเนียมเป็นวัสดุที่คุ้นเคยในห้องครัวสมัยใหม่ ด้วยคุณสมบัติทนความร้อนดี ขึ้นรูปง่าย และเก็บความร้อนได้ดี จึงถูกใช้กันแพร่หลายทั้งในงานอบ ห่อ หรือเก็บอาหาร แต่ไม่ใช่อาหารทุกชนิดจะ “เข้ากันได้กับฟอยล์” การใช้งานผิดวิธีอาจไม่เพียงทำให้รสชาติอาหารเสีย แต่ยังเสี่ยงก่อให้เกิดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
3 ประเภทอาหารที่ไม่ควรห่อด้วยฟอยล์
อาจารย์ ไฉ่ เจิ้งเหลียง (蔡正良) นักโภชนาการจากสมาคมโภชนาการไต้หวัน เตือนว่า แม้ฟอยล์อลูมิเนียมจะใช้งานสะดวก แต่เมื่อเจอกับวัตถุดิบบางชนิด อาจเกิดปฏิกิริยาเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะกับอาหาร 3 ประเภทต่อไปนี้ ซึ่งไม่ควรห่อด้วยฟอยล์ ไม่ว่าจะตอนปรุงหรือแค่เก็บรักษา
1. น้ำส้มสายชู และมะนาว
อาหารที่มีความเป็นกรดสูง เช่น น้ำส้มสายชูและมะนาว สามารถทำปฏิกิริยากับอะลูมิเนียมในฟอยล์ได้ง่าย เมื่อนำไปปรุงด้วยความร้อน ความเป็นกรดจะกัดกร่อนฟอยล์ ปล่อยไอออนอะลูมิเนียมละลายเข้าไปในอาหาร ซึ่งไม่เพียงทำให้รสชาติเปลี่ยนไป แต่ยังเสี่ยงต่อการสะสมโลหะหนักในร่างกาย
หากสะสมในระยะยาว อะลูมิเนียมอาจทำลายตับ ไต และระบบประสาท มีงานวิจัยบางชิ้นเชื่อมโยงการสะสมอะลูมิเนียมกับโรคอัลไซเมอร์ ซึมเศร้า และหอบหืด ดังนั้น ไม่ควรใช้ฟอยล์ห่ออาหารที่มีน้ำส้มสายชูหรือมะนาว
2. มะเขือเทศ
เช่นเดียวกับน้ำส้มสายชูและมะนาว มะเขือเทศมีกรดซิตริกและกรดมาลิกในปริมาณมาก หากนำไปห่อฟอยล์และอบหรือย่าง อะลูมิเนียมจะละลายเข้าสู่อาหาร ทำให้มีรสแปลก และอาจปนเปื้อนสารพิษโดยที่คุณไม่รู้ตัว
แม้เพียงแค่ใช้ฟอยล์ห่อเก็บในตู้เย็น ก็ไม่เหมาะ เพราะกรดในมะเขือเทศอาจทำให้อาหารเปลี่ยนสี ขึ้นรา หรือเกิดการหมักบูดได้เร็วขึ้น
3. ซอสและเครื่องปรุงที่มีแอลกอฮอล์
เครื่องปรุงที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า, มิริน, ซีอิ๊ว, น้ำส้มสายชูดำ ฯลฯ ไม่ควรสัมผัสฟอยล์โดยตรง เพราะแอลกอฮอล์และกรดจะกัดกร่อนฟอยล์ได้ง่าย ทำให้เกิดรูไหม้หรือกลิ่นแปลกตอนปรุงอาหาร หากฟอยล์ขาด อะลูมิเนียมอาจปนเปื้อนในอาหาร และอาจส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร โดยเฉพาะกับเด็กหรือผู้ที่มีลำไส้อ่อนแอ
แล้วจะใช้ฟอยล์อย่างปลอดภัยได้อย่างไร?
อาจารย์ไฉ่ แนะนำว่า หากจำเป็นต้องใช้อาหารที่มีความเป็นกรด ควรใช้ กระดาษรองอบ หรือ พลาสติกห่ออาหารทนความร้อน ห่อชั้นในก่อน แล้วค่อยห่อด้วยฟอยล์ภายนอก และควร เติมน้ำส้มสายชู มะนาว หรือซอสมะเขือเทศในขั้นตอนสุดท้ายของการปรุง เพื่อลดปฏิกิริยาเคมี
ห้ามใช้ฟอยล์ที่ เป็นรอย ขูดขีด ยับย่น หรือใช้ซ้ำ เพราะจะลดความทนทานและเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารพิษ