.jpg)
ภัยเงียบของพ่อแม่มือใหม่! งานวิจัยชี้สารพิษแฝงในที่นอนอาจกระทบพัฒนาการสมองของลูกน้อย
งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Science & Technology พบว่าฟูกนอนสำหรับเด็กอาจปล่อยสารเคมีอันตรายที่ส่งผลต่อพัฒนาการสมองของเด็กเล็ก
นักวิจัยจากโตรอนโตและออนแทรีโอได้ตรวจสอบสภาพแวดล้อมการนอนของเด็กอายุ 6 เดือนถึง 4 ปี จำนวน 25 คน พบว่ามีสารเคมีอันตรายมากกว่า 20 ชนิดในบริเวณรอบเตียงนอน สารเหล่านี้รวมถึงพาทาเลต (phthalates) สารหน่วงไฟ (flame retardants) และสารกรองรังสียูวี (UV filters) ซึ่งเป็นที่รู้จักว่ามีผลกระทบต่อระบบประสาท
การศึกษาชิ้นนี้ยังพบอีกว่า ฟูกนอนใหม่ราคาถูกที่จำหน่ายในร้านค้าทั่วไปเป็นแหล่งสำคัญของสารเคมีเหล่านี้ โดยเฉพาะเมื่อได้รับความร้อนและน้ำหนักจากร่างกายเด็ก สารพิษจะถูกปล่อยออกมาในระดับที่สูงขึ้น
แม้ว่าจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงสารพิษเหล่านี้ได้ทั้งหมด แต่ผู้ปกครองสามารถลดความเสี่ยงได้โดยการซักผ้าปูที่นอนและของเล่นบ่อยๆ และลดจำนวนของเล่นและหมอนบนเตียง
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเน้นย้ำว่าการแก้ปัญหาที่แท้จริงควรมาจากการปรับปรุงกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้สารเคมีในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก