เนื้อหาในหมวด ข่าว

อายุ 12 ยังติดนมแม่ อึ้งซ้ำจะให้หย่า \

อายุ 12 ยังติดนมแม่ อึ้งซ้ำจะให้หย่า "แสดงอาการแปลกๆ" ผู้เชี่ยวชาญรีบเตือน มีสิ่งที่น่าห่วง!

เด็กหญิงวัย 12 ปียังดื่มนมแม่วันละ 3 ครั้งแต่วัน ส่อพฤติกรรมผิดปกติเมื่อแม่พยายามหยุดให้นม

เมื่อเร็วๆ นี้ เว็บไซต์ Sohu จากประเทศจีนได้รายงานกรณีที่สร้างความฮือฮาในสังคมออนไลน์ โดยหญิงคนหนึ่งเปิดเผยว่า ลูกสาววัย 12 ปีของเธอยังคงดื่มนมแม่วันละ 3 ครั้ง แม้จะโตจนถึงวัยเรียนมัธยมแล้วก็ตาม ซึ่งนอกจากจะไม่แสดงท่าทีต่อต้านแล้ว เด็กหญิงยังมีพฤติกรรมรุนแรงเมื่อแม่พยายามจะหยุดให้นมด้วย

แม่ของเด็กเผยว่า หากเธอไม่ให้นม ลูกจะมีท่าทีโกรธเกรี้ยว คล้ายกับกำลัง "ทวงหนี้" และแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวใส่แม่อย่างน่ากังวล เรื่องราวนี้จุดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก หลายคนมองว่าไม่ใช่เด็กที่ติดแม่ แต่เป็นแม่ที่ติดลูก และไม่สามารถปล่อยให้ลูกเติบโตเป็นอิสระได้

ทั้งนี้ ยังมีคุณแม่อีกหนึ่งรายที่เผชิญปัญหาเดียวกัน เล่าว่าแม้เธอจะไม่มีน้ำนมแล้ว แต่ลูกวัยเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นก็ยังคงร้องขอดื่มนมจากอกแม่อยู่เสมอ ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุล และการพึ่งพาอย่างไม่เหมาะสมระหว่างแม่ลูก

แม้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับในด้านประโยชน์ ทั้งทางโภชนาการและสายใยความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า การให้นมแม่ในระยะยาวเกินความเหมาะสม โดยเฉพาะหลังอายุ 3 ปี อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางร่างกายและจิตใจแก่ทั้งแม่และลูก โดยมีความเสี่ยงหลายประการ อาทิ

  • ภาวะขาดสารอาหาร – สารอาหารในนมแม่ลดลงตามวัย และหากเด็กไม่รับประทานอาหารหลากหลาย อาจส่งผลให้ขาดสารอาหารและเติบโตช้า

  • ส่งผลต่อพัฒนาการในการเคี้ยวและกลืน – การที่เด็กเคยชินกับการดูดนม อาจทำให้ไม่ฝึกการเคี้ยวอาหาร ส่งผลเสียต่อระบบการย่อย

  • เสี่ยงฟันผุ – น้ำนมที่ค้างอยู่ในปาก โดยเฉพาะเวลากลางคืน เป็นสาเหตุสำคัญของฟันผุในเด็ก

  • ไม่สร้างนิสัยการกินอาหารที่ดี – เด็กอาจปฏิเสธอาหารใหม่ๆ และยึดติดกับรสชาติของนมแม่ ทำให้ไม่กล้าลองอาหารอื่น

  • พัฒนาอิสระช้า – เด็กวัย 3 ขวบขึ้นไปควรเริ่มเข้าสังคมและไปโรงเรียน แต่หากยังติดแม่ อาจทำให้ปรับตัวลำบาก

  • กระทบสุขภาพจิตของแม่ – แม่ต้องทุ่มเทเวลาและพลังงานมากเกินไป อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตและเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า

  • รบกวนการนอนของลูก – การตื่นขึ้นมาดื่มนมในเวลากลางคืนทำให้เด็กไม่ได้นอนหลับลึก พัฒนาได้ช้ากว่าเพื่อนวัยเดียวกัน

  • องค์การอนามัยโลก (WHO) และสมาคมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แนะนำว่าควรหย่านมเมื่อเด็กอายุประมาณ 2 ปี และเริ่มเสริมอาหารตามวัยอย่างหลากหลาย เพราะแม้ความรักและสายใยระหว่างแม่ลูกจะสำคัญ แต่การปล่อยให้เด็กได้เรียนรู้และเติบโตอย่างเป็นอิสระก็สำคัญไม่แพ้กัน การหย่านมในเวลาที่เหมาะสมคือการส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคมของเด็กอย่างแท้จริง