.jpg)
เตือนแล้วนะ กระเทียม 5 แบบ "ไม่ควรซื้อ" สุดอันตราย แม้แต่คนขายก็ยังไม่กล้ากิน!
ระวัง! เตือนภัย 5 ประเภท "กระเทียม" สุดอันตราย ที่ไม่ควรซื้อ แม้แต่แม่ค้ายังไม่กล้ากิน
บทความที่รายงานผ่านทางเว็บไซต์ phunuso ได้เตือนถึง 5 ประเภทกระเทียมที่ "ไม่ควรซื้อเด็ดขาด" หากคุณไม่อยากเสี่ยงโรคร้าย! ใครจะคิดว่าเพียงกระเทียมเล็กๆ ก็มี “กับดัก” ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพได้ถึงขั้นร้ายแรง? นับเป็นเรื่องที่คนทุกประเทศควรตระหนัก เพื่อป้องกันตนเองจากอันตรายที่อาจนำเข้าปาก-ลงท้องไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งผู้เขียนบทความกล่าวไว้ดังนี้
“เลือกกระเทียมก็ต้องระวังนะหนู บางแบบพวกพี่ยังไม่กล้าเอากลับบ้านเลย!” คำเตือนจากแม่ค้าผักในตลาดสดที่ฟังแล้วทำเอาสะดุ้ง และต้องกลับมาฉุกคิดจริงๆ จังๆ ซึ่งหลังจากตรวจเช็กกระเทียมที่บ้านด้วยตัวเอง ผู้เขียนก็พบความจริงที่น่าตกใจว่า การเลือกซื้อกระเทียมผิดชนิด อาจนำเชื้อรา สารพิษ หรือโลหะหนักเข้าสู่ร่างกายโดยไม่ตั้งใจ
ดังนั้น จึงอยากเตือนให้คุณรู้จัก 5 ลักษณะของกระเทียมอันตราย ที่ควรหลีกเลี่ยงไว้ให้ดี
1. กระเทียมงอก – สีเขียวสดแต่แฝงพิษ
หลายคนคิดว่ากระเทียมงอกคือกระเทียมสด แต่ความจริงแล้วกระเทียมที่เริ่มแตกยอดสีเขียวคือสัญญาณว่าคุณค่าทางอาหารได้ถูกดึงไปหล่อเลี้ยงต้นอ่อนหมดแล้ว ทั้งยัง สูญเสียสารอัลลิซิน (Allicin) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและลดการอักเสบ ที่น่ากลัวกว่านั้นคือกระเทียมงอกอาจสะสมเชื้อราง่าย หากเก็บไม่ดีอาจเกิด อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษก่อมะเร็งตับระดับอันตราย อย่าปล่อยให้สีเขียวน่ารักลวงตาคุณ!
2. กระเทียมขึ้นรา – พิษร้ายแรงกว่าสารหนูถึง 68 เท่า!
มีรายงานว่าผู้บริโภคบางรายถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาลเพราะซื้อกระเทียมราคาถูกที่มีเชื้อรา! กระเทียมขึ้นราคือแหล่งสะสมของอะฟลาทอกซิน ซึ่งมีพิษต่อ ตับและระบบภูมิคุ้มกัน อย่างรุนแรง แม้จะตัดส่วนที่ขึ้นราออก แต่สารพิษเหล่านี้ สามารถแทรกซึมลึกถึงภายในหัวกระเทียม จึงไม่ควรเสี่ยง เลือกกระเทียมที่เปลือกสะอาด ไม่มีจุดดำหรือสีน้ำตาลแม้แต่นิดเดียว
3. กระเทียมย้อมสี – ภายนอกสวย แต่แฝงเคมีร้าย
ปัจจุบันมีการตรวจพบว่ามีกระเทียมบางล็อตถูก ย้อมสีด้วยสารเคมีอุตสาหกรรม เพื่อปกปิดรอยช้ำหรือเชื้อรา โดยเฉพาะกระเทียมที่ดูขาวจัดหรือเงาวาวเกินจริง อาจปนเปื้อนโลหะหนักอย่าง สารตะกั่วหรือปรอท ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับโรคมะเร็ง แต่ถ้ากระเทียมมีสีเขียวอ่อนจากการใช้สารป้องกันเชื้อราประเภทบอร์กโดซ์ (Bordeaux mixture) ซึ่งเป็นสารเคมีทางการเกษตรที่อาจตกค้างได้บ้างเล็กน้อย เพียงล้างให้สะอาดก็ยังพอรับได้ แต่ถ้ามีกลิ่นสารเคมีแรง ควรหลีกเลี่ยงทันที!
4. กระเทียมแห้งลีบ – เบาแต่ไร้คุณค่า
กระเทียมที่เก็บไว้นานจะสูญเสียน้ำ ทำให้เนื้อยุบตัว เบา และแห้ง ดูเผินๆ อาจยังดีอยู่ แต่เมื่อบีบจะรู้ว่าภายในนิ่มยุบ ไม่มีความแน่น อีกทั้งบางแห่งยังใช้วิธีฉายรังสีเพื่อยืดอายุการเก็บกระเทียม ซึ่งแม้จะชะลอการงอกได้แต่ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียสารอาหารได้ หากเก็บไว้นานเกินไป กระเทียมยังเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย
5. กระเทียมมีกลิ่นแปลก – สัญญาณของจุลินทรีย์อันตราย
กระเทียมที่ดีควรมีกลิ่นฉุนเล็กน้อยเป็นเอกลักษณ์ หากคุณได้กลิ่นเปรี้ยว เน่า หรือคล้ายสารเคมี – ให้หยุดใช้ทันที! กลิ่นผิดปกติอาจเกิดจากการเน่าเสียและการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย เช่น อีโคไล (E.Coli) หรือ ซัลโมเนลลา (Salmonella) ที่ก่อให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ
ในทางตรงกันข้าม ผู้เขียนบทความยังได้แนะนำเคล็ดลับเลือกกระเทียมดีๆ เพื่อให้ผู้ริโภคกินได้มั่นใจ ว่าปลอดภัยแน่นอน!
สังเกตเปลือก – เปลือกต้องแน่น ไม่มีรอยช้ำหรือรา กระเทียมเปลือกม่วงมีสารอาหารมากกว่ากระเทียมขาว
ลองบีบดู – หัวกระเทียมที่ดีควรแน่นมือ ไม่ยุบ ไม่ลีบ
ดมกลิ่นให้ดี – หลีกเลี่ยงกระเทียมที่มีกลิ่นเหม็นหรือฉุนผิดปกติ
เพียงทำตาม 3 ข้อข้างต้นง่ายๆ ก็สามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้แล้ว เพราะกระเทียมอาจดูเป็นวัตถุดิบพื้นฐานในครัว แต่หากเลือกผิดอาจเป็นภัยต่อสุขภาพโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น ครั้งต่อไปที่เลือกซื้อกระเทียม อย่าลืมสังเกตสัญญาณอันตรายเหล่านี้ เพื่อเลือกสิ่งดีที่สุดให้กับมื้ออาหารของตนเองและครอบครัว!