.jpg)
พ่อทรุดร้องไห้โฮ ลูกแค่ 6 ขวบ มะเร็งไตระยะสุดท้าย หมอชี้สาเหตุ "เครื่องดื่ม" ที่มองข้าม!
เตือนภัยสุขภาพ! เด็กชายวัย 6 ปีป่วยมะเร็งไตระยะสุดท้าย แพทย์ชี้ต้นเหตุจาก "เครื่องดื่มยอดฮิต" ภัยเงียบที่หลายครอบครัวมองข้าม
เมื่อรสหวานกลายเป็นภัยเงียบ..... กรณีของ "หมิงหมิง" เด็กชายวัย 6 ขวบในประเทศจีน กลายเป็นเสียงเตือนสังคม หลังพ่อแม่พาไปพบแพทย์เนื่องจากมีอาการปวดท้องและพบก้อนเนื้อบริเวณท้อง ก่อนถูกวินิจฉัยว่าเป็น "มะเร็งไตระยะลุกลาม"
แพทย์เปิดเผยว่า แม้มะเร็งไตในเด็กมักมีปัจจัยทางพันธุกรรม แต่การดื่มน้ำหวานมากเกินไป โดยเฉพาะน้ำอัดลม เป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่ซ้ำเติมสุขภาพไต และเพิ่มความเสี่ยงโรคร้าย ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็กยุคใหม่ แต่กลับส่งผลร้ายแรงต่อไตอย่างไม่รู้ตัว
ในรายงานของโรงพยาบาลเด็ก พบว่ามากถึง 30% ของเด็กที่เป็นโรคไต หรือมะเร็งไต มีพฤติกรรมดื่มน้ำหวานมากเกินไป และมักมีภาวะอ้วนร่วมด้วย ทำให้ไตต้องทำงานหนักและเสี่ยงต่อความเสียหายสะสมในระยะยาว
แล้วทำไมน้ำอัดลม-เครื่องดื่มรสหวานๆ ถึงเป็นภัย?
ปริมาณน้ำตาลเกินมาตรฐาน
เครื่องดื่มขนาด 500 มล. อาจมีน้ำตาลสูงถึง 53 กรัม เกินกว่าค่าที่แนะนำสำหรับเด็กถึง 2 เท่า (ไม่เกิน 25 กรัมต่อวัน) การสะสมน้ำตาลมากเกินไปอาจนำไปสู่ภาวะดื้อต่ออินซูลิน และเปิดโอกาสให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต
ฟอสเฟตในน้ำอัดลม
ฟอสเฟตในน้ำอัดลมสามารถรบกวนการเผาผลาญแคลเซียม-ฟอสฟอรัส และเพิ่มภาระให้กับไต โดยมีงานวิจัยพบว่าเพียง 2 ชั่วโมงหลังดื่มน้ำอัดลม ระดับแคลเซียมในปัสสาวะอาจเพิ่มขึ้นถึง 20%
สีผสมอาหารและสารก่อมะเร็ง
สีคาราเมลในน้ำอัดลมบางชนิดอาจมีสาร 4-MEI ซึ่งมีผลวิจัยในสัตว์ทดลองว่าก่อให้เกิดมะเร็ง โดยเฉพาะในเด็กที่ระบบเผาผลาญยังไม่สมบูรณ์
เตือนเพิ่ม 4 เครื่องดื่ม ที่หลายคนคิดว่าปลอดภัย แต่จริงๆ อาจไม่ใช่
นมเปรี้ยวหรือน้ำดื่มโปรไบโอติก: บางยี่ห้อมีน้ำตาลสูงถึง 15 กรัมต่อ 100 มล.
น้ำผลไม้ 100%: แม้จะดูดี แต่หลายชนิดผ่านกระบวนการรีคอนสติทิวท์ และยังคงมีน้ำตาลสูง
เครื่องดื่มเกลือแร่: หากไม่ได้ออกกำลังกายหนัก อาจเพิ่มภาระให้ไตโดยไม่จำเป็น
วิธีดูแลไตของลูกให้ปลอดภัยในระยะยาว ควรทำอย่างไร?
ฝึกนิสัยดื่มน้ำเปล่า: เด็กควรดื่มน้ำตามสูตร “น้ำหนัก (กก.) × 30 มล.” ต่อวัน
อ่านฉลากโภชนาการ: หากน้ำตาล (carbohydrate) เกิน 5 กรัม/100 มล. ถือว่าเป็นเครื่องดื่มหวาน
ทำเครื่องดื่มสุขภาพเอง: เช่น โซดาผลไม้สด, ไอศกรีมนมสดใส่ผงโกโก้ไม่หวาน
รู้ไว้ดีกว่า! สัญญาณเตือนโรคร้ายที่ไม่ควรละเลย
เด็กมีอาการอ่อนเพลียตลอดเวลาเกิน 2 สัปดาห์
ปัสสาวะมีเลือดโดยไม่เจ็บ
คลำเจอก้อนที่ท้องขณะอาบน้ำ
“รสนิยมการกินของเด็กต้องถูกปลูกฝัง ไม่ใช่ตามใจ” พ่อแม่ควรมองทุกการเลือกซื้ออาหารเป็นโอกาสในการเรียนรู้ เปลี่ยนห้างสรรพสินค้าให้กลายเป็นห้องเรียนโภชนาการ ชวนลูกอ่านฉลากสินค้าไปด้วยกัน ฝึกให้เด็กแยกแยะว่าอะไรดีต่อร่างกาย และอะไรควรหลีกเลี่ยง ฝึกให้เขาเข้าใจว่า "หวาน" ไม่เท่ากับ "ดี" และ "อร่อย" ไม่ควรแลกมาด้วยสุขภาพ
การสร้างนิสัยการกินอย่างมีสติ ไม่เพียงป้องกันโรคร้ายในอนาคต แต่ยังเป็นการวางรากฐานชีวิตที่แข็งแรงให้ลูกเติบโตอย่างมีคุณภาพ เพราะสุขภาพของลูก... เริ่มต้นได้จากการเลือกของในรถเข็นทุกครั้งที่คุณเข็นผ่านชั้นวางน้ำหวาน เพียงเปลี่ยนแค่หนึ่งแก้ววันนี้ อาจเปลี่ยนทั้งชีวิตในวันข้างหน้า เริ่มต้นตอนนี้ ยังไม่สายเกินไปที่จะเลือกเพื่อสุขภาพของคนที่คุณรักที่สุด
- ลูกชาย 2 ขวบ ติดเชื้อ "ซิฟิลิส" พ่อแม่ผลเป็นลบทั้งคู่ แทบทรุด หมอเฉลยติดจากใคร?!
- แม่ลูกป่วยคู่ ตับ-ไตวายพร้อมกัน หมอรู้ดื่มอะไรเข้าไป เตือนด่วน "สิ่งนี้มีพิษ" อย่าซื้อกิน!