
ลูกน้อย 2 เดือน ชอบเล่นน้ำลาย “เป็นฟองสบู่” แม่คิดว่าน่ารัก แต่แพทย์สั่งแอดมิทด่วน!
เตือนพ่อแม่! หมอเจอเคสทารก 2 เดือน ชอบเล่นน้ำลาย “เป่าเป็นฟองสบู่” บ่อยๆ อย่ามัวคิดแค่ว่าน่ารัก อาจซ่อนโรคปอดอักเสบที่อันตราย
เมื่อเร็วๆ นี้ กรณีของคุณแม่มือใหม่ชาวจีน ที่มีลูกชายวัย 2 เดือน กลายเป็นตัวอย่างเตือนใจผู้ปกครองหลายคน หลังจากที่เธอสังเกตเห็นลูกชายมักจะมีพฤติกรรม “เป่าฟองสบู่” หรือ “เล่นน้ำลายจนฟูฟอด” บ่อยครั้ง ตอนแรกคิดว่าเป็นท่าทางน่ารักของเด็กทารกทั่วไป แต่กลับกลายเป็นสัญญาณเตือนอันตรายทางสุขภาพที่หลายคนอาจมองข้าม
คุณแม่เล่าว่า เธอไม่ทันได้สนใจมากนัก เพราะเห็นว่าเหมือนเป็นพฤติกรรมเด็กเล่นธรรมดาๆ แต่เพื่อนบ้านที่เคยมีลูกมาก่อนสังเกตเห็นท่าทางนี้แล้วเตือนให้รีบนำลูกไปโรงพยาบาล ซึ่งหลังจากแพทย์ตรวจร่างกายอย่างละเอียด ก็พบว่าเด็กป่วยเป็น “โรคปอดอักเสบ” หรือ “ปอดบวม” และต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันที
เหตุการณ์นี้ทำให้คุณแม่ รู้สึกตกใจและสงสัยว่า ทำไมการเป่าฟองสบู่ หรือเล่นน้ำลายแบบที่เด็กหลายคนทำกัน จึงกลายเป็นสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพของลูกได้
แพทย์เผยสัญญาณ “เป่าฟองสบู่” อาจบ่งบอกโรคร้ายในเด็กเล็ก
ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาการ “เป่าฟองสบู่” หรือเล่นน้ำลายจนฟู่ฟอดในเด็กทารก ต้องพิจารณาจากอายุและอาการร่วมอื่นๆ หากเด็กอายุต่ำกว่า 3 เดือนมีอาการนี้ร่วมกับอาการ เช่น หายใจเร็ว ไม่ยอมดูดนม ร้องไห้งอแง หรือตัวซีดเซียว อาจเป็นสัญญาณของโรคปอดอักเสบที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน เพราะระบบทางเดินหายใจของทารกยังไม่แข็งแรง หากปล่อยทิ้งไว้ อาการอาจลุกลามจนถึงปอด ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้
สิ่งที่พ่อแม่ควรสังเกต คือ
อายุของเด็ก:
-
เด็กต่ำกว่า 3 เดือนที่เป่าน้ำลายเป็นฟองสบู่บ่อยๆ ควรรีบสังเกตอาการ เพราะอาจเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจ
-
เด็กที่อายุมากกว่า 3 เดือน อาการนี้มักเป็นเรื่องปกติ เกิดจากการเจริญเติบโตของฟันและการเพิ่มน้ำลาย
อาการร่วม:
-
หากเด็กไม่ยอมกินนม เล่นน้ำลายฟู่ออกมาเป็นฟอง มีอาการไอหรือหายใจลำบาก ควรพาไปพบแพทย์ทันที
-
หากเด็กยังมีสุขภาพดี ปกติ กิน เล่น นอนตามปกติ อาการเป่าฟองสบู่อาจไม่ใช่ปัญหาสุขภาพ
อันตรายจากโรคปอดอักเสบในเด็กเล็ก
ทำให้เด็กมีอาการหายใจลำบาก ขาดออกซิเจน
เกิดภาวะระบบหายใจล้มเหลว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
การติดเชื้ออาจลุกลามไปยังอวัยวะอื่น เช่น เยื่อหุ้มปอด หรือระบบเลือด
เกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาว เช่น หอบหืด หรือปัญหาการทำงานของปอดในอนาคต
อาจถึงขั้นเสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในทารกหรือเด็กที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
พ่อแม่ควรใส่ใจสัญญาณเล็กๆ น้อยๆ ที่เด็กทารกแสดงออกอย่างใกล้ชิด เพราะบางครั้งอาการที่ดูเหมือนไม่สำคัญ เช่น การเป่าฟองสบู่ อาจเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพร้ายแรงโดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 เดือน หากพบพฤติกรรมเป่าฟองสบู่ร่วมกับอาการผิดปกติ เช่น หายใจเร็ว ไม่ยอมดูดนม ร้องไห้งอแง หรือมีน้ำลายเป็นฟอง ควรรีบนำเด็กไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับการประเมินอย่างละเอียดและรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงที
การป้องกันและรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ หรือติดเชื้อที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจในระยะยาว ดังนั้นความใส่ใจและความรู้ของผู้ปกครองจึงเป็นกุญแจสำคัญในการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของลูกน้อยอย่างแท้จริง
- ลูกวัย 8 เดือน มีกลิ่นแปลกๆ อาบน้ำไม่หาย ไปหาหมอถึงรู้เป็น "โรค" เพราะลืมล้างส่วนนั้น
- ทารกคลอดออกมา "ตัวขาว" จนไม่มีใครกล้าอุ้ม แต่หมอแสดงความยินดี พร้อมเฉลยคืออะไร?