
"65 อาชีพไม่เสี่ยงโดน AI แย่งงาน": 10 อันดับแรกมีแนวโน้มเติบโตสูงภายในปี 2032 ด้วย
แม้ว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว และหลายองค์กรเริ่มนำ AI เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งในบางกรณีอาจเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ได้
แต่ก็ยังมีหลากหลายอาชีพที่ยังคงปลอดภัยจากการถูกแทนที่ เนื่องจากอาชีพเหล่านี้ต้องอาศัยทักษะเฉพาะที่ AI ยังไม่สามารถเลียนแบบได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นความเห็นอกเห็นใจ การคิดวิเคราะห์เชิงลึก หรือความคิดสร้างสรรค์ที่ซับซ้อนในแบบมนุษย์
รายงาน Top 65 Jobs Safest from AI & Robot Automation จาก U.S. Career Institute ซึ่งเผยแพร่ตั้งแต่ปี 2023 ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากหลายแหล่ง อาทิ สำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐ (BLS), Salary.com และแพลตฟอร์ม WillRobotsTakeMyJob จนสามารถจัดอันดับอาชีพที่มี "ความเสี่ยง 0%" ในการถูกแทนที่ด้วย AI หรือระบบอัตโนมัติ พร้อมกับแนวโน้มการเติบโตสูงภายในปี 2032
อาชีพเหล่านี้มักเกี่ยวข้องกับทักษะเฉพาะตัว การใช้ความคิดสร้างสรรค์ และความเข้าใจมนุษย์ ซึ่งยังเป็นสิ่งที่ AI ไม่สามารถเลียนแบบได้ ตัวอย่างเด่นที่สุดคือสายงานด้านการแพทย์ การศึกษา และงานสร้างสรรค์ที่ต้องการความยืดหยุ่นในการตัดสินใจ และรับมือกับสถานการณ์เฉพาะหน้า
กลุ่มอาชีพที่ "AI ทำแทนไม่ได้"
สายสุขภาพ: พยาบาล แพทย์ นักบำบัด นักจิตวิทยา
การศึกษา: ครู อาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา
งานสร้างสรรค์: นักเขียน นักดนตรี ศิลปิน นักข่าว
งานบริการเฉพาะบุคคล: ช่างทำผม เทรนเนอร์ส่วนตัว โค้ช และช่างเสริมสวย
10 อันดับอาชีพ "ปลอดภัยจาก AI" และเติบโตสูงที่สุดภายในปี 2032
1. พยาบาลระดับเชี่ยวชาญ (Nurse Practitioners)
– อัตราการเติบโต: 45.7%
2. นักออกแบบท่าเต้น (Choreographers)
– 29.7%
3. ผู้ช่วยแพทย์ (Physician Assistants)
– 27.6%
4. นักจิตบำบัด/ที่ปรึกษาสุขภาพจิต (Mental Health Counselors)
– 22.1%
5. อาจารย์พยาบาลในมหาวิทยาลัย (Nursing Instructors and Teachers)
– 21.5%
6. โค้ชและแมวมอง (Coaches and Scouts)
– 20%
7. เทรนเนอร์ด้านกีฬา (Athletic Trainers)
– 17.5%
8. นักกายภาพบำบัด (Physical Therapists)
– 16.9%
9. นักออกแบบอุปกรณ์เทียม (Orthotists and Prosthetists)
– 16.8%
10. นักกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapists)
– 13.9%
ทำไม "พยาบาลระดับเชี่ยวชาญ" ถึงรอดจาก AI?
ในบรรดาอาชีพทั้งหมด "พยาบาลระดับเชี่ยวชาญ" (Nurse Practitioner) ถือว่าเติบโตเร็วที่สุด และมีแนวโน้มปลอดภัยที่สุดจากการถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี เพราะไม่เพียงต้องอาศัยความรู้ทางการแพทย์ขั้นสูง แต่ยังต้องใช้ทักษะการดูแลผู้ป่วย การตัดสินใจเฉพาะหน้า และการเข้าใจอารมณ์ของคนไข้ ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ AI ยังไม่สามารถทำได้เทียบเท่ามนุษย์
แม้อาชีพนี้จะต้องใช้เวลาศึกษาในระดับปริญญาโทหรือเอก แต่ก็ให้ผลตอบแทนคุ้มค่า รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 120,680 ดอลลาร์ต่อปี หรือราว 3.99 ล้านบาทต่อปี (ข้อมูลปี 2023)
ตัวอย่างอาชีพที่ยัง "รอด" จาก AI (อันดับ 11–65)
อันดับอาชีพที่เหลือ ซึ่งความเสี่ยงต่ำ 0% ที่จะถูก AI แย่งงาน ได้แก่
11. นักบำบัดชีวิตคู่ และครอบครัว
12. นักศิลปะบำบัด
13. นักดนตรีบำบัด
14. นักสังคมฯ ด้านดูแลสุขภาพ
15. นักสังคมฯ ด้านสุขภาพจิต
16. วิศวกรชีวภาพ
17. อาจารย์สอนจิตวิทยา
18. ฟิตเนสและสุขภาพ
19. นักวิทยาศาสตร์ดินและพืช
20. อาจารย์สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
21. ครูสอนศิลปะ/การละคร/ดนตรี
22. จิตแพทย์
23. อาจารย์มานุษยวิทยา
24. นักฟิสิกส์
25. อาจารย์สอนสถาปัตยกรรมศาสตร์
26. พยาบาลผดุงครรภ์
27. เวชกิจฉุกเฉิน
28. ผจก.ฝ่ายรักษาความปลอดภัย
29. วิศวกรโยธา
30. วิศวกรขนส่ง
31. พลศึกษาเพื่อผู้พิการ
32. หน่วยกู้ชีพ
33. พยาบาลคลินิก
34. พยาบาลผู้ป่วยหนัก
35. พยาบาลจิตเวชขั้นสูง
36. ทันตแพทย์
37. นักออกแบบนิทรรศการ
38. ทันตแพทย์เฉพาะทาง
39. ผู้บริหารการศึกษา
40. ศัลยแพทย์ช่องปาก
41. นักดับเพลิง
42. หัวหน้างานดับเพลิง
43. นักผังเมือง
44. นักบำบัดด้วยกิจกรรม
45. ผู้นำทางศาสนา
46. แพทย์ผิวหนัง
47. นักประสาทวิทยา
48. หัวหน้าตำรวจและนักสืบ
49. นักประสาทจิตวิทยา
50. นักประสาทจิตวิทยาคลินิก
51. ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ
52. สถาปนิก
53. ศัลยแพทย์อื่นๆ
54. ผู้นำจัดการภาวะฉุกเฉิน
55. แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน
56. แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
57. แพทย์ประจำโรงพยาบาล
58. แพทย์เวชศาสตร์การกีฬา
59. ศัลยแพทย์เด็ก
60. สูตินรีแพทย์
61. นักออกแบบภายใน
62. ภูมิสถาปนิก
63. พิทักษ์ป่าและสัตว์ป่า
64. ผู้บริหารระดับสูง
65. ผู้ติดตั้งอาคารสำเร็จรูป
แล้วตลาดแรงงานในยุค AI จะเป็นอย่างไร?
แม้ AI จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงตลาดแรงงานอย่างมีนัยสำคัญ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่างานของมนุษย์จะหมดความสำคัญ ตรงกันข้าม งานที่ต้องใช้ความเข้าใจ ความคิดสร้างสรรค์ และความเห็นอกเห็นใจ กลับจะยิ่งทวีความสำคัญในอนาคต
สรุปแนวโน้มสำคัญ
งานซ้ำๆ หายไป: เช่น งานกรอกข้อมูล บริการลูกค้า หรือสายพานผลิต
เกิดงานใหม่: เช่น ผู้พัฒนา AI, นักจริยธรรม AI, ผู้ดูแลระบบอัตโนมัติ
ทักษะมนุษย์จำเป็นขึ้น: การคิดเชิงวิเคราะห์, EQ, การตัดสินใจ
ช่องว่างทางเศรษฐกิจอาจเพิ่ม: หากไม่มีระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อปรับตัว
บทสรุป
ในโลกที่ AI กำลังเข้ามาแทนที่งานหลายประเภท ทางรอดคือการมองหาอาชีพที่เน้น "ความเป็นมนุษย์" ทักษะที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงได้ยาก
หากคุณอยากยืนหยัดอยู่ในตลาดแรงงานระยะยาว เลือกสายอาชีพที่ AI ยังเอื้อมไม่ถึง และอย่าหยุดพัฒนาทักษะใหม่ๆ เพราะอนาคตจะเป็นของผู้ที่ "พร้อมปรับตัว" มากกว่าผู้ที่ "ทำอะไรเดิมๆ"