เนื้อหาในหมวด ข่าว

วิจัยฮาร์วาร์ด นอนกับแม่ VS แยกห้อง แบบไหนเด็ก \

วิจัยฮาร์วาร์ด นอนกับแม่ VS แยกห้อง แบบไหนเด็ก "สมองพัฒนา" เร็วกว่าถึง 30%

ผลวิจัยชี้! เด็กนอนกับแม่สมองพัฒนาเร็วกว่าถึง 30% หลังผ่านไป 10 ปี เผยความจริงที่คนส่วนใหญ่อาจเข้าใจผิด "แยกห้องเร็วเกินไป" อาจทำร้ายลูกไม่รู้ตัว

หลายครอบครัวอาจเชื่อว่าการให้ลูกนอนห้องแยกตั้งแต่อายุน้อยจะช่วยเสริมสร้างความเป็นอิสระและความสามารถในการดูแลตนเอง แต่ผลการวิจัยล่าสุดจากศูนย์พัฒนาเด็กแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกลับชี้ให้เห็นว่า การให้เด็กนอนกับแม่ในวัยแรกเกิดจนถึงวัยที่เหมาะสม อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองได้ดีกว่าในระยะยาว

ข้อมูลจากงานวิจัยระบุว่า เด็กที่ถูกแยกห้องนอนเร็วเกินไป มีแนวโน้มพัฒนาสมองช้ากว่าเด็กที่ได้นอนกับแม่ถึง 30% หลังจากผ่านไป 10 ปี สาเหตุสำคัญมาจากระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือ “ฮอร์โมนความเครียด” ที่สูงขึ้นในเด็กที่นอนอย่างไม่มั่นคงหรือไม่รู้สึกปลอดภัย

ระดับคอร์ติซอลที่สูงเป็นเวลานานสามารถส่งผลกระทบต่อสมองในหลายด้าน เช่น ความจำลดลง (กระทบต่อฮิปโปแคมปัส), สมาธิสั้น ตัดสินใจได้ไม่ดี (กระทบต่อเปลือกสมองส่วนหน้า), ความวิตกกังวลและความไวต่ออารมณ์เพิ่มขึ้น (ฮิปโปแคมปัสและอะมิกดาลา)

ข้อเข้าใจผิดที่พบบ่อยของพ่อแม่เกี่ยวกับการให้ลูกนอนห้องแยก

  • เข้าใจผิดว่าลูกยิ่งนอนแยกเร็ว ยิ่งดี
    พ่อแม่จำนวนไม่น้อยมองว่าเด็กยิ่งนอนคนเดียวเร็ว ยิ่งเรียนรู้ที่จะพึ่งพาตัวเองเร็วขึ้น ซึ่งมักได้รับอิทธิพลจากสื่อหรือแนวทางเลี้ยงดูแบบตะวันตก อย่างไรก็ตาม สมาคมกุมารแพทย์สหรัฐฯ ยังแนะนำให้เด็กเริ่มนอนเตียงแยกที่อยู่ในห้องเดียวกับพ่อแม่อย่างน้อยจนถึงอายุ 6 เดือน และแยกห้องได้เมื่ออายุประมาณ 1 ปี
  • คิดว่าควรกำหนดอายุที่แน่นอนในการแยกห้อง
    ความจริงแล้ว เด็กแต่ละคนมีความพร้อมไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอารมณ์ ความเข้าใจ และพัฒนาการส่วนบุคคล การดูจากอายุเพียงอย่างเดียวไม่สามารถตัดสินได้ว่าลูกพร้อมนอนคนเดียวหรือยัง
  • แยกห้องแบบฉับพลันโดยไม่ค่อยเตรียมตัว
    หลายครอบครัวพาเด็กเข้าไปนอนห้องใหม่ทันทีโดยไม่มีการเตรียมความพร้อม ทั้งที่กระบวนการนี้ควรเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น ให้ลูกเริ่มนอนเตียงแยกก่อน, พ่อแม่ควรอยู่ด้วยช่วงแรกก่อนค่อยๆ ถอยออกมา, สร้างสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เด็กอุ่นใจ เช่น วางของเล่นหรือผ้าห่มที่คุ้นเคยไว้ใกล้ตัว
  • มองว่าแค่แยกห้องนอนก็พอ
    การแยกห้องไม่ใช่แค่มี "ห้อง" ให้เด็กเท่านั้น แต่ต้องใส่ใจเรื่องรายละเอียด เช่น ความปลอดภัยของอุปกรณ์ในห้อง การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ให้เหมาะกับเด็ก และการควบคุมแสง เสียง อุณหภูมิ และการระบายอากาศในห้อง
  • ดังนั้น การตัดสินใจว่าจะให้ลูกนอนกับพ่อแม่หรือนอนแยกห้อง ควรยึดตามความพร้อมและสัญญาณจากตัวเด็กมากกว่าจะยึดตามแนวคิดหรือค่านิยมใดเพียงอย่างเดียว เพราะการสร้างความรู้สึกปลอดภัยในช่วงวัยเริ่มต้น ไม่ได้หมายถึงการตามใจ แต่คือการวางรากฐานที่มั่นคงให้กับพัฒนาการด้านอารมณ์และสมองของลูกในระยะยาว พ่อแม่จึงควรใส่ใจ เปิดใจ และปรับวิธีเลี้ยงดูให้เหมาะสมกับธรรมชาติของลูกแต่ละคน เพราะความรักและความเข้าใจจากครอบครัว คือปัจจัยสำคัญที่สุดที่ช่วยให้เด็กเติบโตอย่างมั่นคงทั้งกายและใจ

     

    จีนเตือน! รองเท้าแตะเด็กสุดฮิต เสี่ยงดันลูก \

    จีนเตือน! รองเท้าแตะเด็กสุดฮิต เสี่ยงดันลูก "โตไวเกินวัย" แฝงสารอันตราย ดูน่ารักแต่น่ากลัว

    จีนตรวจแล้วเตือน! 50% ของรองเท้าแตะเด็กในตลาด มีสารพาทาเลตเกินค่ามาตรฐาน บางคู่เกินถึง 509 เท่า

    พูดเร็วหรือพูดช้า เด็กแบบไหนฉลาดกว่า? แพทย์ชี้คำตอบ ที่พ่อแม่หลายคนอาจมองข้าม

    พูดเร็วหรือพูดช้า เด็กแบบไหนฉลาดกว่า? แพทย์ชี้คำตอบ ที่พ่อแม่หลายคนอาจมองข้าม

    พูดเร็วหรือพูดช้า เด็กแบบไหนฉลาดกว่า? ผลศึกษาชี้คำตอบ พร้อมเปิดมุมมองใหม่จากแพทย์ ที่ทำให้พ่อแม่หลายคนแปลกใจ

    4 พฤติกรรม ที่ผู้ใหญ่ดุว่า \

    4 พฤติกรรม ที่ผู้ใหญ่ดุว่า "เด็กไม่ดี" แท้จริงช่วยสมองพัฒนาไว แต่หลายบ้านกลับสั่งห้ามทำ!

    เห็นว่าเด็กซน อย่าเพิ่งดุ! พฤติกรรมแบบนี้คือ “บทเรียนธรรมชาติ” ที่ช่วยให้ลูกฉลาดขึ้นแบบไม่รู้ตัว

    รูปปัจจุบัน ทารกลูกครึ่งฉายา \

    รูปปัจจุบัน ทารกลูกครึ่งฉายา "หน้าสวยที่สุดในโลก" นางฟ้าตัวน้อยในวันนั้น โตขึ้นขนาดนี้แล้ว!

    เปิดภาพล่าสุด เด็กลูกครึ่งฉายา "หน้าสวยที่สุดในโลก" ที่เคยเขย่าใจชาวเน็ต 17 ล้านคนทั่วโลก