เนื้อหาในหมวด ข่าว

อเมริกาอวย \

อเมริกาอวย "สมุนไพรอมตะ" ดีกว่าชาเขียวและโสม ฤทธิ์ต้านมะเร็ง-ฟื้นฟูตับ ไทยปลูกได้มาก!

“เจียวกู่หลาน” สมุนไพรที่อเมริกายกย่องว่าเหนือกว่าชาเขียว เทียบชั้นโสม แต่ปลูกได้มากในไทย!

ในขณะที่ชาเขียวได้รับการยอมรับทั่วโลกในฐานะเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ แต่รู้หรือไม่ว่า ยังมีสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่นักวิจัยสหรัฐฯ ขนานนามว่าเป็น "สมุนไพรแห่งความเป็นอมตะ" (Herb of Immortality) และมีสรรพคุณที่เหนือกว่าชาเขียว อีกทั้งยังเทียบเคียงโสมได้เลยทีเดียว สมุนไพรชนิดนั้นคือ “เจียวกู่หลาน” หรือในชื่อไทยว่า “ปัญจขันธ์”

ดร.ไมเคิล อาซิซ (Dr. Michael Aziz) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูจากนิวยอร์ก เปิดเผยว่าเขาบริโภคเจียวกู่หลานเป็นประจำวันละ 900 มิลลิกรัม และพบว่าพืชชนิดนี้มีคุณสมบัติโดดเด่นหลายประการ เช่น

  • ช่วยลดคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต

  • มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ

  • ส่งเสริมกระบวนการเผาผลาญพลังงาน (เมตาบอลิซึม)

  • กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ AMP-activated protein kinase (AMPK) ซึ่งช่วยรักษาสมดุลพลังงานในเซลล์

  • ปรับสัญญาณอินซูลิน และช่วยให้ไมโตคอนเดรียทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการชะลอวัย

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่ระบุว่า เจียวกู่หลานมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง และช่วยฟื้นฟูระบบหัวใจและตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ สรรพคุณเด่นกว่าโสมและชาเขียวเสียอีก

ปัญจขันธ์ หรือที่เรียกในจีนว่า เจียวกู่หลาน เป็นพืชไม้เลื้อยที่เติบโตในพื้นที่ภูเขา มีลักษณะใบแฉก 5 แฉก สารออกฤทธิ์สำคัญในเจียวกู่หลานคือ gypenosides ซึ่งเป็นกลุ่มซาโปนินคล้ายกับที่พบในโสม (ginsenosides)

ดร.อาซิซ เปิดเผยว่า ค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ (ORAC) ของชาเจียวกู่หลาน สูงกว่าชาเขียวถึง 8 เท่า ทำให้เครื่องดื่มสมุนไพรนี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มอาหารเสริมระดับพรีเมียมในหลายประเทศ โดยแนะนำให้ชง ใบแห้งเจียวกู่หลาน 1-2 ช้อนชาในน้ำร้อน 250 มล. แล้วกรองดื่ม รสชาติอาจขมเล็กน้อยแต่มีความหวานธรรมชาติในตัว

ทั้งนี้ แม้เจียวกู่หลานจะถือว่าปลอดภัยในการบริโภค แต่บางรายอาจมีอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย วิงเวียน หรือมึนศีรษะ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือกำลังใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

ข่าวดีคือ ประเทศไทยเป็นแหล่งปลูกเจียวกู่หลานชั้นดี โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และพะเยา เนื่องจากอากาศเย็นและความชื้นสูง เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชชนิดนี้ เกษตรกรหลายรายในไทยเริ่มหันมาปลูกเจียวกู่หลานเพื่อแปรรูปเป็นชา ใบอบแห้ง หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ ซึ่งเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เจียวกู่หลานหรือปัญจขันธ์ นับเป็นสมุนไพรที่คนไทยควรรู้จักและใช้ประโยชน์ เพราะไม่เพียงแต่เป็น “โสมแห่งเอเชียใต้” ในสายตานักวิจัยต่างชาติ แต่ยังเป็นโอกาสทองของคนไทยในการบริโภคสมุนไพรที่ปลูกได้เอง และมีคุณประโยชน์มหาศาลต่อสุขภาพในระยะยาว