เนื้อหาในหมวด ข่าว

เตือนช็อก 5 แหล่งซ่อนเร้น \

เตือนช็อก 5 แหล่งซ่อนเร้น "ไมโครพลาสติก" แค่เคี้ยวหมากฝรั่งก็ "กลืน" ไปหลายพันชิ้น!

รู้หรือไม่? แค่เคี้ยวหมากฝรั่ง 8 นาที ร่างกายรับ “ไมโครพลาสติก” หลายพันชิ้น! พร้อมเตือนอีก 4 แหล่งซ่อนเร้นใกล้ตัว ที่คุณอาจไม่เคยรู้ว่าอันตราย

ไมโครพลาสติก (Microplastics) กลายเป็นภัยเงียบที่แฝงตัวอยู่ในชีวิตประจำวันโดยที่หลายคนอาจไม่รู้ตัว แม้จะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่เจ้าสารขนาดจิ๋วนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายๆ ผ่านพฤติกรรมที่เราคุ้นชิน ไม่ว่าจะเป็นการกิน ดื่ม หรือแม้แต่การใช้ของใช้ประจำวัน โดยเฉพาะจาก 5 แหล่งหลักที่ไม่คาดคิดมาก่อน

1. เคี้ยวหมากฝรั่ง 8 นาที = รับไมโครพลาสติกหลายพันชิ้น

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (สหรัฐฯ) ที่เผยแพร่ในการประชุม American Chemical Society เดือนมีนาคม 2025 ระบุว่า การเคี้ยวหมากฝรั่งเพียง 1 ชิ้นนาน 8 นาที สามารถปล่อยไมโครพลาสติกออกมาถึง 94% ของปริมาณที่แฝงอยู่ในหมากฝรั่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสูตรสังเคราะห์หรือจากธรรมชาติก็ตาม ซึ่งหมายความว่าเพียงแค่เคี้ยวหมากฝรั่ง ก็อาจกำลัง "กลืนพลาสติก" โดยไม่รู้ตัว

2. ดื่มเครื่องดื่มร้อนจากแก้วกระดาษใช้แล้วทิ้ง = รับไมโครพลาสติกกว่า 25,000 ชิ้น

จากการศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีอินเดีย พบว่า การใส่เครื่องดื่มร้อนในแก้วกระดาษใช้แล้วทิ้งอาจปล่อยไมโครพลาสติกออกมากว่า 25,000 ชิ้นภายในเวลา 15 นาที เพราะสารเคลือบพลาสติกภายในแก้วสามารถละลายออกมาเมื่อเจอกับความร้อน

3. น้ำดื่มบรรจุขวดมีไมโครพลาสติกเฉลี่ย 240,000 ชิ้นต่อลิตร

ผลการวิจัยในต่างประเทศชี้ว่า น้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกมีไมโครพลาสติกเฉลี่ยถึง 240,000 ชิ้นต่อลิตร ยิ่งเปิด-ปิดฝาขวดหรือบีบขวดบ่อยๆ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้อนุภาคพลาสติกจิ๋วหลุดปะปนลงในน้ำที่ดื่ม

4. ถุงชงชา (Tea Bag) ปล่อยไมโครพลาสติกนับหมื่นล้านชิ้น

วารสาร Environmental Science & Technology รายงานว่า ถุงชาที่ทำจากไนลอนหรือโพลีเอสเตอร์ เมื่อนำไปแช่น้ำร้อน 95 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 นาที จะปล่อยไมโครพลาสติกกว่า 14,000 ล้านชิ้น ทั้งระดับไมครอนและนาโนเข้าสู่ร่างกายพร้อมกับการดื่มชา

5. ฟองน้ำล้างจาน 1 กรัม = ไมโครพลาสติก 6.5 ล้านชิ้น

การศึกษาอีกชิ้นที่เผยแพร่ในวารสารเดียวกันพบว่า ฟองน้ำล้างจานเมื่อเสื่อมสภาพหรือเสียดสีกับภาชนะ จะปล่อยไมโครพลาสติกสูงถึง 6.5 ล้านชิ้นต่อ 1 กรัมของเนื้อวัสดุ

วิธีลดการรับไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกาย

1. ลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก

  • หลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว

  • เลือกอาหารที่ไม่ห่อด้วยพลาสติก หรือเลือกภาชนะที่ทำจากกระดาษ, แก้ว หรือโลหะ

2. ปรับพฤติกรรมการกิน

  • หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะพลาสติกอุ่นอาหารในไมโครเวฟ

  • ไม่ควรใส่เครื่องดื่มร้อนในแก้วพลาสติก

  • งดใช้ถุงพลาสติกหรือพลาสติกแรปห่ออาหารร้อน

3. ให้ความสำคัญกับขั้นตอนเตรียมอาหาร

  • ลวกผักก่อนปรุงเพื่อลดไมโครพลาสติกที่เกาะอยู่ผิวถึง 78%

  • ดื่มน้ำที่ผ่านการต้มและกรอง แทนน้ำขวด เพื่อช่วยลดอนุภาคไมโครพลาสติกได้ถึง 84%

4. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

  • ใช้ผลิตภัณฑ์จากวัสดุย่อยสลายได้หรือเส้นใยธรรมชาติ

  • เลือกเสื้อผ้าทำจากผ้าธรรมชาติแทนผ้าใยสังเคราะห์

  • รักษาความสะอาดภายในบ้าน ลดการสะสมของขยะพลาสติก

แม้ไมโครพลาสติกจะเล็กจนมองไม่เห็น แต่ผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวนั้นไม่อาจมองข้ามได้ หากใส่ใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเล็กน้อยในชีวิตประจำวัน ก็สามารถลดความเสี่ยงจาก “พลาสติกในร่างกาย” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เซอร์ไพรส์กับ 2 พืชที่ช่วย \

เซอร์ไพรส์กับ 2 พืชที่ช่วย "กรอง" ไมโครพลาสติกในน้ำ ได้มากถึง 90% ไทยมีครบทั้งคู่!

เซอร์ไพรส์กับ 2 อาหารจากธรรมชาติ ที่ช่วยกรองไมโครพลาสติกได้ถึง 90% ในน้ำ เมืองไทยหาซื้อได้ครบทั้งคู่!

ภัยเงียบ \

ภัยเงียบ "เครื่องปรุง" ที่มีทุกบ้าน นอกจากไม่ดีต่อไต ยังเต็มไปด้วย "ไมโครพลาสติก"

เครื่องปรุงที่ทุกบ้านขาดไม่ได้ วัตถุดิบสำคัญของคนทั่วโลก นอกจากไม่ดีต่อไต ยังเต็มไปด้วย "ไมโครพลาสติก"

\

"พายุไมโครพลาสติก" แฝงอยู่ในเครื่องครัว 5 ชนิด หลายคนไม่รู้ ยังใช้กันอยู่ทุกวัน

รู้ไว้ดีกว่า "พายุไมโครพลาสติก" ที่ซ่อนอยู่ในเครื่องครัว 5 ชนิด รอจังหวะทำลายสุขภาพทั้งครอบครัวโดยไม่รู้ตัว

ระวัง! กินอาหารชนิดนี้บ่อยๆ เสี่ยงไมโครพลาสติกสะสมในสมอง หมอเผย ยังไม่กล้ากิน

ระวัง! กินอาหารชนิดนี้บ่อยๆ เสี่ยงไมโครพลาสติกสะสมในสมอง หมอเผย ยังไม่กล้ากิน

กินอาหารชนิดนี้บ่อย ๆ อาจเสี่ยงไมโครพลาสติกสะสมในสมอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรม ยอมรับ "ผมยังไม่กล้ากิน"

แพทย์อเมริกัน เตือนเครื่องครัวที่ “ควรทิ้ง” ซ่อนสารก่อมะเร็ง คนไทยหลายบ้านยังใช้!

แพทย์อเมริกัน เตือนเครื่องครัวที่ “ควรทิ้ง” ซ่อนสารก่อมะเร็ง คนไทยหลายบ้านยังใช้!

เช็กกันหน่อย! แพทย์อเมริกันเตือน เครื่องครัวที่ “ควรทิ้ง” ซ่อนสารก่อมะเร็ง ใช้กันอยู่แทบทุกบ้าน