เนื้อหาในหมวด ข่าว

เตือนภัยเงียบ \

เตือนภัยเงียบ "ตะกั่ว" ไร้สี-กลิ่น แต่ทำลายสมองเด็ก พัฒนาการล่าช้า ซ่อนอยู่ 5 สิ่งในบ้าน!

อย่ามองข้าม! เตือนภัย 5 ของใช้ในบ้านที่เสี่ยงมี "สารตะกั่ว" แฝงอยู่ ทำลายสมอง-ชะลอพัฒนาการเด็ก

หลายคนอาจคิดว่าสารตะกั่วเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงแล้ว มันอาจซ่อนอยู่ในของใช้รอบตัวในบ้านเรานี่เอง และที่น่ากลัวคือ ผลกระทบจากสารตะกั่วไม่ได้แค่ทำให้ไม่สบาย แต่ถึงขั้น "ทำลายสมองเด็ก" และรบกวนการเจริญเติบโตได้ถาวร

องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้ "สารตะกั่ว" เป็น 1 ใน 10 สารเคมีอันตรายที่มนุษย์ควรหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด เพราะแม้ในปริมาณน้อยก็สามารถทำลายร่างกายได้หลายระบบ โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ร่างกายยังบอบบาง

ทำไมสารตะกั่วถึงอันตรายกับเด็กเป็นพิเศษ? เด็กมีระบบเผาผลาญที่เร็ว และอวัยวะกำจัดสารพิษอย่างตับและไตยังทำงานไม่เต็มที่ ทำให้ขับสารตะกั่วออกจากร่างกายได้น้อย และเสี่ยงต่อการ "สะสมในร่างกาย" มากกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า นอกจากนี้ สารตะกั่วยังส่งผลต่อพัฒนาการสมองโดยตรง เสี่ยงต่อภาวะสมาธิสั้น ความจำแย่ และพฤติกรรมก้าวร้าวโดยไม่รู้ตัว หากได้รับในปริมาณมาก อาจถึงขั้นชักหรือหมดสติได้เลย

ผลกระทบของสารตะกั่วต่อร่างกาย

  • สมองและระบบประสาท: เด็กอาจมีพฤติกรรมผิดปกติ สมาธิสั้น เรียนรู้ช้า หรือแม้แต่มีพฤติกรรมก้าวร้าวโดยไม่รู้ตัว

  • การเจริญเติบโต: ทำให้ร่างกายเติบโตช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน มีปัญหากระดูก และฮอร์โมนการเจริญเติบโตลดลง

  • เลือด: เสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง หน้าซีด เพลียบ่อย

  • ระบบย่อยอาหาร: ทำให้เบื่ออาหาร ปวดท้องบ่อย และดูดซึมสารอาหารได้น้อยลง

  • ไตและภูมิคุ้มกัน: ทำให้ไตทำงานหนัก และเด็กเจ็บป่วยง่ายขึ้นจากภูมิคุ้มกันที่ลดลง

ระวัง! 5 ของใช้ในบ้านที่อาจมี "สารตะกั่ว" ซ่อนอยู่

  • ยาสมุนไพรพื้นบ้านบางชนิด – โดยเฉพาะยาต้ม ยาลูกกลอนที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน

  • เครื่องครัวเคลือบสี – เช่น จานชามเคลือบเงาราคาถูก หรือของตกแต่งที่มีสีสันสดใส

  • อาหารบางประเภท – อย่างข้าวโพดคั่วแบบโบราณ ไข่ดอง หรืออาหารที่หมักเก็บไว้นาน

  • ของเล่นเด็กและเครื่องสำอางราคาถูก – โดยเฉพาะของที่ไม่ได้ผ่านมาตรฐาน อย. หรือไม่มีฉลากภาษาไทย

  • แหล่งอื่นในชีวิตประจำวัน – เช่น ควันบุหรี่, ควันรถ, ท่อน้ำเก่า, กระดาษฟอยล์ หรือแม้แต่ฝุ่นในบ้านที่มีสีผนังเก่าหลุดลอก

  • วิธีป้องกันลูกน้อยจากสารตะกั่วแบบง่ายๆ

    • เสริมอาหารที่มีแคลเซียม, ธาตุเหล็ก และสังกะสี เช่น นม เต้าหู้ ตับ ไข่ และผักผลไม้สด เพื่อช่วยลดการดูดซึมสารตะกั่วในร่างกาย

    • ฝึกนิสัยล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนกินข้าวและหลังเล่นของเล่น

    • แยกเสื้อผ้าผู้ใหญ่ที่ทำงานเสี่ยงสารพิษออกจากเสื้อผ้าเด็ก และควรอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนเข้าใกล้ลูก

    • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม หรือบ้านที่ใช้เตาถ่าน ควรเปิดหน้าต่างระบายอากาศบ่อย ๆ

    • หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะเก่าและของใช้ที่ไม่ได้รับรองความปลอดภัย เช่น แก้วเคลือบสี, กล่องดีบุก หรือของเล่นไม่มีมาตรฐาน

    สารตะกั่วไม่มีประโยชน์แม้แต่นิดเดียวต่อร่างกายเรา ระดับปลอดภัยของสารตะกั่วในเลือดคือ “ศูนย์” แปลว่ายิ่งไม่มีเลยยิ่งดี เพราะไม่มีระดับที่เรียกว่า “ปลอดภัย” ได้จริงๆ ถ้าเราไม่ใส่ใจ... สารพิษเหล่านี้อาจส่งผลกับเด็กในแบบที่ยากจะแก้ไขได้ภายหลัง

    สารตะกั่วอาจเป็นภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในบ้านโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะกับเด็กที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ การรู้เท่าทัน ปรับพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน และใส่ใจเรื่องโภชนาการและความสะอาด ก็ช่วยปกป้องลูกน้อยจากอันตรายระยะยาวได้แล้ว

     

    ยายหาวิธีช่วย ด.ญ.วัย 2 ขวบ นอนไม่หลับ หมออึ้ง ตรวจพบสารตะกั่วในเลือดสูงปรี๊ด

    ยายหาวิธีช่วย ด.ญ.วัย 2 ขวบ นอนไม่หลับ หมออึ้ง ตรวจพบสารตะกั่วในเลือดสูงปรี๊ด

    เด็กหญิงวัย 2 ขวบ นอนไม่หลับ คุณยายหาทางช่วย หมอตรวจร่างกายพบสารตะกั่วในเลือดสูงปรี๊ด ชาวเน็ตอึ้ง ความเชื่อผิด ๆ ทำร้ายหลานไม่รู้ตัว