
"พ่อแม่หย่ากัน จะอยู่กับใคร?" ลูกรัก 5 ขวบเลือกไม่ลังเล มีเหตุผลข้อเดียว แม่ฟังจบจุกทั้งใจ!
คำตอบของลูกชาย 5 ขวบ เมื่อถูกถาม "ถ้าแม่กับพ่อหย่ากัน หนูจะอยู่กับใคร?" เลือกได้ด้วยเหตุผลข้อเดียวแบบไม่ลังเล แม่ฟังแล้วหน้าชาใจสลาย
เมื่อสถานการณ์ภายในครอบครัวดำเนินมาถึงจุดหนึ่งที่ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีกต่อไป หลายครอบครัวอาจเคยตั้งคำถามกับลูกว่า หากพ่อแม่เลิกรากัน ลูกจะเลือกอยู่กับใคร? แต่คำตอบของเด็กชายวัย 5 ขวบคนหนึ่งจากจีน กลับทำให้แม่รู้สึกเจ็บปวดและสะเทือนใจอย่างที่สุด
ในคลิปวิดีโอที่กำลังเป็นกระแสในโซเชียลมีเดียจีน ผู้เป็นแม่เอ่ยถามลูกชายว่า “ถ้าแม่กับพ่อหย่ากัน ลูกอยากอยู่กับใคร?” และเด็กชายตัวน้อยก็ตอบอย่างตรงไปตรงมาทันทีว่า “หนูเลือกพ่อ เพราะพ่อมีเงิน!” คำตอบนั้นทำให้แม่ถึงกับช็อก รอยยิ้มบนใบหน้าหยุดนิ่งทันที และแทบจะเปลี่ยนกลายเป็นน้ำตาที่ไหลออกมาแทน
หลังจากคลิปเผยแพร่ออกไป มีชาวเน็ตแสดงความคิดเห็นว่า “ไม่ใช่ความผิดของเด็ก แต่เป็นเพราะการเลี้ยงดูของผู้ใหญ่ที่ผิดพลาด” บางคนเสริมว่า “เด็กที่ถูกเลี้ยงโดยปู่ย่าตายายตั้งแต่เล็ก มักจะเย็นชาและมองโลกในแง่ประโยชน์มากกว่า เพราะไม่ได้สัมผัสความอบอุ่นจากการมีพ่อแม่อยู่เคียงข้าง”
ขณะเดียวกันคุณแม่หลายคนก็ได้บอกเล่าถึงความเหน็ดเหนื่อยตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ เริ่มตั้งแต่ที่ต้องไปหาหมอคนเดียว ทนทุกข์กับอาการแพ้ท้อง ร้อนหนาวลำบาก ผ่านการคลอดที่เจ็บปวดเป็นสิบชั่วโมง จากผู้หญิงที่เคยแต่งตัวสวย ไปทำงาน ดูแลตัวเอง กลายเป็นแม่ลูกอ่อนที่ต้องพักงาน สูญเสียเวลาส่วนตัวจนแทบไม่มีเวลานอน ทุกวันแม่ต้องทำอาหาร ซักผ้า กล่อมลูก จนแทบไม่มีเวลาหายใจ แต่สิ่งที่ลูกจำได้กลับเป็นประโยคเดียวว่า “พ่อมีเงิน”
- นักจิตวิทยาชื่อดัง เตือนผัว-เมียทะเลาะกัน "อย่าพูดประโยคนี้" ถ้าไม่อยากทำลายชีวิตลูก!
- แม่แทบขาดใจ ดิ้นรนเลี้ยงลูกมา 8 ปี จู่ๆ ผัวรวยกลับมา ลูกทิ้งแม่ทันที เผยไม่ใช่แค่เพราะเงิน
นี่ไม่ใช่เพียงคำพูดของเด็กที่ไร้เดียงสา แต่สะท้อนภาพจริงในครอบครัว ที่การสื่อสารและการเลี้ยงดูอาจล้มเหลว หลายคนพากันพูดคุยในประเด็นการตั้งคำถามที่ว่า ทำไมเด็กถึงเลือก “พ่อที่มีเงิน” ไม่ใช่ “แม่ที่ฟูมฟัก”
บางทีเด็กอาจมองว่าพ่อเป็นคนที่ซื้อของเล่น จ่ายค่าอาหารให้ได้อย่างง่ายดาย ขณะที่แม่มักพูดว่า “ห้าม” “แพงเกินไป” “ไม่ซื้อให้” ในสายตาเด็กพ่อจึงเป็นคนที่ทำได้ทุกอย่าง ส่วนแม่เป็นคนคอยห้ามปราม เหมือนกับการเลือกว่าจะกินอาหารสุขภาพที่ไม่อร่อย กับของทอดที่อร่อยกว่า เด็กจะเลือกอย่างหลัง เพราะพวกเขาไม่รู้จักสุขภาพดีหรือไม่ดี แต่รู้ว่าความสุขชั่วคราวคืออะไร ดังนั้น
อย่าทำทุกอย่างแทนลูก
ให้ลูกเรียนรู้ว่าของทุกอย่างไม่ได้มาเอง ต้องรับผิดชอบงานบ้าน ดูแลสัตว์เลี้ยง หรือช่วยคนในครอบครัว เพื่อให้รู้จักความเหน็ดเหนื่อยและเห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้รับ
อย่านำความรักมาเป็นเครื่องมือกดดัน
ความรักต้องแสดงออกด้วยการกระทำ ไม่ใช่แค่คำพูด “แม่เหนื่อยเพื่อหนู” ซ้ำๆ เพราะจะทำให้ลูกเบื่อหน่ายและไม่เข้าใจ
ใช้เวลากับลูกอย่างมีคุณภาพ
ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนนอน เล่นด้วยกัน พูดคุย หรือทำกิจกรรมร่วมกัน สิ่งเหล่านี้จะสร้างความผูกพันที่แท้จริง และทำให้ลูกจดจำความรักที่แท้จริง
ในขณะเดียวกัน เมื่อเด็กพูดประโยคที่ทำให้ผู้ใหญ่เจ็บปวด แทนที่จะโกรธหรือเสียใจ ลองถามตัวเองว่า เราได้แสดงความรักอย่างเต็มที่หรือยัง? เราเลี้ยงดูด้วยความอบอุ่นและความเข้าใจจริงหรือเปล่า? เราให้เวลาและความใส่ใจมากพอหรือยัง? เพราะท้ายที่สุดแล้ว พฤติกรรมของเด็ก คือภาพสะท้อนของการเลี้ยงดูและความสัมพันธ์ในครอบครัว