เนื้อหาในหมวด ข่าว

หนุ่มวัย 36 น้ำตาตก \

หนุ่มวัย 36 น้ำตาตก "ไตวาย" เพราะดื่มสิ่งนี้แทนน้ำเปล่า คิดว่าดีต่อสุขภาพ แต่ทำร่างพัง

ป่วยไตวายตอนอายุ 36! ชายหนุ่มเผยความเสียใจ “เพราะดื่มสิ่งนี้แทนน้ำเปล่า คิดว่าดีต่อสุขภาพ แต่สุดท้ายพังทั้งร่าง”

ชายวัย 36 ปี ในไต้หวัน ต้องช็อก เมื่อไปตรวจสุขภาพแล้วพบว่าตัวเองเป็นโรคไตวาย พร้อมกับเบาหวานชนิดที่ 2 โดยไม่เคยรู้ตัวมาก่อน

ดร.กั๋ว ซิงเหม่ย จากโรงพยาบาลจางฮว่า ไต้หวัน ได้เปิดเผยกรณีของผู้ป่วยชายวัย 36 ปีรายหนึ่งที่ป่วยเป็นโรคไตวายและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

ผู้ป่วยชื่อ เถิน หลิง มาพบแพทย์เพราะมีอาการปัสสาวะกลางคืนบ่อยจนทำให้นอนไม่เต็มอิ่มและอ่อนเพลีย ซึ่งเขาต้องเผชิญกับอาการนี้มานานเกือบ 1 ปี

ผลตรวจเลือดพบว่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ของเขาสูงถึง 13% ซึ่งเกินค่าปกติอย่างมาก แพทย์จึงวินิจฉัยว่าเขาเป็นเบาหวานชนิดที่ 2

นอกจากนี้ ผลตรวจระดับโปรตีนไมโครอัลบูมินในปัสสาวะอยู่ที่ 42 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ค่าปกติต้องต่ำกว่า 30 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) บ่งชี้ว่ามีความผิดปกติของไต เมื่อตรวจเชิงลึกด้านการทำงานของไตจึงพบว่า เขาเป็นไตวายจากภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานชนิดที่ 2

แพทย์เผยต้นเหตุเบาหวานชนิดที่ 2 และไตวาย

หลังซักประวัติผู้ป่วย ดร.กั๋ว ซิงเหม่ย พบว่าคุณเถินมีพฤติกรรมดื่มชาแบบผิดสุขภาพ

เจ้าตัวเล่าว่า “ผมชอบดื่มชาแดงใส่น้ำตาลที่ทางซูเปอร์มาร์เก็ตแถวบ้านแจกฟรีมาก ๆ ผมมักเอากระติกใหญ่ไปตักกลับมาดื่มแทนน้ำเปล่า เพราะคิดว่าชาแดงดีต่อสุขภาพ”

ดร.กั๋ว ซิงเหม่ย อธิบายว่า แม้ชาแดงจะดีต่อสุขภาพ แต่ถ้าเติมน้ำตาลเข้าไปและดื่มในปริมาณมาก โดยเฉพาะดื่มแทนน้ำเปล่าเหมือนคุณเถิน ก็ยิ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูง

เมื่อร่างกายรับน้ำตาลมากเกินไป น้ำตาลเหล่านี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ทำให้ไขมันสะสมในช่องท้องเพิ่มขึ้น และนำไปสู่ภาวะดื้อต่ออินซูลิน หากปล่อยไว้นานจะกลายเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

นอกจากนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงต่อเนื่อง ทั้งจากการดื่มน้ำหวานบ่อยหรือจากโรคเบาหวานเอง ยังทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อกรองของเสียออกจากเลือด สุดท้ายเนื้อเยื่อไตจะเสื่อม สะสมพังผืด และกลายเป็นไตวายในที่สุด

เมื่อได้ฟังคำอธิบายจากแพทย์ คุณเถินรู้สึกเสียใจมากและกล่าวว่า “ผมนึกว่าถึงจะใส่น้ำตาล ชาแดงก็ยังดีต่อสุขภาพอยู่ เลยดื่มแทนน้ำเปล่าทุกวัน ไม่คิดเลยว่าพฤติกรรมนี้จะทำร้ายระดับน้ำตาลในเลือดกับไตได้ขนาดนี้”

หลังจากนั้นแพทย์ได้แนะนำให้เขาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน พร้อมจ่ายยาควบคุมระดับน้ำตาลและดูแลเรื่องโรคไต พร้อมกำชับให้มาตรวจติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับยาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย

ดร.กั๋ว ซิงเหม่ย ระบุว่า จากการตรวจร่างกายครั้งล่าสุด สุขภาพของคุณเถินดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งเบาหวานและไตวายสามารถควบคุมได้ดี และยังไม่พบสัญญาณว่าตัวโรคจะทรุดลงอีก