เนื้อหาในหมวด ข่าว

วางเครื่องปรุง \

วางเครื่องปรุง "ข้างเตา" ได้ไหม? แบบไหนต้องแช่ vs ห้ามแช่ตู้เย็น หลายคนทำผิดเสี่ยงโรค!

อย่าวาง "ขวดเครื่องปรุง" ไว้ข้างเตา! ผู้เชี่ยวชาญเตือนพฤติกรรมผิดพลาดในครัว เสี่ยงเชื้อรา-สารก่อมะเร็งแบบไม่รู้ตัว

หลายคนมักวางขวดเครื่องปรุงไว้ข้างเตาเพราะ “หยิบใช้สะดวก” แต่รู้หรือไม่ว่า พฤติกรรมนี้อาจเป็นต้นตอของความเสี่ยงด้านสุขภาพโดยไม่รู้ตัว ทั้งเรื่องของการปนเปื้อนเชื้อโรค รวมถึงสารพิษที่อาจก่อมะเร็ง

เครื่องปรุงถือเป็นหัวใจของการปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเมนูบ้าน ๆ หรืออาหารหรูระดับภัตตาคาร รสชาติอร่อยล้วนต้องมีเครื่องปรุงช่วยเสริม แต่หากเก็บผิดที่ผิดทาง ก็อาจทำให้สารอาหารเสื่อม หรือเกิดเชื้อราและสารพิษได้โดยไม่ตั้งใจ

ไม่ใช่ทุกอย่างต้องเข้าตู้เย็น แต่บางชนิดจำเป็นอย่างยิ่ง! แล้วเครื่องปรุงแบบไหน “ต้องแช่ตู้เย็น”? ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า เครื่องปรุงบางประเภทต้องแช่เย็นทันทีหลังเปิดใช้ โดยเฉพาะดังต่อไปนี้

1. กลุ่มที่มีการ “หมักดอง” หรือใช้จุลินทรีย์ช่วยหมัก เช่น เต้าเจี้ยว, ซอสถั่วเหลืองหมัก, เต้าหู้ยี้ ฯลฯ หลังเปิดฝา หากวางไว้ในอุณหภูมิห้อง จะเกิดการหมักต่อเนื่อง เสี่ยงบูด เสีย หรือปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่าย

2. กลุ่มที่มี “โปรตีนสูง-ความชื้นมาก” เช่น มายองเนส, ซอสสลัด, น้ำสลัดครีม, น้ำจิ้มซีฟู้ด ฯลฯ เหล่านี้คือแหล่งอาหารของแบคทีเรียและเชื้อรา หากไม่ได้แช่เย็น อาจเกิดสารอันตรายอย่าง อะฟลาท็อกซิน ที่เป็นสารก่อมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งตับ

สรุปวิธีเก็บเครื่องปรุงแต่ละชนิดอย่างปลอดภัย

  • แบบผง/บด (เช่น พริกป่น, พริกไทย, ขิงผง): ปิดฝาให้สนิท วางในที่แห้งและเย็น หลีกเลี่ยงแสงแดด

  • แบบเม็ด/แห้ง (เช่น เกลือ, น้ำตาล): ควรเก็บในภาชนะปิดสนิท เพื่อป้องกันความชื้น

  • แบบน้ำ (เช่น น้ำปลา, ซีอิ๊ว, น้ำส้มสายชู): วางในที่เย็น ไม่โดนแดด ใช้ขวดแก้วจะดีที่สุด

  • แบบซอสหรือเข้มข้น (เช่น น้ำจิ้ม, ซอสมะเขือเทศ, ซอสหอยนางรม): หลังเปิดขวด ควรแช่ตู้เย็น

  • ของสด (เช่น หอมแดง, กระเทียม, ขิง, ตะไคร้): ซื้อน้อย ใช้เร็ว อย่ากักตุนจนเหี่ยวหรือขึ้นรา

เคล็ดลับการใช้เครื่องปรุงอย่างปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ

  • ตวง “เกลือ” และ “น้ำปลา” ด้วยช้อนหรือถ้วย อย่ารินตามความรู้สึก

  • พยายามปรุงให้น้อยลง โดยเพิ่มรสชาติจากวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น มะนาว ขิง พริก

  • เติมเกลือหรือน้ำปลาเมื่ออาหารใกล้สุก เพื่อให้รสชาติซึมซาบเร็ว ใช้ปริมาณน้อยลง

  • อย่าลืมว่าเครื่องปรุงบางชนิด (เช่น ซีอิ๊ว, ซอสปรุงรส) มี “เกลือแฝง” ต้องนับรวมในโควตาโซเดียมต่อวันด้วย

หยุดวางเครื่องปรุงไว้ข้างเตา! ความร้อนจากเตานอกจากจะทำให้เครื่องปรุงเสื่อมคุณภาพ ยังเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย โดยเฉพาะในขวดที่เปิดแล้ว หากปิดฝาไม่สนิทหรือสัมผัสความชื้นซ้ำซาก จะกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคโดยไม่รู้ตัว

เริ่มต้นจากเรื่องเล็กๆ อย่างการย้ายขวดเครื่องปรุงจากข้างเตาไปเก็บให้เหมาะสม อาจช่วยให้บ้านคุณปลอดภัยขึ้นกว่าที่คิด เพราะสุขภาพที่ดีเริ่มต้นที่ครัวสะอาดและปลอดภัยนั่นเองค่ะ