เนื้อหาในหมวด ข่าว

ฉี่เป็นหนอน! ชายกรีดร้องขอความช่วยเหลือ แพทย์เห็นแค่ กกน.ก็รู้สาเหตุทันที

ฉี่เป็นหนอน! ชายกรีดร้องขอความช่วยเหลือ แพทย์เห็นแค่ กกน.ก็รู้สาเหตุทันที

ชายปัสสาวะออกมาเป็น “หนอนแมลงวัน” ตกใจร้องขอความช่วยเหลือ แพทย์เห็นแค่กางเกงในก็รู้ทันทีว่าเกิดจากอะไร!

เว็บไซต์ SOHA รายงานกรณีประเด็นพูดคุยบนโซเชียลเน็ตเวิร์กของจีน หลังจากมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้โพสต์บทความสั้นๆ บนเพจของเขาเพื่อเตือนให้ทุกคนใส่ใจกับประเด็นเรื่องสุขอนามัยของชุดชั้นใน โดยถึงกรณีชายคนหนึ่งที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปัสสาวะบ่อยและแสบขัด เมื่อส่งตรวจพบว่ามีหนอนแมลงวันจำนวนมากอยู่ในปัสสาวะ สร้างความตกใจให้ทั้งคนไข้และแพทย์

หนอนในปัสสาวะมาได้อย่างไร? หลังสอบถามประวัติเพิ่มเติมแพทย์พบว่า ชายคนนี้ตากกางเกงในในพื้นที่ไม่สะอาด ทำให้แมลงบางชนิดเข้าไปวางไข่บนเนื้อผ้า และไข่เหล่านั้นอาจเล็ดลอดเข้าสู่ร่างกายผ่านทางท่อปัสสาวะขณะสวมใส่

โดยทั่วไปหากกางเกงในสะอาดและได้รับแสงแดดเพียงพอ โอกาสที่แมลงจะมาวางไข่ก็น้อยมาก แต่หากตากชุดชั้นในในห้องน้ำ, พื้นที่อับชื้น หรือที่มีแมลงวันจำนวนมาก โอกาสที่ไข่แมลงวันหรือยุงจะเกาะติดผ้าและฟักเป็นหนอนก็เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งไข่แมลงที่พบได้บ่อยบนผ้าคือ ไข่แมลงวันและยุง ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีของเสีย, ความชื้น และแสงแดดน้อย เช่น ห้องน้ำสาธารณะ, ท่อระบายน้ำ หรือบริเวณที่มีขยะหมักหมม

แมลงสามารถวางไข่เข้าทาง "ร่างกาย" ได้จริงหรือ? แม้แมลงส่วนใหญ่จะไม่วางไข่ในร่างกายคนโดยตรง แต่มีบางกรณีที่เรียกว่า “การเป็นปรสิตโดยบังเอิญ (accidental parasitism)” ซึ่งไข่แมลงอาจติดผ้าและเมื่อตัวอ่อนฟักตัวแล้ว อาจคลานเข้าสู่ร่างกายทางท่อปัสสาวะ, ช่องคลอด, ทวารหนัก โดยเฉพาะในเด็กผู้หญิง หรือผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ช่องทางเหล่านี้อาจเป็นจุดเสี่ยงได้มากกว่า

ทั้งนี้ จากรายงานกรณีศึกษาพบว่า ตั้งแต่ปี 1959 มีเพียง 8 รายทั่วโลก ที่พบการติดเชื้อหนอนในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งถือว่า “น้อยมาก”

การติดเชื้อจากหนอนแมลงวัน อาการทั่วไปจะคล้ายโรคทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย/แสบขัด, ปวดท้องน้อย, คัน/แสบในจุดซ่อนเร้น, อาการผิดปกติระหว่างมีเพศสัมพันธ์, มีสารคัดหลั่งแปลกๆ หรือหนอนปะปนออกมา ในกรณีที่หนอนเริ่มเจริญเติบโตในร่างกาย ผู้ป่วยอาจรู้สึกคล้าย “มีอะไรไต่ในร่างกาย” และอาจพบตัวอ่อนในปัสสาวะหรืออุจจาระ

แนะนำวิธีดูแลสุขอนามัยชุดชั้นในอย่างถูกต้อง

  • เปลี่ยนชุดชั้นในทุกวัน

    • ไม่ควรใช้เกิน 6 เดือน

    • หลีกเลี่ยงการใส่ซ้ำแม้จะดูไม่สกปรก

  • ซักแยกต่างหากจากเสื้อผ้าอื่น ๆ

    • ใช้น้ำสบู่ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ

    • ขยี้ 3–5 นาทีเพื่อฆ่าเชื้อโรค

  • ตากแดดจัดเท่านั้น

    • หลีกเลี่ยงการตากในห้องน้ำหรือที่อับชื้น

    • หากฝนตกหรืออากาศชื้น ใช้ไดร์เป่าร้อนช่วยฆ่าเชื้อ

  • ไม่ควรตากชุดชั้นในใกล้ชักโครกหรือถังขยะ

    • เพราะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันและยุง

  • แม้เคสแบบนี้จะพบได้น้อยมาก แต่ก็สะท้อนให้เห็นว่าสุขอนามัยของชุดชั้นในเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่แค่เรื่องกลิ่นหรือความสะอาดภายนอก แต่มีผลต่อ “สุขภาพภายใน” โดยตรง และถ้ามีอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที!