เนื้อหาในหมวด หนัง-ละคร

ซีรีส์ Snowpiercer เงื่อนไขของรถไฟแห่งความไม่เท่าเทียม

ซีรีส์ Snowpiercer เงื่อนไขของรถไฟแห่งความไม่เท่าเทียม

ซีรีส์เรื่องล่าสุดที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ของสหรัฐอเมริกาทางช่อง TNT ซึ่งสตรีมมิ่ง Netflix ได้นำมาฉายตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมาจนครบความยาวทั้งหมด 10 ตอนนี้ซีซั่นแรกเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดย Snowpiercer ว่าด้วยรถไฟที่เป็นดั่งเรือโนอาห์ที่บรรทุกผู้รอดชีวิตกลุ่มสุดท้ายของโลกไว้และออกเดินทางรอบโลกท่ามกลางสภาวะยุคน้ำแข็งอันแสนหนาวเหน็บ

Snowpiercer ได้รับการดัดแปลงมาจากนิยายภาพเรื่อง “Le Transperceneige” ของ Jacques Lob และ Jean-Marc Rochette โดยเวอร์ชั่นที่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปคือเวอร์ชั่นของผู้กำกับ บงจุนโฮ ในปี 2013 นำแสดงโดย คริส อีแวนส์ ทิลดา สวินตัน เจมี เบลล์ ซอง คังโฮและเอ็ด แฮร์ริส โดยหนังใช้ต้นทุนในการสร้างประมาณ 40 ล้านเหรียญฯ และสามารถทำรายได้ไปทั่วโลกอยู่ที่ 86 ล้านเหรียญฯ

สำหรับเวอร์ชั่นทีวีซีรีส์นั้นออกฉายทางช่อง TNT ในสหรัฐอเมริกาช่วงวันที่ 17 พฤษภาคมปี 2020 โดยยึดโครงสร้างมาจากเวอร์ชั่นนิยายและเวอร์ชั่นภาพยนตร์ของบง จุนโฮ Snowpiercer ผ่านการพัฒนาบทและเรื่องราวกว่า 3 ปี ก่อนจะเกิดประเด็นความล่าช้าเนื่องจากบรรดาโปรดิวเซอร์มีความเห็นที่ไม่ลงรอยกันจนกระทั่งปี 2019 ทางช่อง TNT ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าซีรีส์เรื่องนี้พร้อมจะออกสู่สายตาของผู้ชมช่วงต้นปี 2020

สำหรับเรื่องราวในซีรีส์ Snowpiercer เริ่มต้นเรื่องราว 7 ปีหลังจากเหตุการณ์หายนะเมื่อโลกมนุษย์ถูกปกคลุมไปด้วยสภาพอากาศเป็นขั้วโลก ซึ่งมนุษย์จะไม่สามารถมีชีวิตรอดบนพื้นดินที่มีอุณหภูมิติดลบหลายองศา อย่างไรก็ตามยังมีนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อว่ามิสเตอร์วิลฟอร์ดผู้ประดิษฐ์คิดค้นขบวนรถไฟความยาวกว่า 1001 โบกี้ที่ใช้เวลาเดินทางรอบโลกภายในเวลา 133 วัน เพื่อรักษาอุณหภูมิของสิ่งมีชีวิต ตัวรถไฟจึงต้องมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีวันหยุดพัก

บน 1001 โบกี้ผู้โดยสารจะถูกแบ่งออกตามชนชั้น วรรณะ และเนื่องด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดจำเขี่ย ทำให้มนุษย์บนรถจักรดังกล่าวไม่ได้รับความเท่าเทียมกันตามระบอบประชาธิปไตยอย่างที่พวกเขาเคยรู้จักหรือคุ้นชินมาก่อนภาวะโลกล่มสลาย

เมลานี คาวิลล์ (เจนนิเฟอร์ คอนเนลลี่) คือหัวหน้าฝ่ายบริการต้อนรับของสโนว์เพียร์ซเซอร์ อีกทั้งยังเป็นโฆษกประจำรถไฟในการประกาศข่าวสารในแต่ละวันที่ผู้โดยสารจำเป็นต้องรับทราบ งานของเธอไม่ใช่แค่เพียงต้องรับมือกับผู้โดยสารชั้นหนึ่งที่หัวขบวนรถไฟแต่ยังรวมไปถึงท้ายขบวนที่เป็นกลุ่มพวกลักลอบขึ้นรถไฟขบวนนี้มาแบบไม่มีตั๋วโดยสาร ตลอดระยะเวลาที่ซีรีส์เรื่องนี้ดำเนินไป เราก็ยิ่งได้เห็นว่าเมลานีนั้น “เป็นมาก” กว่าแค่หัวหน้ารถไฟ แต่เธอแทบจะเป็นหัวใจและจักรกลหลักที่ขับเคลื่อนให้สโนว์เพียร์ซเซอร์ให้วิ่งต่อไปได้เรื่อยๆโดยไม่ตกรางกลางทางไปเสียก่อน

ขณะที่อันเดร เลย์ตัน (ดาวีด ดิกส์) อดีตนักสืบซึ่งเขาเป็นหนึ่งในผู้โดยสารท้ายขบวนที่ขึ้นรถไฟมาแบบไม่มีตั๋วเดินทาง เขาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจะลุกขึ้นปฏิวัติการปกครองของรถไฟนี้อยู่เต็มแก่ ไม่นานนักเขาก็ได้รับข้อเสนอจากทางเมลานี คาวิลล์ในการให้ช่วยสืบคดีฆาตกรรมผู้โดยสารหัวขบวน เลย์ตันรู้ทันทีว่านี่คือโอกาสที่เขาจะขยายแผนการปฏิวัติที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้าให้สำเร็จ

ตัวละครหลักที่เป็นตัวชูโรง Snowpiercer ให้น้ำหนักสำคัญคือเมลานี คาวิลล์และอันเดร เลย์ตัน ที่เปรียบเสมือนเป็นขั้วตรงข้ามระหว่างแนวคิดในเชิงการเมืองอย่างชัดเจน สำหรับในมุมมองของเมลานีนั้น เธออาจจะปกครองและดูแลผู้โดยสารแต่ละคนในรูปแบบเผด็จการ (และตามฐานะทางการเงิน) ในขณะที่เลย์ตัน ต้องการความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรของขบวนรถไฟเฉกเช่นผู้โดยสารในชนชั้นอื่นๆ แบบระบอบประชาธิปไตย

ประเด็นสำคัญเราต้องวกกลับมาที่มีการมีอยู่ของขบวนรถไฟสโนว์เพียร์ซเซอร์ ว่าเครื่องจักรดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นพาหนะในการเอาชีวิตรอดสุดท้ายของมวลมนุษยชาติ ดังนั้นการขายตั๋วโดยสารจึงเป็นปัจจัยหลักที่ผู้โดยสารบนขบวนรถไฟจำเป็นจะต้องมี แต่เมื่อมีคนที่อยากรอดชีวิตบางกลุ่มได้แอบลักลอบขึ้นมาบนรถไฟ ดังนั้นเราจึงต้องพิจารณาความถูกต้องในแง่ของหลักตรรกะและความเป็นไปได้ว่าจริงๆแล้วรถไฟขบวนนี้ไม่ได้เป็นทางรอดชีวิตแบบเรือโนอาห์ตามพระคัมภีร์ไบเบิ้ล แต่มันคือการใช้เงินตราซื้อลมหายใจให้กับชีวิตมนุษย์มากกว่าความถูกต้องตามระบอบจริยธรรม

แน่นอนว่าในฐานะมนุษย์คนหนึ่งทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องการจะมีชีวิตรอด มีปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ทัดเทียมกับผู้คนอื่นๆในสังคม แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นบนขบวนรถไฟสโนว์เพียร์ซเซอร์นั้นเริ่มต้นจากการปฏิวัติของคนที่ลักลอบขึ้นมาบนรถไฟขบวนนี้อย่างไม่ถูกต้อง ดังนั้นน้ำหนักที่เราจะรู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกเขาจึงถูกลดทอนลงไปตามระยะเวลาที่ซีรีส์นี้ได้เผยให้เห็นมุมมองของทั้งฝั่งเมลานีและเลย์ตัน ว่าตกลงแล้วพวกเขากำลังต่อสู้อยู่กับอะไรกันแน่ระหว่างอุดมการณ์หรือการทำให้รถไฟขบวนนี้ยังสามารถวิ่งต่อไปได้โดยไม่ตกราง

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างเวอร์ชั่นหนังขนาดยาวของบง จุนโฮ ที่เหมือนจะวางตัวละครให้ค่อนข้างเป็นขาวกับดำที่ชัดเจน ทำให้ผู้ชมเลือกจะเอาใจช่วยตัวละครฝั่งท้ายขบวนมากกว่า แต่ในขณะที่เวอร์ชั่นซีรีส์ค่อนข้างทำให้ผู้ชม “เข้าใจ” สภาวะแวดล้อมที่ตัวละครทั้งสองฝั่งต้องเผชิญ จนบางทีเราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าก็แอบเอาใจช่วยให้เมลานีสามารถจัดการกับความวุ่นวายบนขบวนรถไฟนี้ให้ดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น เพราะท้ายซีซั่นแรกผู้ชมก็เริ่มจะมองเห็นด้วยซ้ำว่าในสภาวะ “ไร้ระเบียบ” นั้นนำมาซึ่งปัญหาอะไรบ้างและลุกลามบานปลายขนาดไหน

ซีรีส์ Snowpiercer ตอนนี้มีครบทั้ง 10 ตอนแล้วทาง Netflix ซึ่งดูแล้วได้อะไรให้คิดตามบ้างก็อย่างลืมแวะมาคุยกันนะครับ

รุ่นใหญ่ใจถึง Sean Bean โวย ตำแหน่งผู้ประสานงานฉาก Sex ทำให้เลิฟซีนไม่เป็นธรรมชาติ

รุ่นใหญ่ใจถึง Sean Bean โวย ตำแหน่งผู้ประสานงานฉาก Sex ทำให้เลิฟซีนไม่เป็นธรรมชาติ

กำลังเป็นประเด็นที่ร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากนักแสดงรุ่นใหญ่อย่าง Sean Bean ได้ออกมาระบายความหงุดหงิดกับสื่ออังกฤษอย่าง The Times ถึงการเข้ามาวุ่นวายมากเกินไปของตำแหน่ง Intimacy Coordinators ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานฉากเซ็กส์ ให้มีความปลอดภัย และสร้างความสบายใจต่อนักแสดง

จาก Parasite ถึง Child\'s Play วิบากกรรมของชนชั้นปรสิต

จาก Parasite ถึง Child's Play วิบากกรรมของชนชั้นปรสิต

หนังดราม่าระทึกขวัญสัญชาติเกาหลีอย่าง Parasite และหนังสยองขวัญรีเมคอย่าง Child’s Play ต่างก็มีจุดร่วมที่เชื่อมโยงกันอย่างพอเหมาะพอเจาะ เมื่อบรรดาตัวละครเอกของเรื่อง ต่างก็เป็น “ชนชั้นล่าง” ที่ประสบปัญหาคุณภาพชีวิตเข้าขั้นตกต่ำ มิหนำซ้ำพวกเขาก็เคราะห์ซ้ำกรรมซัดจากตัวแปรบางอย่างที่โผล่เข้ามาในชีวิตของพวกเขา

สวัสดี “ชนชั้นปรสิต” ใน Parasite

สวัสดี “ชนชั้นปรสิต” ใน Parasite

ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของผู้กำกับชาวเกาหลีอย่าง “บงจุนโฮ” ซึ่งมีผลงานหนังเรื่องดังอาทิ The Host หรือ หนังที่เขาข้ามน้ำ ข้ามทะเลไปกำกับให้กับฝั่งฮอลลีวูดอาทิ Snowpiercer และ Okja เป็นต้น โดยการกลับมาครั้งนี้กับ Parasite ถือเป็นหนังสัญชาติเกาหลีแบบเต็มตัว ที่รับประกันได้ว่า จะทำให้คนดูเหวอตลอดทั้งเรื่องที่รับชม