เนื้อหาในหมวด หนัง-ละคร

พระราชินี กับ ไมเคิล เฟแกน อีกบทเรียนจาก The Crown Season 4 โดย ก้อง ฤทธิ์ดี

พระราชินี กับ ไมเคิล เฟแกน อีกบทเรียนจาก The Crown Season 4 โดย ก้อง ฤทธิ์ดี

ยังคงเป็นซีรีส์เด่นประจำเดือนพฤศจิกายน The Crown Season 4 ละครจักรๆ วงศ์ๆ แบบเน้นเนื้อหาและคุณภาพระดับเพชรยอดมงกุฎของ Netflix ยังสร้างบทสนทนาต่อเนื่องในหมู่ผู้ชมทั้งในประเด็นเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง สังคมชนชั้น รวมทั้งการถกเถียงว่า โชว์นี้ “ตกแต่ง” เรื่องจริงของราชวงศ์วินด์เซอร์และการเมืองอังกฤษให้หวือหวามากน้อยแค่ไหนในแต่ละตอน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับตัวละครใหม่สองตัว คือ เจ้าหญิงไดอาน่า และนายกรัฐมนตรี มากาเรต แธทเชอร์

ด้วยรายละเอียดยิบย่อยที่เล่าได้หลายวันก็ไม่จบ วันนี้จึงขอยกเอพิโสดที่ 5 ที่มีชื่อว่า Fagan เพราะเป็นเอพิโสดที่ผู้เขียนชอบเป็นพิเศษ เล่าคร่าวๆ อย่างไม่สปอยล์ เอพิโสดนี้ว่าด้วยเหตุการณ์จริงในปี 1982 เมื่อนาย ไมเคิล เฟแกน ช่างทาสีตกอับจากชานเมืองลอนดอน แอบปีนกำแพงและลักลอบเข้าไปพระราชวังบัคกิ้งแฮม และดุ่มๆ เข้าไปถึงภายในห้องบรรทมของควีนอลิซาเบ็ธ โดยที่ไม่มียามหรือแม่บ้านสักคนเห็น เป็นเรื่องไม่น่าเชื่อที่เกิดขึ้นจริงและเป็นข่าวอื้อฉาวไปทั่วโลกว่าพระราชวังของประมุขที่มีการรักษาความปลอดภัยแน่นหนา ปล่อยให้ใครก็ไม่รู้แอบเข้าไปแบบนั้นได้อย่างไร

The Crown

ใน The Crown เอพิโสดที่ว่าด้วยเรื่องของนายเฟแกน เป็นมากกว่าเพียงเรื่องตื่นเต้นหรือฉาวโฉ่ แต่เป็นตอนที่เชื่อมโยงกับเส้นเรื่องอื่นๆ ของซีซั่นนี้ ที่ว่าด้วยสภาพเศรษฐกิจอันตกต่ำของอังกฤษในปลายยุค 70 ต่อถึงต้นทศวรรษ 80 และนโยบายการเงินอันเข้มงวด รวมทั้งการตัดสินใจเปิดสงครามเกาะฟอล์คแลนด์ ของนายกรัฐมนตรีแธตเชอร์

จุดเด่นของตอน Fagan ใน The Crown คือการพาคนดูออกจากบรรยากาศอึดอัดในรั้วในวัง ออกจากคฤหาสน์หรูหรา สนามโปโล หรือบ้านตากอากาศของเจ้าชายเจ้าหญิงในท้องเรื่อง และพาเราไปยังแฟลตชานเมืองซอมซ่อของชนชั้นแรงงาน ไปในผับแบบอังกฤษที่มีแต่คนงานเอะอะโวยวายสังสรรค์ ภาพเหล่านี้เตือนให้เราเห็นว่า ความหรูหราเว่อวังและอภิสิทธิ์ของชนชั้นสูงที่เราเห็นมาตลอดใน The Crown ถูกประคับประคองไว้ด้วยชนชั้นล่างที่ทำงานหนักแต่กลับไม่ได้มีชีวิตที่ดีขึ้นเท่าไหร่เลย ที่สำคัญกว่านั้นคือ นายเฟแกนเป็นหนึ่งในเหยื่อของมาตรการทางเศรษฐกิจอันโหดร้ายของนายกฯ แธตเชอร์ ที่ทำให้อัตราการว่างงานในอังกฤษพุ่งทะยานไปเป็นหลายล้านคนจากนโยบายขึ้นภาษี การแปรรูปสาธารณูปโภค การผลักดันภาคการผลิตให้ลดต้นทุน รวมทั้ง “ยาแรง” ทางเศรษฐกิจอื่นๆ อีกหลายขนาน ที่เล่นเอาชนชั้นแรงงานสะบักสะบอมไปนานนับสิบปี

The Crown

[สปอยเลอร์ในย่อหน้านี้] ในเหตุการณ์จริง เฟแกนเป็นคนมีประวัติปัญหาทางจิต เขารู้สึกท้อแท้ อับจนหนทาง มีปัญหาครอบครัว เพราะนั่งรถผ่านวังบัคกิ้งแฮมบ่อยๆ คืนหนึงเขาเลยจัดการปีนเข้าวัง และจับพลัดจับผลูเดินเข้าไปถึงห้องบรรทมของควีนอลิซาเบ็ธ โดยหวังว่าจะไปร้องเรียนถึงความลำบากที่เกิดขึ้นทั่วทุกหย่อมหญ้าจากการที่รัฐบาลเอาเงินไปทำสงครามและบริหารงานล้มเหลว รายงานบอกว่า ควีนอลิซาเบ็ธพูดกับเฟแกนเมื่อตื่นขึ้นมาเจอเขาอยู่ในห้อง แต่ทั้งสองไม่ได้ “สนทนา” กันจริงจังยืดยาวอย่างที่ในซีรี่ส์ทำให้เราเห็น แต่ถึงแม้ The Crown จะจินตนาการการพบกันของทั้งคู่ให้มากกเกินความจริง สิ่งที่บทต้องการทำให้เราเห็น คือการขับเน้นความลำบากและสภาพชีวิตของคนที่ถึงทางตัน ไม่เห็นทางออก

แฟนหนังน่าจะสังเกตได้ไม่ยากว่า เอพิโสดนี้มีความคล้ายคลึงในท่าทีและทัศนคติ กับหนังสะท้อนสังคมอังกฤษในยุค 80 และ 90 โดยเฉพาะหนังของเคน โลช ผู้กำกับที่ทำหนังเรื่องชนชั้นแรงงานของอังกฤษมาหลายสิบเรื่อง และมักมีฉากหลังเป็นซากปรักหักพังทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากระบบทุนนิยมเสรีสุดโต่งที่ทิ้งคนจำนวนมากไว้ข้างหลัง ไม่น่าแปลกใจว่า เคน โลช เป็นปฏิปักษ์ทางความคิดกับนายกฯ แธตเชอร์ และนโยบายการบริหารประเทศของเธอ เรื่องโด่งดังคือเมื่อแธตเชอร์เสียชีวิตในปี 2014 เคน โลช พูดทีเล่นทีจริงว่า งานศพของเธอไม่ควรใช้เงินหลวง แต่ควรใช้วิธี “แปรรูปให้เอกชน” โดยให้บริษัทมาประมูล เสนอราคา แล้วให้รัฐเลือกบริษัทที่เรียกราคาต่ำที่สุดได้สัมปทานงานศพไปโดยไม่ต้องสนใจคุณภาพ ไม่ต้องสนว่าบริษัทนั้นจะไปกดค่าแรงคนงานอีกต่อหรือเลย์ออฟคนงานเพื่อลดต้นทุน เพราะนี่คือสิ่งที่แธตเชอร์เคยทำกับรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ครั้งเธอยังมีอำนาจ มุกนี้ได้ใจสายแรงงานไม่น้อย (แธตเชอร์เป็นนายกฯ ที่มีคนเกลียดมากที่สุดคนหนึ่ง แต่บุคลิกแข็งกร้าวและนโยบายของเธอ ก็ได้ใจสายอนุรักษ์นิยมที่เชื่อว่าเธอทำให้อังกฤษฟื้นได้)

กลับมาที่เรื่องของไมเคิล เฟแกนและควีนอลิซาเบ็ธ เอพิโสดนี้ทำสิ่งที่เหลือเชื่อให้เราเห็น คือการที่บุคคลที่ทรงอำนาจที่สุดของประเทศต้องเผชิญหน้ากับคนที่ต่ำต้อย ไร้ค่า และไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองมีปากมีเสียงอะไรในการกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง ตอนนี้ของซีรี่ส์ยังเพิ่มมิติ เพิ่มความลึก ของเรื่องราวทั้งซีซั่น จากการเตือนให้เราจำได้ว่า อังกฤษ (เช่นเดียวกับทุกประเทศ) ไม่ได้มีแต่ความอลังการหรูหราแบบชนชั้นสูงเท่านั้น แต่เต็มไปด้วยคนหาเช้ากินค่ำปากกัดตีนถีบเพื่อให้ชีวิตตัวเองดีขึ้น

ตอนนี้เฟแกนยังมีชีวิตอยู่ เช่นเดียวกีบควีนอลิซาเบ็ธ ทั้งสองคงไม่มีโอกาสโคจรมาพบกันอีกแล้วในชาตินี้ – ยกเว้นเสียแต่ในโลกสมมุติของ The Crown

รวมผลงาน ณเดชน์-ญาญ่า เส้นทางความรักผ่านงานละคร จากคู่จิ้นสู่คู่จริง

รวมผลงาน ณเดชน์-ญาญ่า เส้นทางความรักผ่านงานละคร จากคู่จิ้นสู่คู่จริง

คู่รักนักแสดง ณเดชน์-ญาญ่า ประกาศข่าวดีกับแฟนๆ ผ่านทางโซเชียล สวมแหวนขอแต่งงานเรียบร้อยแล้ว แฟนๆ ร่วมยินดีกับความรักของคู่กันทั้งประเทศ เรามาย้อนเส้นทางการแสดงคู่กัน จากคู่จิ้นจนกลายเป็นคู่จริงและความรักสุดหวานชื่นในวันนี้

3 นาง 3 มง ลงที่ The Crown โดย แอดมินเพจกะเทยนิวส์

3 นาง 3 มง ลงที่ The Crown โดย แอดมินเพจกะเทยนิวส์

The Crown ซีรีส์แนว Dramatory ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างละครดราม่าและสารคดี ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของพระราชีนีอลิซาเบธที่สองแห่งเกาะอังกฤษ โดยซีซั่นนี้จะเข้าสู่เรื่องราวของผู้หญิงสามคน ที่เป็นแกนเรื่องหลักของตัวซีรีส์ในช่วงเวลานี้เลยล่ะเธอ มาดูกันว่า 3 นาง 3 มง ลงที่ The Crown จะเป็นใครกัน? โดย แอดมินเพจกะเทยนิวส์

Razzie Award 2022 รางวัลหนังยอดแย่ Diana the Musical โกยรางวัลอ่วม!

Razzie Award 2022 รางวัลหนังยอดแย่ Diana the Musical โกยรางวัลอ่วม!

งานประกาศรางวัลที่หนังเรื่องไหนก็ไม่อยากได้ กลับมาอีกครั้ง โดยในปีนี้การประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลนั้น ถูกจัดขึ้นทางออนไลน์เป็นคลิปวิดีโอความยาว 6 นาที ในออฟฟิเชียล ชาร์แนลของ Razzie Channel ในสไตล์ยียวนกวนประสาท โดย Sanook เราแปะวีดีโอประกาศรางวัลไว้ในตอนท้ายของบทความนี้แล้วนะ

5 เรื่อง ได้ใจเทย ประจำปี 2020 โดย แอดมินเพจกะเทยนิวส์

5 เรื่อง ได้ใจเทย ประจำปี 2020 โดย แอดมินเพจกะเทยนิวส์

ปีนี้เหนื่อยมาก ช้ำมาก หืดขึ้นคอมากแม่ แต่ก็นะคะกะเทย ก็หมดไปแล้วกับปี 2020 แต่ก็ว่า บทความนี้ ก็อาจจะปล่อยช้าไปซักหน่อย ก็ไม่เป็นไรนะแม่นะ มาย้อนหลังความอร่อยว่าในปีนี้ มีหนังมีละครอะไรที่ได้ใจเทยบ้างแม่ โดย แอดมินเพจกะเทยนิวส์