เนื้อหาในหมวด หนัง-ละคร

มีอะไรน่าสนใจใน Cinderella 2021 เวอร์ชั่น คามิลล่า คาเบลโล

มีอะไรน่าสนใจใน Cinderella 2021 เวอร์ชั่น คามิลล่า คาเบลโล

ตอนแรกมี Cinderella กำหนดเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ แต่ท้ายที่สุดสตูดิโออย่างโซนี่ฯ ตัดสินใจขายสิทธิ์ในการฉายผ่านทาง Amazon Prime และปล่อยลงทางสตรีมมิ่งทั่วโลกไปเมื่อวันศุกร์ที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา ว่าแต่มีอะไรในเวอร์ชั่นนี้ที่คอหนังเทพนิยายต้องรู้กันก่อนดูบ้าง

 

ภาพจำของซินเดอเรล่า

ซินเดอเรล่า ในเวอร์ชั่นแอนิเมชั่นของวอลท์ ดิสนีย์ ได้กำหนด ”ภาพจำ” ของตัวละครนี้ไปแล้ว จนบางทีคนทั่วไปอาจจะไม่รู้เลยด้วยซ้ำไปว่า จริงๆแล้ว Cinderella เป็นวรรณกรรมที่ถูกเล่าซ้ำดัดแปลงมานับครั้งไม่ถ้วน โดยเวอร์ชั่นที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือผลงาน ชาร์ล แปโร ชาวฝรั่งเศส แต่เมื่อมันถูกนำมาทำใหม่ในเวอร์ชั่นแอนิเมชั่นสำหรับเด็กๆทั้งโลก ชีวิตของเด็กสาวผู้อาภัพอย่าง “เอลล่า” จึงถูกลดทอนความรุนแรง แต่งเติมเวทมนตร์ เพลงอันแสนไพเราะ รวมไปถึงสัตว์พูดได้เข้ามาในงาน

แน่นอนว่า Cinderella ในฉบับดิสนีย์ ที่ถูกฉายซ้ำมานับครั้งไม่ถ้วน รวมไปถึงงานในยุคหลังจากปี 1950 ยังไม่อาจสลัดภาพของซินเดอเรล่าในเวอร์ชั่นการ์ตูนได้ ทำให้เกิดการเปรียบเทียบระหว่างผลงานอยู่บ่อยครั้ง ในแง่ของคุณภาพและวิธีการเล่าเรื่องราว

 

เกิดอะไรใน Cinderella 2021

สำหรับ Cinderella ในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้เป็นผลงานการเขียนบทและกำกับโดยเคย์ แคนนอน ผู้กำกับหญิง ซึ่งมีผลงานการกำกับหนังเรื่อง Blockers ในปี 2018 แต่นั่งแท่นผู้นวยการสร้างซีรีส์ดังอาทิ 30 Rock, New Girl, Girlboss รวมไปถึงหนังยอดฮิตอย่าง Pitch Perfect 2 และ 3 ซึ่งครั้งนี้เธอหยิบเรื่องราวของ “เอลล่า” (คามิล่า คาเบลโล) เด็กสาวที่อาศัยอยู่กับแม่เลี้ยง เธอใฝ่ฝันอยากจะเป็นดีไซเนอร์ที่สามารถยืนได้ด้วยลำแข้งของตัวเอง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของแม่เลี้ยง ระหว่างนั้นเองเจ้าชายโรเบิร์ต (นิโคลัส กัลลิทซีน) ถูกพระราชาโรแวนบีบบังคับให้เขาพยายามหาคู่ครองเพื่อแต่งงานและสืบทอดบัลลังก์ ทำให้เขาต้องจัดงานเลี้ยงเต้นรำเพื่อหาหญิงสาวสักคนมาเป็นคู่ชีวิต

 

การปฏิวัตินางซิน

อย่างที่เราได้บอกไปแล้วว่าซินเดอเรล่าในแต่ละเวอร์ชั่น ไม่จำเป็นจะต้องอาศัยอยู่บนหอคอย มีอุปนิสัยชอบร้องรำทำเพลงคุยกับสัตว์แบบดิสนีย์เสมอไป ในเวอร์ชั่นนี้ “เอลล่า” จึงไม่ได้เป็นคนขาวบริสุทธิ์ผุดผ่อง อันที่จริงเธอตรงกันข้ามกับความเรียบร้อยอย่างสิ้นเชิง เธอเป็นผู้หญิงหัวก้าวหน้า มีความขบถอยู่ในตัวตั้งแต่แรก เอลล่าใฝ่ฝันที่จะเป็นดีไซเนอร์เปิดร้านเสื้อผ้าเป็นของตัวเอง ในขณะที่กรอบของสังคมไม่อนุญาตให้ “ผู้หญิง” เป็นเจ้าของกิจการใดๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างเอลล่า แม่เลี้ยงวิเวียน (ไอดินา เมนเซล) และลูกเลี้ยงทั้งสองไม่ได้เดือดกรุ่นปะทุคารมแบบในเวอร์ชั่นแอนิเมชั่น เพียงแค่สถานะของเอลล่าอาจจะดูต่ำกว่าพวกเธอเล็กน้อย แต่ก็ไม่ได้ดูถูกใช้งานเยี่ยงทาสตรากตรำจนหมดสภาพ เธอยังมีอิสระที่จะแสดงความคิดของตัวเอง ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน เพียงแต่หน้าที่หลักของเธอในบ้านคือเป็นคนรับใช้ก็เท่านั้นเอง

ฉากที่น่าสนใจของเอลล่า คือระหว่างการประกาศรายละเอียดงานเต้นรำที่พระราชาโรแวน (เพียร์ซ บรอสแนน) ยืนแถลงพระราชโองการที่ริมระเบียง แต่เมื่อเอลล่าถูกฝูงชนบังมิดเธอจึงปีนขึ้นไปนั่งอยู่บนรูปปั้นของพระราชาโรแวน ก่อนจะโดนตำหนิว่า “ขึ้นไปนั่งทำไม” เอลล่าจึงตอบแบบกวนๆว่า “ขออภัยเพคะฝ่าบาท แต่วันหลังท่านช่วยทำอัฒจันทร์ไว้ด้านหลังบ้างได้ไหม เพราะมองไม่เห็นท่านจริงๆ ให้โอกาสชาวบ้านคนตัวเตี้ยบ้าง” ถึงจะดูเป็นคำตอบแนวยียวนกวนประสาท แต่มันได้สะท้อนความเป็นจริงว่าบางครั้งคนตัวเล็กตัวน้อยอย่างเธอก็อยากได้รับการมองเห็นและปฏิบัติอย่างเท่าเทียมจากระบอบราชวงศ์เช่นกัน

นางซินในเวอร์ชั่นนี้จึงไม่ใช่แค่การปลดแอกตัวเองจากความเป็นผู้หญิงธรรมดาเท่านั้น แต่เธอพยายามส่งเสียงไปถึงชนชั้นปกครองด้วยเช่นกัน และน่าตลกว่าความคิดขวางโลกของเอลล่าดันไปถูกใจเจ้าชายโรเบิร์ตตั้งแต่แรกเห็น ไม่ใช่เพราะความสวยของเอลล่าอย่างเดียว แต่ความคิดของเธอก็เข้าตาเขาด้วย

 

ให้โอกาสผู้หญิงได้ “มีเสียง” เป็นของตัวเอง

งานการเมืองการปกครองเป็นเรื่องของผู้ชาย! แต่ถ้าหากผู้ชายไม่ได้อยากจะขึ้นมาครองราชย์ ทำไมผู้หญิงจะมีบริหารประเทศไม่ได้ แม้จะเป็นรายละเอียดเล็กๆปลีกย่อยของเรื่องตัวละครเจ้าหญิงเกวน (ทาลูฮาห์ กรีฟ) น้องสาวของเจ้าชายโรเบิร์ต ที่สนอกสนใจอยากจะพัฒนาอาณาจักรของตัวเองให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ หลายครั้งหลายคราเธอมักจะโดนพ่อของตัวเองไม่ยอมให้ออกความเห็นเรื่องการ “เปลี่ยนแปลง” ขนบธรรมเนียมอันเก่าแก่และกลายเป็นลูกสาวที่ไม่มีโอกาสจะได้ทำอะไรนัก

เช่นเดียวกันตัวละครแม่เลี้ยงวิเวียน ที่ “ร้ายกาจ” น้อยกว่าในหลายๆเวอร์ชั่นที่เราเคยชมมา เราได้เรียนรู้ว่าจริงๆแล้ว เธอเคยผ่านชีวิตที่ตัวเองมีโอกาสจะได้ก้าวหน้าโลดแล่นอยู่ในความฝันที่เธอตามหามาตลอดชีวิต แต่ด้วยกรอบค่านิยมของสังคม รวมไปถึงนิยามของคำว่า “แม่” ทำให้เธอต้องสละทุกอย่างทิ้งไป และกลับมาอยู่ภายใต้แนวคิดเดิมๆว่าอย่าฝันให้ไกลเกินตัว และการที่เธอพยายามสกัดฝันของเอลล่านั้นก็เพราะใจหนึ่งวิเวียนก็ไม่อยากให้เอลล่ากลายเป็นเหมือนตัวเธอเอง

นี่เป็นหนังเพลง!

Cinderella ในเวอร์ชั่นนี้เป็นหนังเพลงแบบจูคบ็อกซ์ มิวสิคัล ซึ่งเป็นการหยิบเอาเพลงดังฮิตคุ้นหูผู้คน มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวเพื่อเล่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่อง โดยเพลงที่ปรากฏอยู่ในหนัง อาทิ Rhythm Nation, Material Girl, Somebody to Love, Perfect และ Let’s Get Loud รวมถึงอีกหลากหลายเพลง

สามารถรับชม Cinderella เวอร์ชั่นล่าสุดได้แล้วทาง https://www.primevideo.com/

Godmothered นางฟ้าแม่ทูนหัวกับภารกิจใหม่ที่ไม่ใช่แค่การเสกรองเท้าแก้ว

Godmothered นางฟ้าแม่ทูนหัวกับภารกิจใหม่ที่ไม่ใช่แค่การเสกรองเท้าแก้ว

Godmothered คือหนังที่สตูดิโออย่างดิสนีย์ตั้งใจสร้างขึ้นมาเพื่อฉายทาง Disney+ โดยตรง ซึ่งหยิบเอาตัวละคร "นางฟ้าแม่ทูนหัว" ซึ่งมีบทบาทสำคัญในเทพนิยาย Cinderella มาขยายความและตีความใหม่แบบเดียวกับตัวละครอย่างมาเลฟิเซนต์

2021 ปีที่ Cinderella เตรียมคัมแบคอีกครั้ง!

2021 ปีที่ Cinderella เตรียมคัมแบคอีกครั้ง!

Cinderella อาจจะเป็นเทพนิยายที่ถูกหยิบเอาเรื่องราวมาผลิตซ้ำในหลายหลากรูปแบบ แม้เวอร์ชั่นที่จับใจและตราตรึงที่สุดคือ แอนิเมชั่นของดิสนีย์ แต่คุณรู้ไหมว่าปี 2021 ซินเดอร์เรล่าจะกลับมาอีกแล้ว!

Cinderella and the Secret Prince เตรียมเจอซินเดอเรลล่าที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน!

Cinderella and the Secret Prince เตรียมเจอซินเดอเรลล่าที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน!

เคยออกมาโลดแล่นหลายครั้งทั้งในฉบับภาพยนตร์อนิเมชั่นและเวอร์ชั่นคนแสดงสำหรับผลงานแอนิเมชั่นสุดคลาสสิคที่ยังอยู่ในความทรงจำของใครหลายต่อหลายคน อย่าง ซินเดอเรลล่า ที่แม้จะมีการสร้างกันมาตลอดตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 90 แต่ก็มักจะถูกหยิบยกมาตีความในรูปแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ

17 ไอคอนสาวแห่งโลกเทพนิยายดิสนีย์

17 ไอคอนสาวแห่งโลกเทพนิยายดิสนีย์

ตัวละครเจ้าหญิงของดิสนีย์ แต่ละตัวนั้น จะมีความแตกต่างกัน แต่ละตัวได้มีการสอดแทรกบุคคลิกลักษณะที่เราน่าจะใช้เป็นแบบอย่างได้ดี 17 ตัวละครของดิสนี่ย์ที่ผ่านมานั้น ใครเป็นใคร มีแบบอย่างที่ดีอย่างไร ลองมาติดตามกัน