เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

รู้ไว้! แยก \

รู้ไว้! แยก "ตุ่ม" อย่างไรให้รู้ว่าเป็นไข้เลือดออก

ลักษณะอย่างหนึ่งของผู้ที่ป่วยเป็น โรคไข้เลือดออก ก็คงจะเป็น ตุ่ม ที่ผุดขึ้นจนสังเกตเห็นได้ ไม่ว่าจะด้วยการเกา หรือเกิดอาการแพ้ยุงที่มาสัมผัสกับผิวหนังของเรา แต่ไข้เลือดออกก็ไม่ใช่สาเหตุเดียวที่จะทำให้เกิดตุ่มดังกล่าวได้ เพราะในความเป็นจริง ตุ่มอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุได้อีก อาทิ  แมลง สัตว์กัดต่อย หรือมีผลพวงมาจากโรคอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งแบบมีไข้และไม่มีไข้ แล้วผู้ป่วย หรือคนใกล้ชิดจะต้องสังเกตอย่างไรล่ะ ว่าตุ่มแบบไหนที่บ่งบอกได้ชัดว่าเกิดมาจากไข้เลือดออก

แยกลักษณะของ “ตุ่ม” กับการเกิด “ไข้เลือดออก”

ตุ่มที่เกิดจากแมลงกัด ต่อย

ส่วนมากตุ่มที่เกิดจากกรณีนี้มักเป็นตุ่มนูน หรือเป็นตุ่มเห่อขึ้นมาเป็นจุดๆ ตามผิวหนังของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่เดียวกัน บริเวณกัน แผ่กระจายออกไป แต่ก็ยังเป็นจุดเดียวกัน ส่วนตำแหน่งอื่นๆ กลับไม่พบกับตุ่มลักษณะนี้ บางครั้งตุ่มก็ขึ้นเห่อคล้ายกับเป็นลมพิษ บางรายอาจมีอาการคันร่วมด้วย ส่วนใหญ่การกัดของแมลงแล้วเกิดเป็นตุ่มจะไม่มีไข้ นอกจากจะเป็นแมลงที่มีพิษ แล้วเกิดอาการแพ้

ตุ่มที่เกิดจากโรคมือเท้าปาก

ลักษณะการเกิดตุ่มจากโรคมือเท้าปากนี้ จะมีความใกล้เคียงกับตุ่มที่เกิดจากโรคไข้เลือดออกออกตรงที่จะมีไข้ร่วม พร้อมกับอาการเจ็บปาก ทานอาหารได้น้อย เกิดเป็นแผลที่กระพุ้งแก้ม เพดา หรือปาก ส่วนตุ่ม หรือผื่นแดงนั้นจะเกิดขึ้นที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า อวัยวะเพศ ผิวหนังของก้น นอกจากนั้นก็ยังอาจพบได้ตามลำตัว แขน และขา โดยอาการจะคงอยู่ 2 - 3 วัน แล้วจะค่อยๆ ดีขึ้นจนหายเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์

ตุ่มที่เกิดจากไข้เลือดออก

ควรสังเกตอาการไข้ที่อาจมีเมื่อเกิดตุ่มขึ้นตามร่างกาย โดยให้สันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่าน่าจะเกิดจาก โรคไข้เลือดออก หากมีไข้สูงนำมาประมาณ 2 - 7 วัน ไข้เริ่มลดลง แต่กลับมาตุ่ม หรือผื่นแดงขึ้นมาแทน ให้จัดว่าผื่นเหล่านี้อยู่ในกลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อกได้ โดยตุ่มจะมีลักษณะเป็นตุ่มแดง มีขนาดเล็ก กระจายอยู่ทั่วทั้งตัว ไม่ว่าจะเป็น แขน ขา ลำตัว หรือบริเวณใบหน้า



โรคไข้เลือดออก นับว่าเป็นโรคที่เข้าข่ายร้ายแรงหากไม่ดูแลสุขภาพและสุขลักษณะการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ให้ดี อีกทั้ง เรื่องของสิ่งแวดล้อมก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ โดยตามจุดต่างๆ อย่าปล่อยให้น้ำท่วมขัง ควรขจัดจุดอับต่างๆ ภายในบ้านให้สะอาด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งเป็นที่มาของไข้เลือดออกได้ เพราะหากเกิดแล้วระวังตัวไม่ทัน ผลลัพธ์อาจจะมากกว่าผลดีก็เป็นได้

ไข้เลือดออกมือสอง เมื่อคนดูแลก็ป่วยได้ ผลกระทบที่หลายคนมองข้าม

ไข้เลือดออกมือสอง เมื่อคนดูแลก็ป่วยได้ ผลกระทบที่หลายคนมองข้าม

เบื้องหลังผู้ป่วยไข้เลือดออก ยังมีคนดูแลที่เสี่ยง ‘ไข้เลือดออกมือสอง’ ทั้งร่างกายและจิตใจ เรียนรู้วิธีรับมือ และดูแลใจตนเองให้เข้มแข็งไปพร้อมกัน

โรคไข้เลือดออก มีอาการอย่างไร แนะนำวิธีรักษา และป้องกัน

โรคไข้เลือดออก มีอาการอย่างไร แนะนำวิธีรักษา และป้องกัน

ไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่ง มียุงลายเป็นพาหะนำโรค กล่าวคือ ยุงลายจะกัดคนที่เป็นโรคไข้เลือดออกก่อนแล้วจึงไปกัดคนที่อยู่ใกล้เคียงก็จะเป็นการแพร่เชื้อให้คนอื่นๆ ต่อไป