เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

เช็กความเสี่ยง “กระดูกพรุน” ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุที่ต้องระวัง

เช็กความเสี่ยง “กระดูกพรุน” ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุที่ต้องระวัง

หากพูดถึง “กระดูกพรุน” อาจจะนึกถึงวัยชราผมขาวที่เดินก้มๆ เงยๆ หลังงุ้มงอ และต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุงเดิน แต่จริงๆ แล้วโรคกระดูกพรุนใกล้ตัวเรามากกว่านั้น เพราะจริงๆ แล้วไม่ได้แค่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่เสี่ยงต่อโรคนี้ แล้วเราก็คงยังไม่อยากจะใช้ไม้เท้าช่วยเดิรกันตั้งแต่อายุยังน้อยจริงไหม? มาเช็กกันดีกว่าว่าคุณอยู่ใน “กลุ่มเสี่ยงฎ โรคกระดูกพรุนหรือเปล่า

 

กลุ่มเสี่ยงที่ควรรับการตรวจความหนาแน่นของกระดูก เพื่อเช็กภาวะกระดูกพรุน

  • ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และผู้ชายอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป

  • ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี ซึ่งหมายถึงรวมผู้ที่ถูกตัดรังไข่ทั้งสองข้าง

  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีน้ำหนักตัวน้อย (มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)

  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีส่วนสูงลดลงตั้งแต่ 4 เซนติเมตรขึ้นไป

  • ผู้ที่มีประวัติกระดูกหักจากภยันตรายแบบไม่รุนแรง

  • ผู้ที่รับประทานยาบางชนิด ที่ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง

  • ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วย aromatase inhibitors หรือผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้รับการรักษาด้วย androgen deprivation therapy

  • ตรวจพบภาวะกระดูกบาง หรือกระดูกสันหลังยุบจากภาพถ่ายรังสี
  •  

    สาเหตุของกระดูกพรุน

    จากกลุ่มเสี่ยงจะเห็นได้ว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน คือ การสูญเสียฮอร์โมนเพศหญิง เนื่องจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือได้รับการผ่าตัดรังไข่ทิ้งก่อนอายุครบ 45 ปี นอกจากนี้อีกปัจจัยหนึ่งคือ อายุที่มากขึ้น เพราะเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี กระดูกจะบางลง 1-3% ทุกปี

     

    ปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุน

    • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน

    • เป็นชาวผิวขาว หรือเอเชีย

    • ขาดวิตามินดี หรือแคลเซียม

    • น้ำหนักน้อย

    • ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น โรคต่อมไทรอยด์

    • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ

    • เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคตับ โรคทางเดินอาหารผิดปกติ

    • สูบบุหรี่

    • ใช้ยาสเตียรอยด์เกินขนาด

    • สูบบุหรี่

     

    การป้องกันโรคกระดูกพรุน

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

  • รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะแคลเซียม และวิตามินดี

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงสารคาเฟอีน เนื่องจากมีผลทำลายกระดูก

  • งดสูบบุหรี่

  • ตรวจร่างกายเป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี ควรเข้ารับการตรวจวัดมวลกระดูก
  •  

    การรักษาโรคกระดูกพรุน

    แพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยวิธีรับประทานยา และฉีดยา โดยจะพิจารณาความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย