เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

10 พฤติกรรมอันตราย เสี่ยง “ดื้อยา”

10 พฤติกรรมอันตราย เสี่ยง “ดื้อยา”

ลองจินตนาการดูว่า หากเราปวดศีรษะมากๆ แต่เราดื้อยาพาราเซตามอล จนต้องไปทานยาแก้ปวดชนิดที่แรงขึ้น นอกจากจะต้องเสียเงินมากกว่าเดิม เสียเวลาซื้อยาที่หาซื้อทานได้ยากกว่าเดิมแล้ว ยังเสี่ยงอันตรายต่อผลข้างเคียงของยาแรงๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับคุณได้อีกด้วย

เพราะฉะนั้น อยากให้ใส่ใจกับอันตรายของการดื้อยา เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณอาจไม่ใช่แค่ยาแก้ปวดศีรษะธรรมดาๆ แต่หากเป็นยาที่รักษาโรคเฉพาะทางกว่านั้น และโรคที่เป็นอันตรายกว่านี้ คุณคงไม่อยากเป็นคนที่มีอาการดื้อยาแน่ๆ

การใช้ยาอย่างผิดวิธี เป็นผลทางสู่อาการดื้อยา แต่จะมีพฤติกรรมอะไรบ้าง Sanook! Health รวมรวบมาให้ดูเรียบร้อยแล้ว

 

10 พฤติกรรมอันตราย เสี่ยง “ดื้อยา”

  • กินยาปฏิชีวนะบ่อยครั้งมากเกินไป ควรระมัดระวังในการทานยา ทานเมื่อมีอาการเจ็บป่วยจริงๆ เท่านั้น

  • กินยาปฏิชีวนะโดยไม่แยกแยะว่าเป็นโรคจากไวรัส หรือโรคจากแบคทีเรีย เพราะโดยปกติแล้วหากเป็นโรคหวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัส อาการจะดีขึ้นเองโดยไม่ต้องทานยาฆ่าเชื้อ แต่หากเป็นโรคหวัดที่เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย (ต่อมทอนซิลมีหนอง) จะต้องกินยาเพื่อฆ่าเชื้อติดต่อกันอย่างน้อย 10 วัน หากทานยาฆ่าเชื้อโดยไม่มีความจำเป็นบ่อยๆ อาจทำให้ดื้อต่อยาฆ่าเชื้อได้

  • กินยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธ์กว้างเกินความจำเป็น ยาครอบจักรวาลต่างๆ อาจออกฤทธิ์ในส่วนที่ไม่จำเป็น ดังนั้นการกินยาชนิดนี้บ่อยๆ จึงอาจทำให้ร่างกายของเราดื้อต่อยานั้นๆ ในเวลาที่ต้องการรักษาโรคเฉพาะที่ได้

  • กินยาไม่ครบตามเวลาที่กำหนด โดยเฉพาะเพื่อการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หากหยุดรับประทานอาจมีเชื้อโรคหลงเหลืออยู่และเชื้อโรคจะพัฒนาตัวเองไปสู่การดื้อยาได้

  • กินยาปฏิชีวนะด้วยความเชื่อว่า “ดักไว้ก่อน” จริงอยู่เมื่อเรามีอาการเจ็บป่วย เราควรทานยา แต่หากยังไม่ได้มีอาการอะไรมาก ก็รีบทานยาเข้าไปก่อน วิธีนี้ไม่ได้ช่วยดักอาการป่วยไข้ หรือโรคหวัดอย่างที่เราเข้าใจกัน แถมการทานดักไว้ก่อนแบบนี้บ่อยๆ อาจทำให้เกิดอาการดื้อยาได้อีกด้วย

  • เคยใช้ยาอมผสมยาปฏิชีวนะ การใช้ยาอมที่ผสมยาต้านแบคทีเรีย นอกจากจะเป็นการใช้ยาในขนาดที่ไม่เหมาะสม ยังเป็นการใช้ยาที่เกินความจำเป็น และอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้

  • เคยขอยาปฎิชีวนะของคนอื่นมาทาน หรือแบ่งยาของตัวเองลองให้คนอื่นทาน ยาต้านแบคทีเรียจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคแต่ละชนิดต่างกัน การใช้ยาต้านแบคทีเรีย โดยไม่เลือกให้เหมาะกับชนิดเชื้อโรค นอกจากจะทำให้ไม่หายแล้ว ยังส่งผลให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้

  • เคยแนะนำยาปฏิชีวนะห้ผู้อื่นทาน ทั้งที่ตัวเองไม่ใช่เภสัชกร หรือแพทย์ อาจทำให้คนอื่นทานยาผิดประเภท ไม่ตรงจุด จนเกิดอาการดื้อยาได้

  • เคยซื้อยาปฏิชีวนะกินเองอยู่นาน เมื่อไม่หายจึงค่อยไปพบแพทย์ แบบนี้อาจเกิดอาการดื้อยาแล้วค่อยไปพบแพทย์ทีหลัง รักษายากกว่าเก่า

  • เคยซื้อยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์แรงกว่าทานเอง เมื่อแพทย์ไม่จ่ายยาให้ การเลือกระดับการออกฤทธิ์ของยาในผู้ป่วยแต่ละคน เป็นวิจารณญาณของแพทย์ที่ไตร่ตรองมาอย่างถ้วนถี่ดีแล้ว ดังนั้นไม่ควรเลือกกินแค่ยาที่ออกฤทธิ์แรงๆ เข้าว่า เพราะการทานยาฤทธิ์ที่แรงเกินจำเป็น การก่อให้เกิดอาการดื้อยาจนต้องใช้ยาที่แรงขึ้นเรื่อยๆ จนอาจมียาที่มีฤทธิ์แรงกว่ารักษาได้อีกแล้ว
  •  

    วิธีป้องกันอาการดื้อยา

    หากมีอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อยามากินเองทุกครั้ง หากมีอาการผิดปกติ และกินยาเดิมๆ ไม่หาย ไม่ควรเปลี่ยนยาเอง แต่ควรพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียดจะดีที่สุด