
7 สัญญาณอันตรายโรค “หัวใจ” ที่เราควรระวัง โดยเฉพาะวันทำงาน-สูงอายุ
โรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะภายในร่างกายของเรา เราอาจจะมองไม่เห็น จึงต้องอาศัยการสังเกต หรือรับรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นให้ดีแทน เพราะสัญญาณเหล่านี้อาจเป็นอาการเริ่มต้นที่อันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะสำคัญอย่าง “หัวใจ”
โรคหัวใจ เป็นชื่อโรคที่ครอบคลุมถึง 4 อาการผิดปกติหลักๆ ในบางส่วนของหัวใจ ได้แก่
แต่ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดของหัวใจ เราสามารถเรียกรวมๆ ได้ว่าเป็นโรคหัวใจ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่ช่วยสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากหัวใจไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลายๆ ส่วนในร่างกายก็จะค่อยๆ ขาดเลือด และหยุดการทำงานลงในที่สุด
อาการที่ไม่ใช่โรคหัวใจ
มีหลายอาการที่เกี่ยวข้องกับหน้าอก แต่ไม่ใช่โรคหัวใจ เช่น
- หายใจเข้าลึกๆ แล้วเจ็บหน้าอก อาจเป็นกล้ามเนื้อทรวงอก กล้ามเนื้อซี่โครงผิดปกติ หรือเยื่อหุ้มปอดผิดปกติ
- เหงื่อออกปลายมือปลายเท้า อาจแค่ความผิดปกติอื่นๆ เช่น โรคเหงื่อออกมากผิดปกติ หรือ Hyperhidrosis
กลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจ
- มีโรคประจำตัวบางอย่างที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน การสูบบุหรี่
- ปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมทางครอบครัว เคยมีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือหัวใจทำงานผิดปกติมาก่อน
7 สัญญาณอันตรายโรค “หัวใจ”
ถ้ามีอาการดังกล่าวควรมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยด่วน
วิธีป้องกันโรคหัวใจ
แม้ว่าจะเป็นโรคอันตราย แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการเลือกทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย ลดการทานคาร์โบไฮเดรตแบบไม่ขัดสี เช่น แป้ง น้ำตาล ข้าวขาว เบเกอรี่ต่างๆ เน้นโปรตีนไขมันต่ำ ผักผลไม้ และธัญพืช รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ และที่สำคัญคือการตรวจสุขภาพประจำปี เท่านี้ก็ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้แล้ว