เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

กรงกรรม : “เบาหวาน” ทำไมถึงเป็นแผลที่ขา-เท้า?

กรงกรรม : “เบาหวาน” ทำไมถึงเป็นแผลที่ขา-เท้า?

ฉากที่ตัวละคร “แม่ย้อย” ในละครเรื่อง “กรมกรรม” เป็นโรคเบาหวาน และมีแผลที่ขา สร้างความสะเทือนใจให้กับแฟนคลับละครหลายๆ คน แต่ทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวานถึงมีแผลขา และที่เท้าได้?


ปัญหา “แผลที่เท้า” ของผู้ป่วยเบาหวาน

ข้อมูลจากโรงพยาบาลศิริราช ระบุว่า ผู้เป็นเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน มีความเสี่ยงสูงต่อการถูกทำลายระบบประสาทและหลอดเลือดส่วนปลาย ซึ่งอาจทำให้ระบบประสาทรับความรู้สึกเสียหาย เมื่อเกิดการบาดเจ็บที่เท้า ซึ่งเป็นอวัยวะที่เกิดบาดแผลได้ง่าย จึงไม่สามารถรับความรู้สึกจึงมักเกิดแผลที่เท้าโดยไม่รู้ตัว

หากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงขา และเท้ามีปัญหา จะทำให้ขบวนการการรักษาแผลของร่างกายเป็นไปอย่างล่าช้า และหากมีการติดเชื้อรุนแรงร่วมด้วยผู้ป่วยอาจต้องถูกตัดเท้าหรือขา ผู้เป็นเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการถูกตัดขามากกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานถึง 25 เท่า โดยผู้ที่เป็นเบาหวานที่มีประวัติการมีแผลมาก่อน มีโอกาสการเกิดแผลซ้ำใน 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 70

ทั้งนี้พบว่า ร้อยละ 85 ของการสูญเสียสามารถป้องกันได้โดยการตรวจ และดูแลรักษาตั้งแต่ระยะแรก ดังนั้น การตรวจค้นหาและดูแลตั้งแต่ระยะแรกจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพเท้าในผู้เป็นเบาหวาน


ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นแผลที่เท้า ของผู้ป่วยเบาหวาน

  • เพศชาย เสี่ยงมากกว่าเพศหญิง

  • อายุมาก เสียงมากกว่าอายุน้อย

  • สูบบุหรี่

  • เป็นเบาหวานเรื้อรัง ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ค่อยได้

  • เคยถูกตัดนิ้วเท้า หรือตัดขาจากแผลติดเชื้อมาก่อน

  • เท้าผิดรูป

  • มีหนังด้าน แข็ง ที่ฝ่าเท้า

  • มีแผลที่เท้า และเป็นแผลซ้ำในรอบ 2-5 ปี

  • เคยเป็นจอประสาทตาผิดปกติจากโรคเบาหวาน

  • เคยมีภาวะแทรกซ้อนที่ไตจากโรคเบาหวาน


วิธีดูแลรักษาเท้า ลดความเสี่ยงเป็นแผล ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

  • สำรวจเท้า และทำความสะอาดเท้าทุกวัน

  • ทาโลชั่นทันทีที่ทำความสะอาดเสร็จ

  • ตัดเล็บเท้า และทำความสะอาดเท้าอย่างระมัดระวัง อย่าให้เกิดบาดแผล

  • หากพบผิวหนังหนา ควรให้ผู้เชี่ยวชาญตัดให้บาง อย่าตัดเอง เพราะอาจเกิดบาดแผลได้

  • สวมถุงเท้าเป็นประจำ เพื่อลดการเสียดสีในการสวมรองเท้า และรักษาความชุ่มชื้นของฝ่าเท้า

  • หากเกิดบาดผล ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที หากไม่แน่ใจไม่ควรรักษาแผลเอง เพราะอาจเสี่ยงติดเชื้อได้
  • เช็กก่อนกิน “คีโตเจนิค” เหมาะกับใคร ใครควรกิน-ไม่ควรกิน

    เช็กก่อนกิน “คีโตเจนิค” เหมาะกับใคร ใครควรกิน-ไม่ควรกิน

    คีโตเจนิค คืออะไร หากคุณอยู่ในกลุ่มที่ไม่ควรกิน คีโตเจนิค ก็ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่น เพราะอาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้

    10 โรคร้ายที่เกิดจาก “ต่อมไร้ท่อ” ทำงานผิดปกติ

    10 โรคร้ายที่เกิดจาก “ต่อมไร้ท่อ” ทำงานผิดปกติ

    ต่อมไร้ท่อ คืออะไร อยู่ที่ไหนของร่างกาย มีอวัยวะหลายส่วนที่อยู่ในเครือข่ายของต่อมไร้ท่อ ซึ่งหากเกิดความผิดปกติของส่วนใดส่วนหนึ่ง ก็อาจกระทบกับการทำงานของอวัยวะส่วนนั้น หรืออาจจะกระทบไปทั้งร่างกายเลยก็เป็นได้