เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

11 เคล็ดลับสุขภาพดี อายุยืนของชาว “ญี่ปุ่น”

11 เคล็ดลับสุขภาพดี อายุยืนของชาว “ญี่ปุ่น”

“ทำไมคนญี่ปุ่นถึงมีแต่คนอายุยืน” คำถามนี้น่าจะเคยเป็นเรื่องที่หลายคนสงสัย เพราะจะเห็นได้ตามข่าว หรือรายการต่างๆ ว่าประชาชนชาวญี่ปุ่นถือว่ามีอายุเฉลี่ยสูงกว่าประเทศอื่นๆ คุณตาคุณยายอายุ 90 ปียังเดินเหินกันได้สบายๆ บางคนยังมีผิวพรรณดีอีกต่างหาก เพราะอะไรชาวญี่ปุ่นที่มีสุขภาพดีมากกว่าชาตอื่นๆ เรามาไขความลับของพวกเขากัน


11 เคล็ดลับสุขภาพดี อายุยืนของชาว “ญี่ปุ่น”

  •      กินด้วยตาก่อน

  • อาหารที่อร่อย ต้องหน้าตาดีด้วย ชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการตกแต่งอาหารก่อนรับประทานกันมาก ถึงขนาดมีประโยคที่ว่า “หากไม่ตกแต่งอาหารให้มีสีสันสวยงาม ก็เหมือนออกไปนอกบ้านโดยไม่สวมเสื้อผ้า” ดังนั้นจะเห็นว่าอาหารญี่ปุ่นใน 1 เซ็ตมักมีหลากหลายสีสัน ตั้งแต่เหลือง ส้ม เขียว แดง ดำ เมื่อหน้าตาของอาหารน่ารับประทาน ก็ทำให้เราเจริญอาหารมากขึ้น แถมยังได้ความหลากหลายของอาหารที่จะรับประทานไปด้วย

  •      ใส่ภาชนะขนาดเล็ก

  • สังเกตได้ว่าภาชนะใส่อาหารญี่ปุ่นมักจะมีขนาดเล็ก และแบ่งอาหารแต่ละชนิดออกจากกันอย่างชัดเจน มีให้เลือกรับประทานหลายอย่าง ทั้งอาหารแห้งๆ หรืออาหารที่เป็นซุป ของสด ของทอด นอกจากจะได้รับประทานอาหารที่ปรุงอย่างหลากหลายแล้ว งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ยังระบุว่า คนมักรับประทานอาหารเพิ่มมากขึ้น 45% เมื่อเสิร์ฟลงบนภาชนะที่มีขนาดใหญ่ เพราะอาจเผลอตักอาหารใส่จานมากกว่าเดิม ดังนั้นหากใส่ภาชนะเล็กๆ ก็ช่วยให้เรากินได้น้อยลงไปด้วย

    japanese-food

  •      กินให้อิ่มแค่ 80%

  • การไม่พยายามกินจนอิ่มมากเกินไปในทุกมื้อ เหมือนกับการให้ร่างกายได้คุ้นชินกับความอิ่มให้น้อยลง คล้ายกับลดขนาดของกระเพาะอาหารให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น แทนที่จะให้ท้องคุ้นชินกับอาการอิ่มจนพุงจะแตก ดังนั้นอาหารญี่ปุ่นแต่ละอย่างจึงแบ่งเป็นชามเล็กๆ หลายชาม และไม่เสิร์ฟในปริมาณที่เยอะจนเกินไป โดยกินเพียงในเซ็ตของตัวเองนั่นเอง

  •      กินผัก 5 อย่าง

  • ผักที่เสิร์ฟมาเป็นเครื่องเคียงในเซ็ตอาหารญี่ปุ่น มักเป็นผักหลากหลายชนิด รวมๆ แล้วเราจะได้รับประทานผักมากถึง 1 ชนิดใน 1 มื้อเลยทีเดียว ดังนั้นการรับประทานผักหลายชนิดจึงส่งผลให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่หลากหลายมากขึ้นไปด้วยนั่นเอง

  •      รับประทานผักก่อน

  • การเริ่มต้นมื้ออาหารด้วยผักก่อน เหมือนกับที่ฝรั่งจะรับประทานสลัดก่อนเป็นจานแรก แล้วค่อยตามด้วยอาหารจานหลักที่เป็นโปรตีน และคาร์โบไฮเดรต จะทำให้กระเพาะอาหารย่อยอาหารได้ง่ายขึ้นจากเอนไซม์ที่มีอยู่ในผัก ช่วยลดความเร็วในการรับน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด และยังช่วยลดอาการบวมของร่างกายได้เมื่อรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงได้อีกด้วย

  •      เลือกปลามากกว่าเนื้อแดง

  • จะเห็นได้ว่าคนญี่ปุ่นชอบรับประทานปลามากเป็นชีวิตจิตใจ ปลาเป็นโปรตีนที่มีไขมันต่ำ (แล้วแต่ชนิดของปลา แต่ส่วนใหญ่ไขมันยังน้อยกว่าเนื้อสัตว์อื่นๆ อยู่ดี) และคนญี่ปุ่นยังชอบปรุงปลาด้วยวิธีย่าง ต้ม นึ่ง อีกด้วย ดังนั้นโปรตีนที่ได้จากอาหารจานหลักที่ทำจากปลา จึงเป็นโปรตีนที่ดีมีคุณภาพนั่นเอง

  •      อาหารหมักที่ช่วยในการขับถ่าย

  • นอกจากผักดองที่เสิร์ฟมาเคียงกับอาหารจานหลักเพื่อเพิ่มรสชาติ และแก้เลี่ยนแล้ว ยังมีอาหารหมักอื่นๆ เช่น ซอสมิโซะ เต้าหู้ ฯลฯ ที่ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีให้กับระบบย่อยอาหาร และช่วยทำให้ระบบขับถ่ายมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

    edamame

  •      ถั่ว ดีต่อสุขภาพ

  • คนญี่ปุ่นชอบรับประทานอาหารที่ทำจากถั่ว ไม่ว่าจะเป็นเต้าหู้ ถั่วแระญี่ปุ่น และยังชอบดื่มนมถั่วเหลืองอีกด้วย โปรตีนจากถั่วเป็นโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพอีกเช่นกัน

  •      ผลไม้หลังมื้ออาหารเป็นประจำ

  • เมื่อเราเดินเข้าร้านญี่ปุ่น และสั่งอาหารเป็นเซ็ต หลังจากอิ่มกับอาหารคาวแล้ว มักตบท้ายด้วยผลไม้ตามฤดูกาลที่เสิร์ฟเป็นชิ้นพอดีคำทุกครั้ง ทำให้เรามั่นใจได้ว่าในมื้อนั้นๆ จะได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่อย่างแท้จริง

  •  ชาเขียว แหล่งสารต้านอนุมูลอิสระ

  • น่าจะเคยได้ยินกันมาแล้วว่าชาเขียวที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบ มีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากมาย และยังเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคมะเร็ง และยังทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งเต่งตึงได้อีกด้วย แต่หากจะดื่มชาเขียวเพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มๆ ควรเป็นชาเขียวที่ไม่ใส่น้ำตาลเลยจะดีที่สุด

  •  ของหวาน ที่ไม่หวาน

  • จริงๆ แล้วของหวานของญี่ปุ่นที่มีรสชาติหวานก็มีอยู่ แต่หากสังเกตดีๆ จะเห็นว่ามีของหวานที่เป็นที่นิยมหลายอย่างที่ไม่ได้มีรสหวานมากอยู่เช่นเดียวกัน เช่น เค้กญี่ปุ่นที่ได้ชื่อว่าเป็นเค้กที่ไม่มีรสหวานจัดจนเกินไป โมจิไส้ต่างๆ ที่ส่วนผสมของไส้ก็ไม่ได้มีรสหวานมากจนเกินไปด้วยเช่นกัน

    หากเรานำเอาไอเดียของอาหารญี่ปุ่นเหล่านี้มาปรับใช้กับเมนูอาหารไทย ก็จะช่วยให้เราได้รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นได้เช่นกัน

    ควินัวคืออะไร กับ 5 ประโยชน์สุดเจ๋งที่หาไม่ได้ง่ายๆ ในพืชอื่น

    ควินัวคืออะไร กับ 5 ประโยชน์สุดเจ๋งที่หาไม่ได้ง่ายๆ ในพืชอื่น

    ควินัว คือ ธัญพืชเทียมที่หน้าตาคล้ายพืชตระกูลถั่ว มีถิ่นกำเนิดจากพื้นที่ของชาวอินคา ชนเผ่าพื้นเมืองโบราณแถบอเมริกาใต้ ทำไมใครๆ ก็กินควินัว อ่านแล้วรับรองว่าคุณต้องยากพุ่งตัวไปหามาทานด่วนๆ เลยแหละ

    โปรตีนจากพืชหรือสัตว์ดีกว่ากัน? สรุปข้อแตกต่างที่ควรรู้ก่อนเลือกกิน

    โปรตีนจากพืชหรือสัตว์ดีกว่ากัน? สรุปข้อแตกต่างที่ควรรู้ก่อนเลือกกิน

    โปรตีนจากพืชหรือจากสัตว์ แบบไหนดีกว่า? บทความนี้มีคำตอบ พร้อมตารางเปรียบเทียบ และคำแนะนำในการกินให้ได้ประโยชน์สูงสุด

    โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ผักผลไม้ กินเท่าไหร่ถึงจะพอดี?

    โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ผักผลไม้ กินเท่าไหร่ถึงจะพอดี?

    สัดส่วนของโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และผักผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ แนวทางสำคัญในการเลือกเมนูสุขภาพและส่งเสริมโภชนาการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน