เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

“เชื้ออะมีบา” ในอาหาร อันตรายแค่ไหน? หลีกเลี่ยงได้อย่างไร?

“เชื้ออะมีบา” ในอาหาร อันตรายแค่ไหน? หลีกเลี่ยงได้อย่างไร?

จากข่าวสองสามีภรรยาชาวออสเตรเลียเดินทางมาท่องเที่ยวที่ไทยเมื่อปี 2560 และล้มป่วยเป็นเวลากว่า 2 ปี โดยอ้างว่าได้รับปรสิตจากการกินผัดไทย ทำให้หลายคนสงสัยว่า เชื้อปรสิตที่ว่านี้คืออะไร พบได้ที่ไหน อันตรายอย่างไร และเราจะมีวิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากเชื้อปรสิตในอาหารได้อย่างไร Sanook! Health ขอนำข้อมูลอันมีประโยชน์จากเฟซบุคเพจ สาระสุขภาพยาน่ารู้โดยเภสัชกรอุทัย มาฝากกัน

>> ผัวเมียออสซี่โวยติดเชื้อปรสิต ป่วยหนัก 2 ปี เพราะกินผัดไทย

>> เปิดเกณฑ์เยียวยานักท่องเที่ยว หลังผัวเมียออสซี่ติดเชื้อปรสิตเหตุกินผัดไทย


เชื้อปรสิตในอาหาร คืออะไร?

จริงๆ แล้วเราสามารถพบเชื้อโรคในอาหารได้หลายชนิด ในกรณีนี้เป็นเชื้อปรสิตที่เป็น “เชื้ออะมีบา” ที่มีชื่อว่า Dientamoeba fragilis ที่เรียกว่าเป็นปรสิตเพราะเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งธรรมชาติตามปกติ เช่น แม่น้ำลำคลอง สัตว์ทะเล ผักต่างๆ รวมไปถึงของที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยว ภาชนะที่บรรจุ น้ำที่ใช้ในการปรุงอาหาร ฯลฯ ก็อาจเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเชื้ออะมีบาเหล่านี้ได้เช่นกัน


เชื้อปรสิตในอาหาร อันตรายแค่ไหน?

การติดเชื้อจากอาหารเป็นไปได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าพบเชื้อนั้นได้จากที่ไหน อาจจะพบเชื้อตั้งแต่ในวัตถุดิบ หรืออาจเกิดขึ้นระหว่างการปรุง อาจเป็นเชื้อที่อยู่ในภาชนะใส่อาหาร อุปกรณ์ทำอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย

อาการที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายของเรา จะหนักหรือเบา ก็ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานโรคในร่างกายของเราด้วยว่าสามารถต่อสู้ และตอบสนองต่อการทำงานของเชื้อเหล่านั้นได้มากน้อยแค่ไหน

โรคที่อาจเกิดขึ้นได้จากอะมีบามีมากมาย ขึ้นอยู่กับชนิดของอะมีบาที่พบ แต่สำหรับเชื้อ Dientamoeba fragilis อาจก่อให้เกิดอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น

  • ปวดท้อง

  • ท้องเสีย

  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะผิดปกติ

  • อาเจียน

  • ไม่อยากอาหาร

เป็นต้น


วิธีรักษาอาการติดเชื้อปรสิตในอาหาร

ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น หากมีอาการท้องเสีย สามารถดื่มน้ำเกลือแร่ ORS เพื่อทดแทนน้ำที่เสียไปจากร่างกาย ปวดท้อง คลื่นไส้ก็รับยารักษาไปตามอาการของแต่ละคน เนื่องจากร่างกายของคนเราสามารถมีระบบทำลายเชื้ออะมีบาเหล่านี้ในระบบทางเดินอาหารอยู่แล้ว หากร่างกายไม่อยู่ในสภาวะที่แย่มาก หรือเชื้อมีความแข็งแรงมากจริงๆ


วิธีหลีกเลี่ยงอาหารเสี่ยงเชื้อปรสิต

  • เลือกรับประทานอาหารจากร้านอาหารที่มีความสะอาด ถูกหลักอนามัย สังเกตความสะอาดทั้งจากวัตถุดิบ อุปกรณ์ในการทำอาหาร ภาชนะใส่จาน โต๊ะ เก้าอี้ สภาพแวดล้อมภายในร้าน และสถานที่ตั้งของร้าน

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแปลกๆ ที่ไม่คุ้นเคย ในที่ที่ไม่คุ้นเคย หรือไม่ทราบว่าทำมาจากอะไร ที่ไหน

  • ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง

  • รักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อให้ภูมิต้านทานโรคทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา

  • หากมีอาการผิดปกติหลังรับประทานอาหาร 3-6 ชั่วโมง ควรรีบพบแพทย์
  • “เห็บ-หมัด” อันตรายกับคนมากแค่ไหน เอาออกจากผิวหนังอย่างไรปลอดภัยที่สุด

    “เห็บ-หมัด” อันตรายกับคนมากแค่ไหน เอาออกจากผิวหนังอย่างไรปลอดภัยที่สุด

    “เห็บ-หมัด” อันตรายกับคนมากแค่ไหน คนที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงขนยาวไว้ที่บ้านควรระวัง ไม่ว่าจะสุนัข แมว หรือกระต่าย ก็ต้องระวังให้ดี

    อาการของคนที่ติดเชื้อโรค “พิษสุนัขบ้า”

    อาการของคนที่ติดเชื้อโรค “พิษสุนัขบ้า”

    อาการของคนที่ติดเชื้อโรค พิษสุนัขบ้า ระยะแรก ผู้ป่วยอาจมีไข้ต่ำๆ เจ็บคอ เบื่ออาหาร จากนั้นอาจรู้สึกปวดแสบปวดร้อนในบริเวณที่โดนสัตว์เลี้ยงกัด ไม่ใช่การเห่าหอนเหมือนสุนัขแน่นอน

    “นมเปรี้ยว” แก้ “ท้องเสีย” ได้ จริงหรือ?

    “นมเปรี้ยว” แก้ “ท้องเสีย” ได้ จริงหรือ?

    ว่ากันว่า นมเปรี้ยว ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีต่อร่างกาย ปรับระบบขับถ่ายของเราให้ทำงานดีขึ้นได้ แต่จริงๆ แล้วหากเรากำลังท้องเสียอยู่ ควรดื่มนมเปรี้ยวจริงๆ หรือ