เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

10 วิธีลดหิว-กินจุบจิบ เพื่อ “ลดน้ำหนัก” อย่างได้ผล

10 วิธีลดหิว-กินจุบจิบ เพื่อ “ลดน้ำหนัก” อย่างได้ผล

สาเหตุสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ทำให้ใครหลายคนที่พยายามจะลดน้ำหนักแต่ทำไม่สำเร็จ นั่นคือการกินของว่างจุบจิบเพราะแอบหิวระหว่างวัน ทำอย่างไรเราถึงจะลดความหิวระหว่างวันลงได้โดยไม่ทรมานร่างกายตัวเองมากจนเกินไป มาดูกัน


10 วิธีลดหิว-กินจุบจิบ เพื่อ “ลดน้ำหนัก” อย่างได้ผล

  • กินอาหารมื้อหลักให้อิ่ม จะได้ไม่ต้องหิวระหว่างวัน ถ้าไม่ได้คิดจะใช้แผนแบ่งมื้ออาหารย่อยเป็น 6 มื้อ ก็ให้กินมื้อหลัก 3 มื้อให้อิ่มท้องไปเลยจนไม่ท้องไม่ต้องการของว่างระหว่างมื้อจะดีกว่า
    >> กินมื้อเล็กๆ 6 มื้อ VS งดมื้อเย็น แบบไหนลดน้ำหนักได้ดีกว่ากัน?

  • ในอาหารมื้อหลัก เลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต รวมถึงธัญพืชต่างๆ เช่น ถั่ว งา ที่ช่วยให้อยู่ท้องมากกว่าข้าวขาว ขนมปังขาว และอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นน้ำตาลทรายขาว

  • ในมื้ออาหารหลัก อย่าลืมเน้นโปรตีนมากกว่าคาร์โบไฮเดรต เพราะโปรตีนอยู่ท้องกว่า (เลือกโปรตีนไขมันต่ำ เช่น ปลา ไก่ลอกหนัง)

  • หากหิวระหว่างมื้อจริงๆ ควรเลือกกินผลไม้สด ถั่ว ธัญพืชต่างๆ มากกว่าขนมนมเนยที่มีแป้ง และน้ำตาลสูง

  • หากแค่อยากหาอะไรเคี้ยวเพลินๆ ระหว่างวันไม่ให้หิว หรือไม่ให้ง่วง เลือกขนม ลูกอม หมากฝรั่ง และเครื่องดื่มที่ไม่มีน้ำตาล เช่น กาแฟไม่ใส่น้ำตาล ลูกอม หมากฝรั่งแบบไม่มีน้ำตาล (sugar-free) รวมถึงธัญพืชอบต่างๆ แบบไม่ใส่เกลือ

  • แปรงฟันหลังมื้ออาหาร จะทำให้เราไม่ค่อยอยากรับประทานอะไรหลังแปรงฟัน
    >> จริงหรือไม่? แปรงฟันหลังทานข้าว เสี่ยงฟันผุ

  • พยายามเอาของกินออกให้ห่างพ้นมือ และพ้นสายตา ดึงความสนใจไปที่สิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่ เช่น ทำงาน ฟังเพลง อ่านหนังสือ ดูทีวี ทำงานบ้าน ฯลฯ

  • ไม่นอนดึก ยิ่งนอนดึก ยิ่งหิวง่าย และยิ่งอยากรับประทานอาหาร และของขบเคี้ยวยามดึกมากขึ้น

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ บางครั้งเราอาจกระหายน้ำ ไม่ได้หิว

  • พยายามแยกให้ออกว่า เรา “อยาก” หรือเรา “หิว” กันแน่ เพราะในหลายๆ ครั้งเราแค่ “อยาก” เท่านั้น
  •  

    นอกจากเรื่องอาหารการกินแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการออกกำลังกาย เชื่อหรือไม่ว่าหากเราออกกำลังกายด้วยความเหนื่อยที่เหมาะสม มันไม่ได้ทำให้เราหิวมากขึ้น แต่กลับทำให้เราหิวน้อยลงมากกว่า ดังนั้นหากควบคุมการรับประทานอาหารของตัวเองได้แล้ว อย่าลืมหาเวลาออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย 3-5 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที หรือใครที่ไม่มีเวลาจริงๆ สามารถเพิ่มกิจกรรมที่ช่วยเผาผลาญพลังงานในร่างกายเรื่อยๆ เช่น เดิน หรือวิ่งแทนการโดยสารรถในระยะไม่เกิน 1 กิโลเมตร หรือการเดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟท์ในบางโอกาส และพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อดนอน หรือเข้านอนดึกเกินไป เท่านี้ก็จะช่วยลดความหิวของคุณได้ไม่มากก็น้อย

    กินเจอย่างไร ไม่ให้อ้วน และไม่ขาดสารอาหาร

    กินเจอย่างไร ไม่ให้อ้วน และไม่ขาดสารอาหาร

    กินเจอย่างไรไม่ให้อ้วน แนะนำเคล็ดลับการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ พร้อมวิธีควบคุมน้ำหนักระหว่างเทศกาลกินเจ เพื่อให้คุณกินอร่อยและเฮลตี้ได้ทุกวัน

    เทศกาลกินเจ 2567 เริ่มวันไหน ควรเตรียมตัวอย่างไร พร้อมประวัติความเป็นมา

    เทศกาลกินเจ 2567 เริ่มวันไหน ควรเตรียมตัวอย่างไร พร้อมประวัติความเป็นมา

    เทศกาลกินเจ 2567 ตรงกับวันที่ 3-11 ตุลาคม 2567 รวมเป็นเวลา 9 วัน ทำไมเราต้องกินเจ กินเจแล้วได้อะไร แล้วเทศกาลกินเจถือกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร Sanook Health จะเล่าให้ฟังค่ะ

    6 อาหารต้านการ “อักเสบ” ลดเสี่ยงมะเร็ง-โรคหัวใจ-ซึมเศร้า-อัลไซเมอร์

    6 อาหารต้านการ “อักเสบ” ลดเสี่ยงมะเร็ง-โรคหัวใจ-ซึมเศร้า-อัลไซเมอร์

    มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแนะนำสุดยอดอาหาร 6 ชนิดที่จะช่วยลดเสี่ยงโรคร้ายต่างๆ มีประโยชน์ แถมยังหารับประทานง่ายด้วย